“เพื่อนชวนไปเที่ยว แต่เงินไม่พอ ควรทำยังไงดี”

หลายคนคงเคยเจอปัญหาน่าอึดอัดแบบนี้ เมื่อเพื่อนที่เราคบมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่า และการที่เราพูดว่า “ไม่มีเงินอ่ะ” อาจสร้างความคลุมเครือให้เพื่อน เพราะ เมื่อพูดว่า “ไม่มีเงินอ่ะ” อาจหมายถึง เงินในบัญชีติดลบ เดือนนี้ไม่รู้ว่าจะมีเงินซื้อมาม่ากินไหม หรืออาจหมายความว่า เงินยังไม่เข้าจนกว่าลูกค้าจะจ่ายเงินก็ได้

แบลร์ เบรเวอร์แมน (Blair Braverman) นักเขียนคอลัมน์ Tough Love จาก Outside Online เขียนไว้ว่า “ประสบการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก และเป็นเรื่องปกติที่คนในกลุ่มเพื่อนจะมีฐานะการเงินไม่เท่ากัน ไม่ค่อยมีใครอยู่ในสถานการณ์การเงินเดียวกันตลอดเวลา บางครั้งอาจมีคนในกลุ่มที่เผชิญปัญหาทางการเงินแบบเดียวกับคุณ แต่ไม่รู้จะพูดยังไงดี”

เบรเวอร์แมนบอกว่า “สิ่งที่ควรทำคือการพูดออกมา แม้มันจะรู้สึกอึดอัดก็ตาม”

แต่ก่อนจะพูด คุณควรคำนวณงบประมาณของตัวเองให้ชัดเจนก่อน เพื่อที่จะได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา (เวลาคุยเรื่องเงิน คนมักจะตีความจากประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งอาจทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อนได้)

ลองถามตัวเองว่าคุณสามารถใช้เงินเท่าไหร่ในการไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ? คุณสามารถออกทริปใหญ่ ๆ ได้บ้างไหมหากไม่บ่อยเกินไป? หรือว่าคุณไม่สามารถใช้จ่ายได้เลย? จำนวนเงินที่คุณใช้จ่ายได้เท่าไหร่ถึงจะรู้สึกสบายใจ?

การมีตัวเลขที่ชัดเจนจะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น เช่น “ทุกคน เราอยากไปด้วย แต่เดือนนี้เรามีเงินสำหรับเที่ยวเหลือแค่ 3,000 บาทนะ” การที่รู้ตัวเลขตรงนี้จะทำให้เพื่อน ๆ ปรับแผนได้ง่ายขึ้น

อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญคือเพื่อนคุณอยากให้คุณไปด้วย นี่คือกลุ่มเพื่อนที่ดี และตรงนี้สำคัญมาก

ดังนั้นการหาตรงกลางในกลุ่มเพื่อนจึงเป็นเรื่องปกติ คล้ายกับการเปลี่ยนเวลานัดเป็นวันเสาร์ เพราะเพื่อนบางคนต้องทำงานวันอาทิตย์ หรืองดขนมบางอย่างเพราะเพื่อนบางคนแพ้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ในความสัมพันธ์ที่ดีย่อมมีการเห็นอกเห็นใจกันเป็นธรรมดา มันคือความเป็นเพื่อน ในการช่วยเหลือและปรับตัวเข้าหากัน

วิธีวางแผนทริปแบบประหยัดให้ได้ทั้งความสนุกและประหยัดเงิน

1. วางแผนแชร์ค่าใช้จ่ายกับเพื่อน

แม้บางครั้งเพื่อนอาจอยากไปทริปที่คุณไม่มีเงินพอจะไปได้ แต่ถ้าพวกเขาคำนึงถึงงบประมาณของคุณ คุณและเพื่อนอาจช่วยกันปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์ของทุกคน เช่น แบ่งที่พักกัน หรือเตรียมอาหารไปเองเพื่อประหยัดเงินจากการแวะร้านอาหารระหว่างทาง

2. อาสาเป็นคนวางแผนทริปเอง

หากต้องการควบคุมงบไม่ให้บานปลาย ลองอาสาเป็นคนวางแผนทริปเองดู การวางแผนเองจะทำให้ทริปที่ออกมาเหมาะสมกับความต้องการและข้อจำกัดของคุณมากขึ้น ทั้งเรื่องการเงิน สุขภาพ หรือข้อจำกัดอื่น ๆ

การที่คุณเป็นคนวางแผนจะทำให้คุณมั่นใจได้ว่า ทริปนี้เข้ากับคุณ และเพื่อน ๆ ก็จะยินดีที่ได้มีคนวางแผนจัดทริปให้

3. ค้นหากิจกรรมที่ประหยัดหรือฟรี

การท่องเที่ยวแบบกลางแจ้ง (outdoor) มักมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำหรือแทบไม่มีค่าใช้จ่ายเลย หากคุณใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ อย่างอุทยานแห่งชาติ และอุปกรณ์แคมป์ปิ้งที่มีอยู่แล้ว มันก็เป็นเรื่องที่ดีนะ

บางทีคุณกับเพื่อนอาจชวนกันมองหากิจกรรมสนุก ๆ เช่น ดูฝนดาวตก หรือเดินป่า กิจกรรมเหล่านี้น่าสนใจ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ และสามารถสร้างความสนุกได้เหมือนกัน

4. คิดถึงความรู้สึกของเพื่อนในเรื่องค่าใช้จ่ายด้วยเสมอ

หากคุณเป็นคนที่มีเงินมากกว่า ควรระวังและไม่ด่วนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนจ่ายไหว เงินเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณอาจทำให้เพื่อนรู้สึกเครียดได้ หรือถึงรู้ว่าเพื่อนไม่มีเงินก็ควรชวนเพื่อนไปทุกครั้ง แม้ว่าพวกเขาอาจไม่สามารถไปได้ เพื่อนของคุณจะยังคงรู้สึกดีที่ได้รับการถูกชวน และที่สำคัญลองหากิจกรรมที่ถูกหรือฟรีบ้าง เพื่อให้ทุกคนรู้สึกสบายใจ

???? อย่าลืมว่า มิตรภาพไม่ได้เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่คุณจ่ายไหว แต่มิตรภาพเกิดขึ้นเพราะความห่วงใย การปรับตัวเข้าหากัน ความจริงใจและการร่วมแบ่งปันช่วงเวลาต่างๆ ด้วยกัน นั่นคือสิ่งที่สร้างความผูกพันในมิตรภาพ​

=========================

อย่าพลาดโอกาสที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณให้ดีขึ้น!

เตรียมพบกับ Make Rich Expo มหกรรมการลงทุนแห่งชาติ ที่จะพาคุณก้าวเข้าสู่โลกของการลงทุนที่ทันสมัยและเข้าใจง่ายกว่าที่เคย! ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หัดลงทุน หรือผู้ที่มีประสบการณ์ เรามีทุกสิ่งที่คุณต้องการเพื่อสร้างความมั่งคั่งในอนาคต

เข้าร่วมงานฟรี!!
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้ววันนี้ ที่ https://bit.ly/4cKxqet

แล้วพบกันวันที่ 2 - 3 November 2024 เวลา 10.00 - 19.00 น. ณ Paragon Hall ชั้น 5 ศูนย์การค้า Siam Paragon

=========================