ซื้อกองทุนอย่างไรให้คุ้มค่า

 

 

          เป็นอย่างไรกันบ้างครับนักลงทุนทุกท่าน หลังจากที่ Manulife Airline ของเราได้พาไปทัวร์รอบโลกมาด้วยกัน ผมกัปตันแมนูไลฟ์ ก็ได้ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนในแต่ละภูมิภาคกันไปเรียบร้อยแล้ว

 

          หลาย ๆ ท่านคงเข้าใจแนวคิดในการกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น และเริ่มสนใจที่จะลงทุนในต่างประเทศบ้างแล้ว ซึ่งอย่างที่ผมได้เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนๆ(อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ) ว่าถ้าหากเรามีพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศบ้าง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทน รวมถึงได้กระจายความเสี่ยง และลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวมจากการลงทุนเพียงแต่ในประเทศอย่างเดียวอีกด้วยครับ

 

          มาถึงตรงนี้แล้ว..จุดสำคัญจากการได้ศึกษาและเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ

เพราะสิ่งที่สำคัญต่อจากนั้นก็คือ “การเริ่มต้นลงทุน”

 

          ดังนั้นประเด็นที่สำคัญในลำดับต่อไปที่ผมจะเล่าให้ฟังครั้งนี้นั่นคือ เราจะเริ่มต้นลงทุนกับกองทุนเหล่านี้อย่างไรดี หรือจะเริ่มต้นอย่างไรจึงจะได้รับผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังไว้ได้ แต่ก่อนอื่น เรามาทบทวนถึงแนวคิดของการลงทุนในกองทุนต่างประเทศกันสักเล็กน้อย เผื่อว่าใครที่เพิ่งจะเข้ามาอ่านซีรีย์การลงทุนของ Manulife Airline นี้จะได้พอเข้าใจกันครับ

 

เริ่มจากการตรวจเช็คความพร้อมของนักลงทุนก่อนจะบินไปลงทุนทั่วโลกกันครับ คือ

 

  1. ตรวจสอบเงินในกระเป๋าก่อนขึ้นเครื่องว่า มีเงินสำรองฉุกเฉิน หรือพูดง่าย ๆ ว่าเงินส่วนที่เอามาลงทุนนั้น ควรที่จะเป็นเงินที่ไม่มีภาระใด ๆ (ที่เรามักจะเรียกกันว่า “เงินเย็น” นั่นเองครับ)

  2. เลือกจุดหมายปลายทาง (ภูมิภาค หรือ กลุ่มอุตสาหกรรม) ที่ตนเองชอบ เลือกที่ใช่สำหรับตนเอง และต้องสามารถติดตามข่าวสารได้ จุดสำคัญคือ ต้องเข้าใจประเทศที่เราจะไปลงทุนด้วยนะครับ ถ้ายังไม่ทราบ สามารถอ่านได้จากบทความในซีรีย์ครับ

    อ่านบทความ : จะลงทุนกับกองทุนต่างประเทศทั้งที ไปที่ภูมิภาคไหนดี
    อ่านบทความ : เปิดโหมดการลงทุนกองทุนต่างประเทศในเอเชีย

    อ่านบทความ : อินเดีย อนาคตของเอเชีย
    อ่านบทความ : ทำไมจึงไม่ควรพลาดการลงทุนในยุโรป (EU) และสหรัฐฯ (US)
    อ่านบทความ : กองทุน “Healthcare” Trend การลงทุนที่ “ต้องลงทุน”

  3. ต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนให้ถูกต้อง กระจายการลงทุนทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน และ ลดความเสี่ยงไปในตัว

    อ่านบทความ : ลงทุนให้แฮปปี้ต้องมีพอร์ตต่างประเทศ

 

เมื่อตรวจสอบความพร้อมทุกอย่างแล้ว เรามาดูกันต่อเลยครับ ว่าจะลงทุนอย่างไรให้มีความสุขกันไปตลอดช่วงระยะเวลาการลงทุนของท่านครับ

 

วิธีแรกคือ “ซื้อด้วยเงินก้อน”

          วิธีนี้ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะว่าแค่มีเงินก้อนก็สามารถลงทุนได้เลย แต่ต้องเข้าใจหลักการลงทุนเสียก่อนว่า การลงทุนแบบนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ถ้าหากเราเข้าซื้อไม่ถูกจังหวะ ก็อาจจะทำให้เราต้องลงทุนเป็นระยะเวลานานกว่าจะเห็นผลตอบแทน

          โดยส่วนใหญ่วิธีนี้ เราจะใช้ร่วมกับวิธีการจัดพอร์ต กระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์อื่นๆ ร่วมด้วย เพราะว่าการมีแต่สินทรัพย์เสี่ยง เช่น กองทุนหุ้น เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้เรามีโอกาสขาดทุนได้ง่ายครับ

          เมื่อลงทุนไปแล้ว นักลงทุนเองก็ควรที่จะมีเวลาติดตามการลงทุน รวมถึงทำการปรับพอร์ต หรือ การทำ rebalancing ไปด้วย เนื่องจากเมื่อลงทุนไปแล้วซักพัก เราจะเห็นว่า สินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนดีจะเริ่มมีสัดส่วนที่สูงขึ้น เช่น จากพอร์ตเดิมของเราที่มีสัดส่วน กองทุนหุ้น 60% กองทุนตราสารหนี้ 40% พอลงทุนไปประมาณ 1 ปี อาจจะพบเห็นสัดส่วนที่เพี้ยนไปเช่น กองทุนหุ้นเพิ่มเป็น 65% กองทุนตราสารหนี้ 35% เพราะว่ากองทุนตราสารหนี้โตช้ากว่าเลยมีสัดส่วนลดลงไปโดยปริยายครับ

          ดังนั้นเราเองก็ต้องมีการปรับพอร์ตให้มีสัดส่วนเท่าเดิมครับ เพราะว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นไปด้วยถ้าเราไม่ได้มีการปรับสัดส่วนให้อยู่ในรูปแบบเดิมนั่นเอง

 

วิธีที่สอง “ซื้อแบบ DCA”

          การลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Average) หรือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย วิธีการนี้ง่ายมากครับ เพียงแค่ซื้อกองทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆ กันทุกเดือนครับ ทำไปเรื่อยๆ เราก็จะได้ราคาหน่วยลงทุนที่เป็นแบบถัวเฉลี่ย ซึ่งมีโอกาสทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดี อาจจะไม่ได้กำไรสูงสุด หรือ ขาดทุนยับเยิน ที่สำคัญยังช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความผันผวนมาก ๆ อย่างกองทุนหุ้น หรือ กองทุนหุ้นต่างประเทศ ได้เป็นอย่างดีเลยครับ

 

ถ้ายัง งงๆ สงสัยล่ะก็ ลองดูตัวอย่างจากตารางด้านล่างก็ได้ครับ

ca

          จะเห็นได้ว่า ถ้าหากเราลงทุนเป็นเงินก้อนในตอนต้นปีล่ะก็ ณ สิ้นปี เราจะขาดทุนจากการลงทุนอยู่ประมาณ -10% ครับ แต่ถ้าเราลงทุนแบบ DCA ละก็จะพบว่า ณ สิ้นปีแล้ว เราจะยังได้รับผลตอบแทนประมาณ 8.5% (ส่วนต่างผลตอบแทนสูงถึง 18.5% เลยทีเดียว)

          ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อเวลาที่ราคาหน่วยลงทุนของกองทุนปรับตัวลดลงนั้น ด้วยเงินที่เท่า ๆ กัน เราจะได้จำนวนหน่วยลงทุนที่มากขึ้น เวลาที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ราคาหน่วยลงทุนเมื่อคูณกับจำนวนหน่วยลงทุนที่เราสะสมมาก็จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นครับ

 

          ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA จะเหมาะกับสินทรัพย์ หรือ กองทุนที่มีความผันผวนมาก ๆ เพราะนอกจากเราจะได้ทยอยสะสมหน่วยลงทุนแล้ว การลงทุนแบบนี้ยังช่วยกระจายความเสี่ยงจากการผันผวนของตลาดหรือสินทรัพย์ที่ลงทุนได้เป็นอย่างดี  แต่สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนน้อยอ&