สวัสดีครับ กลับมาพบกับผม หมอนัท คลินิกกองทุน กันอีกครั้ง วันนี้ผมมีเคล็ดลับดีๆในการวางแผนซื้อ LTF และ RMF ให้ถูกใจและถูกกองมาฝากกันครับ มาดูกันเลยดีกว่าว่าการเลือกซื้อ LTF และ RMF ให้ถูกวิธีนั้นมีวิธีการอย่างไรบ้างครับ

ปัจจุบัน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่ทางรัฐสนับสนุนให้คนไทยรู้จักเก็บเงิน สะสมเงินเพื่อความมั่งคั่งในระยะยาว โดยกระตุ้นผ่านทางสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อจูงใจครับ ซึ่งสำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจเรื่องรายละเอียดการลงทุนใน LTF และ RMF นั้น ผมได้สรุปมาให้ฟังสั้น ๆ ตามตารางด้านล่างนี้ครับ

เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ว่ากองทุนทั้ง 2 กองทุนนี้ มีเป้าหมายไว้เพื่อการลงทุนและการสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวทั้งคู่เลยครับ ส่วนการลดหย่อนภาษีนั้นเป็นแค่เรื่องรองเท่านั้นนะครับ อย่าได้เข้าใจผิด แน่นอนว่าถ้าเราตั้งเป้าหมายผิด เราอาจจะพลาดผลประโยชน์ไป

ประมาณว่าสนใจแต่จะลดหย่อนภาษีจนไม่ได้ดูถึงการเลือกกองทุนที่ดีในระยะยาว ก็จะทำให้เราพลาดผลตอบแทนแบบ 2 ต่อไป คือแทนที่จะได้ ผลตอบแทนจากการลงทุน + เงินเหลือจากการลดหย่อนภาษี

ก็กลายเป็นขาดทุนเงินลงทุน และลามไปถึงขาดทุนเงินที่ลดหย่อนภาษี เช่น สมมติว่าประหยัดภาษี 10% แต่ต้องมาขาดทุนเงินต้นจากการลงทุนในกองทุน LTF/RMF 15% ก็คงไม่คุ้มค่าเป็นแน่ครับ !!

และ จากเงื่อนไขที่ว่ามาทั้งหมด ผมอยากแนะนำให้ท่านผู้อ่านศึกษาข้อมูลดีๆนะครับว่า ในการลงทุนนั้น เรามีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเป็นอย่างไรบ้าง เพราะข้อนี้คือสิ่งที่เราต้องชัดเจนยิ่งกว่าความต้องการในการประหยัดภาษีเสียอีกครับ เช่น ถ้าหากเรามีเป้าหมายการลงทุนในระยะยาวประมาณ 7-8 ปี แต่ไม่ได้ต้องการลงทุนเพื่อเกษียณ การลงทุนใน LTF อาจจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าในการเลือกลงทุนครับ แต่ก็ต้องระวังเรื่องของความเสี่ยง เพราะว่ากองทุน LTF นั้นเป็นกองทุนหุ้นนะครับ

แต่ถ้าเราคิดว่าเราอยากสะสมเงินเกษียณเพิ่มเติมนอกจากเงินสะสมจากการทำงาน เช่นประกันสังคม หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ถ้ามี) หรือ กบข. (ถ้ามี)
การลงทุนใน RMF เพิ่มเติมก็เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ครับ

อีกเรื่องที่สำคัญตามมา ผมเห็นว่าเงื่อนไขเรื่องกฎหมายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดครับ หลังจากเราวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แล้ว สิ่งต่อมาที่เราต้องพิจารณาก็คือ เราต้องทำให้ถูกต้องตามเงื่อนไขทางภาษีที่กำหนดไว้ด้วยครับ เพราะการทำผิดเงื่อนไขภาษี เช่นการขายกองทุนก่อนครบกำหนด หรือ ซื้อเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ก็อาจจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องการเสียภาษีเพิ่มเติม หรือ อาจจะมีปัญหากับทางสรรพากรได้เหมือนกันครับ

ดังนั้น ถ้าหากเราสามารถวางแผนการลงทุนได้ชัดเจนและถูกต้องตามเป้าหมาย และใช้การลดหย่อนภาษีเป็นตัวเสริมสิทธิประโยชน์ไปด้วยกัน ผมเชื่อครับว่า การลงทุนของเราจะถูกต้องและประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเลยครับ

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าการเลือกกองทุนที่ดีต้องคำนึงถึงอะไรกันบ้าง เพื่อที่จะได้กองทุนที่ถูกใจ และถูกกองทุนด้วย

1. หากองทุนผลตอบแทนดีสม่ำเสมอที่เราพอใจ

แน่นอนว่า ผลตอบแทนของกองทุนนั้น เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอย่างที่ผมได้บอกมาก่อนหน้านี้ว่า ถ้าเราได้ผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีมา แต่มาขาดทุนผลตอบแทนก็คงไม่คุ้มค่าเป็นแน่ครับ ดังนั้น เราเองก็ต้องพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยนะครับ ว่าผลตอบแทนที่ได้ เราพึ่งพอใจกับมันหรือไม่ครับ

2. ลงทุนในความเสี่ยงที่เรารับได้

ความเสี่ยง เป็นของคู่กันกับผลตอบแทน แต่เราไม่ค่อยจะพิจารณามันเสียเท่าไหร่ ซึ่งในความเป็นจริง เราอาจจะต้องนึกถึงเรื่องนี้ก่อนข้อแรกเสียด้วยซ้ำครับ เพราะว่าบางคนไม่ทราบว่าการลงทุนในกองทุน LTF นั้นมีความผันผวนมากพอสมควร เนื่องจากเป็นการลงทุนในหุ้นครับ

ซึ่งถ้าใครรับความเสี่ยงไม่ได้ละก็ ไปลงทุนกับกองทุน RMF ที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ หรือ RMF ที่เป็นกองทุนผสมระหว่างตราสารหนี้ กับ หุ้น จะดีกว่าครับ แต่ถ้าใครที่รับความเสี่ยงได้ผมก็แนะนำว่าควรลงทุนทั้ง LTF และ RMF เพื่อความมั่งคั่งในอนาคต

โดย RMF นั้นเราก็เลือกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นไทย หรือจะผสมหุ้นต่างประเทศ หรือ จะลงทุนในอสังหาฯ ก็ได้ โดยอาจจะมีทองคำผสมเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยประมาณ 5-10% ของเงินลงทุนทั้งหมด ก็น่าจะเหมาะจะเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณครับ

หรือ เราอาจจะใช้กลยุทธ์ หรือ วิธีการลงทุนแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยลดความผันผวนได้ เช่น เราอาจจะจัดพอร์ต/จัดสัดส่วนในการลงทุน โดยจัดสรรเงินตามความเสี่ยงที่เรารับได้

หรือจะทยอยลงทุนทุกเดือน ก็สามารถลดความผันผวน ได้เช่นกันครับ ซึ่งผมจะมาเล่าในตอนถัด ๆ ไปครับ

3. ข้อสุดท้ายคือ  สไตล์การลงทุน และ แนวทางการจัดการกองทุนของแต่ละ บลจ.

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอีกประการที่คนมักจะมองข้าม และไม่รู้ว่าแต่ละ บลจ. นั้นจะมี นโยบายการลงทุน การจัดการความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกันเลย มีหลากหลายสไตล์

ซึ่งเราเองก็ต้องเลือกให้เหมาะกับนิสัย หรือ ความชอบของนักลงทุนด้วย เพราะว่าจะทำให้เราลงทุนกับกองทุนแล้วสบายใจ เวลาลงทุนไปแล้วจะได้ไม่เครียด นอนหลับได้สบายใจมากขึ้น โดยไม่ต้องไปทะเลาะกับผู้จัดการกองทุนภายหลังว่าทำไม ไม่ขายตัวนั้น ตัวนี้ หรือ ซื้อหุ้นตัวนั้นที่กำลังขึ้นสิ

นักลงทุนที่ชอบความหวือหวา ก็อาจจะเลือกกองทุนที่เน้นเทคนิค ซื้อมา-ขายไปอย่างรวดเร็ว หรือ บางคนอาจจะชอบกองทุนที่เลือกหุ้นสไตล์พื้นฐานดี ถือกันไปนาน ๆ หรือ บางคนอาจจะชอบกองทุนที่มีการจัดการกองทุนที่เป็นระบบ โปร่งใส ทำให้มีความเสี่ยงต่ำ ก็สามารถเลือกกันได้ตามใจเลยครับ

สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่าถ้าเราเลือกกองทุน LTF/RMF ตามที่ผมบอกมาแล้วละก็รับรอง