"คนพม่าที่มาเป็นลูกจ้างในโรงงานเก็บเงินส่งกลับบ้าน ตอนนี้ก็ซื้อบ้าน ซื้อรถ มีที่นาปลูกข้าว"

"เพื่อนคนพม่าที่อยู่ข้างบ้านเห็นแบบนั้นก็ตามเข้ามาสมัครงานหลายคน"

"คนพม่าอดทนสุดๆคิดว่าเขาน่าจะได้รับความกดดันสูงมากเลยขยันแบบนี้"

 

เป็นคำพูดบางส่วนที่เพื่อนเล่าถึงลูกน้องชาวต่างชาติในโรงงานว่าเป็นยังไง พร้อมกับเปรียบเทียบกับเพื่อนคนอื่นที่มาทำงานก่อน แต่ตอนนี้ยังไม่มีทรัพย์สินอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย มันก็เป็นคำถามที่ค้างใจว่า "ทำไม" จนเราอยากรู้ว่าคนพม่าที่ทำงานอยู่ต่างแดนเขามีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้เงินอย่างไร มันรู้สึกน่าสนใจ

วันหนึ่งรายการช่อง Voice TV ประชาสัมพันธ์นิทรรศการ"พม่าระยะประชิด" จัดที่มิวเซียมสยาม มีพิธีกรสาวสวยพาเดินชม ซึ่งนิทรรศการนี้จะทำให้เราเข้าใจคนพม่ามากขึ้น เราดูรายการไปเรื่อยๆก็สะดุดกับตู้ล็อกเกอร์สีแดงที่เป็นเรื่องน่ารู้ของคนพม่า แต่พิธีกรไม่ได้เปิดให้ดูทุกช่อง เราอยากรู้ก็ต้องเดินทางไปดูเอง

นิทรรรศการนี้มีเรื่องราวหลายแง่มุม แต่เราจะเขียนเฉพาะเรื่องเกี่ยวการออมเงินเท่านั้น ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมก็เดินทางมาดูเองนะจ๊ะ แต่ก่อนจะเข้าเรื่องเราอยากให้รู้ความในใจของคนพม่าว่าทำไมถึงเลือกมาทำงานที่ประเทศไทย

 

อดทนเพื่อความฝัน

 

"อยากเก็บเงินก้อนนึงไว้ซื้อที่ดิน เปิดร้านมินิมาร์ทเล็กๆ ที่เขาบอกว่าอีกหน่อยเปิด AEC พม่าจะเจริญ" (นิยิม่วน:แม่บ้านทำความสะอาด)

"อยากหาเงินเพิ่มขึ้น เอาไว้ลงทุนทำธุรกิจ เพราะตอนนี้ที่พม่าใครมีทุนเยอะก็มีโอกาสมากกว่า" (เย เมียว ซอ:คนงานก่อสร้าง)

"มาทำงานที่ไทย เพราะรายได้ดีกว่าพม่า หาเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยเมาะลำไยน์ เรียนด้านเภสัช" (โส่ย:ลูกจ้างร้านเช่าแผ่นซีดี)

"มาทำงานใช้หนี้ให้พ่อแม่ หนี้เยอะมาก อยู่พม่าหาเงินได้น้อย งานไม่มีทุกวัน" (เปีย เปียง โซ:คนงานก่อสร้าง)

 

ความฝันของทุกคนล้วนต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องยอมละที่เกิดเมืองนอนมาหาหนทางที่จะทำให้ความฝันนั้นสำเร็จด้วยการออกมาหางานทำในเมืองไทย อย่าพึ่งมองว่าเขามาแย่งงานเรา แต่ให้มองว่าถ้าไม่มีเขา เราจะลำบากเห็นได้ชัดเจนมากตอนที่แรงงานเพื่อนบ้านกลับประเทศ ทำให้เจ้าของสวนผลไม้ของไทยเดือดร้อนมากเพราะไม่คนงานเก็บผลไม้

 

นี่แหละตู้ล็อกเกอร์ที่เราอยากรู้ว่าข้างในคืออะไร ??

 

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

 

ช่องแรกที่เราอยากรู้ คือ ช่องกระปุกออมสิน

 

แนวคิดการเก็บเงิน : เก็บเงินเป็นสิ่งของ เงินไม่หาย เป้าหมายอยู่ครบ การมีเงินเก็บมาก บางครั้งก็ทำให้จิตใจลดเลี้ยว สุรุ่ยสุร่าย สู้เก็บเป็นของใช้ยังดีซะกว่า แต่จะดีที่สุด ถ้าทยอยซื้อในเวลาที่เหมาะสม ของบางชิ้นจึงซื้อเก็บไว้สองปีกว่าจะได้หอบหิ้วกลับพม่า (ข้อความทั้งหมดจากภาพด้านล่าง)

ความคิดเห็นส่วนตัว : การเห็นเงินมากๆก็อาจจะทำให้เราเผลอใช้จ่ายง่ายๆ เจออะไรก็อยากได้ไปหมด จนกระทั่งเงินหมดแล้วไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันกลับมา ซึ่งการเก็บเงินในรูปแบบสิ่งของที่ได้ใช้ประโยชน์และจับต้องได้ (แต่ไม่ใช่การเก็บไว้ที่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าหรืออุปกรณ์แต่งรถทั้งหมดเลยนะจ๊ะ)

แนวคิดนี้นำมาปรับใช้ได้ คือ เราไม่ควรมีเงินสดในมือมากเกินไป ควรเก็บเงินเป็นเงินสดไว้บางส่วนและที่เหลือก็เก็บในรูปแบบอื่นที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสดและความเสี่ยงต่ำ เช่น ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง กองทุนรวมตลาดเงิน เมื่อเงินสดในมือของเราน้อยลง เราก็จะใช้จ่ายน้อยลงเช่นกัน

 

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

 

วิธีส่งเงินจากไทยไปพม่าเพราะ "เงินมีขา"

 

แนวคิดการเก็บเงิน :  การส่งเงินด้วยวิธี "โพยก๊วน" หรือนายหน้าส่งเงิน ยังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะส่งทั่วถึง พ่อแม่ที่แก่เฒ่าไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเอง ในยุค 3G โพยก๊วนกลับมีประสิทธิภาพในการส่งเงินข้ามประเทศมากกว่า e-banking อย่างน้อยก็ในพม่า (ข้อความทั้งหมดจากภาพด้านล่าง)

ความคิดเห็นส่วนตัว : จากที่เราสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าเคยฝากส่งไปแล้วเงินไม่ถึงมือญาติบ้างไหม  เขาบอกว่าก็มีหลายครั้งที่ถูกโกงจากนายหน้าส่งเงิน วิธีแก้ก็คือต้องใช้คนส่งหน้าเดิมๆจะได้ไม่ถูกโกง หากมีนักลงทุนที่กำลังคิดจะสร้างระบบโอนเงินข้ามประเทศจากไทยไปพม่าน่าจะใช้ข้อมูลนี้สร้างโอกาสทางธุรกิจได้

นอกจากวิธีการส่งเงินกลับประเทศแล้วอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ ความกตัญญูและความรับผิดชอบ ด้วยการส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพม่าเพื่อจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น คนพม่าคนหนึ่งมาทำงานก่อสร้างในไทย ส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านซื้อรถบรรทุกขนส่งข้าว นอกจากใช้งานเองแล้วยังรับจ้างคนในหมู่บ้านด้วย ซึ่งแตกต่างกับหลายๆคนที่ทำงานมาหลายปีก็ยังขอเงินพ่อแม่ใช้เกือบทุกเดือน เฮ้ออออ คิดแล้วเศร้าใจ

 

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

รู้มั้ย...คนพม่าออมเงินอย่างไร?

 

สะสมความมั่งคั่งด้วย "ทองคำ"

 

แนวคิดการเก็บเงิน :  เมื่อใกล้จะกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด ชาวพม่าจะซื้อทองคำสะสมไว้ เพราะเก็บรักษาง่ายในช่วงลัดเลาะข้ามชายแดน ทองคำยังเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในการทำงานต่างถิ่น และคงมูลค่ามากกว่าธนบัตร แถมทำบุญด้วยการบริจาคทองยังได้อานิสงฆ์มากกว่าอีกด้วย

ทองไทยไม่ได้ไปพม่าคราวเสียกรุงศรี แต่จะไปใน พ.ศ.นี้แหละ เพราะทองคำแบรนด์ไทยมีเปอร์เซ็นต์ทองสูงกว่า ชาวพม่าจึงนิยมซื้อกลับบ้าน ร้านทองบางแห่งก็ติดประกาศเป็นภาษาพม่าแล้วนะ(ข้อความทั้งหมดจากภาพด้านล่าง)

ความคิดเห็นส่วนตัว : "ทองคำ" เป็นวิธีการ