หลายๆคนก็ติดตามกันอยู่นะครับว่าสถานการณ์ประเทศไทยรวมถึงสถานการณ์โลกนั้นเป็นอย่างไรบ้างแล้วในตอนนี้ ควรจะต้องจับตาประเด็นเรื่องอะไรบ้างและมุมมองของการลงทุนนั้นควรจะต้องทำอย่างไร ถ้าเรามาอ่านบทวิเคราะห์ในมุมมองของ Phatra Edge นั้น สามารถสรุปได้ดังนี้เลยนะครับ

ปัจจัยโลก

  • เศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวอยู่ คาดการว่าการจะขยายตัวในปี 2016 ที่ 3.4% เพิ่มจากปี 2015 ที่ 3.1%
  • ความเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ประเทศจีนและค่าเงินหยวน พอเศรษฐกิจชะลอตัว การอุปโภคบริโภคน้อยลง บรรดาหนี้เสียจากการกู้ยืมของบริษัทต่างๆก็จะสูงขึ้น ซึ่งถ้าภาวะตรึงตัวเกิดขึ้นก็มีโอกาสเกิดการล้มละลายของบริษัทต่างๆแล้ว สินค้าอุปโภคบริโภคก็จะตกต่ำต่อเนื่อง
  • อเมริกามีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่ญี่ปุ่นและยุโรปอยู่ในสภาวะผ่อนตลายมากขึ้น
  • ราคาน้ำมันมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงในระยะสั้น ผู้ผลิตน้ำมันจะเกิดปัญหา แต่โอกาสเศรษฐกิจโลกถดถอยมีน้อยกว่า 15% ในปี 2016 และ 2017

เศรษฐกิจไทย

  • มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในปี 2016 ที่ 3.2% จากการลงทุนของรัฐบาลและเอกชน
  • ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลง และน่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สิ่งที่ต้องจับตามองคืองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาวะทางการเมือง ภัยธรรมชาติ ราคาสินค้าตกต่ำ และการส่งออกที่ยังไม่ฟื้น และหนี้สินครัวเรือนของภาคประชาชน
  • จะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจพิเศษ

จากข้อสรุปของทาง Phatra Edge สรุปมานั้นผมว่าเป็นมุมมองที่น่าติดตามนะครับ เพราะตอนนี้เศรษฐกิจจีนเป็นหนึ่งในตัวหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกด้วยเช่นกัน หากมีภาระหนี้สินที่ชำระไม่ได้ เกิดการล้มละลายของบริษัทต่างๆ ก็ย่อมส่งผลต่อการค้า การลงทุน รวมถึงความเชื่อมันทางเศรษฐกิจของทั้งโลกเลยเช่นกันครับ ในส่วนของเมืองไทยเองก็ต้องดูว่ารัฐบาลจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นครับ

กลยุทธ์การลงทุนของ Phatra Edge

ในปี 2016 มากขึ้นเพราะสถานการณ์ต่างๆยังไม่มีความแน่นอนแม้การลงทุนจะมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่างๆเช่น ภัยแล้ง ราคาสินค้าตกต่ำ หนี้สินครัวเรือน ปัญหาทางการเมือง รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยภายนอก อย่างการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (FED)

ในส่วนของการลงทุนนั้นก็ควรระมัดระวังในการเลือกลงทุน และมีการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม (Asset Allocation) เพื่อกระจายความเสี่ยงไม่ให้หนักไปทางใดทางหนึ่ง ที่สำคัญคืออย่าลืมวินัยการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายในระยะยาวของเรานะครับ

  • การลงุนระยะสั้นจะผันผวน แต่ระยะยาวยังดี
  • ควรกระจายความเสี่ยงไปในตลาดที่พัฒนาแล้วหรือและระวังตลาดหุ้นในประเทศเกิดใหม่
  • การลงทุนที่มีผลตอบแทนเป็นดอลลาห์สหรัฐเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
  • ระวังความเสี่ยงในการลงทุนพันธบัตรระยะยาว สินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงด้านเครดิต
  • เน้นลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน

สรุป การเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำ พึ่งพาการส่งออกและหนี้อยู่ในระดับสูง

  • การลงทุนยังคงมีความผันผวนควรใช้กลยุทธ์การจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมต่อความเสี่ยง
  • กองทุนอสังหาริมทรัพย์มีความน่าสนใจเพราะไม่ขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ ยังมีการให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอจากเงินปันผล แต่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความผันผวนในตลาดหุ้นหากมีเทขายหุ้นและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
  • ทองคำยังไม่ดีนักแต่สามารถสะสมไว้เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเมืองและเงินเฟ้อได้  

มุมมองของผมนั้นคิดว่า ระยะสั้นมีความผันผวนมากแต่ยังลงทุนได้ครับ ระยะยาวยังน่าสนใจจากการเติบโตของเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามความเสี่ยงที่เรารับได้ และควรทยอยลงทุนอย่างมีวินัยเผื่อให้ผ่านช่วงผันผวนในระยะสั้นตรงนี้ไปได้ครับ แน่นอนว่าเมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีแล้วก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนได้ครับ

บทความนี้เป็น Advertorial