ในวันนี้ผมขอพูดคุยเรื่อง พื้นฐานง่าย ๆ ในการเลือกซื้อกองทุนที่ดี
และสามารถทำให้เราไม่ต้องเดา หรือสุ่มเลือกกองทุนโดยไร้หลักเกณฑ์
และหวังว่ากองทุนนั้นจะทำผลกำไรให้เราซึ่งเป็นไปได้ยากมากครับ
กฎเหล็ก 8 ข้อต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนรวม
1. ต้องรู้ว่ากองทุนมีกี่ประเภท และความเสี่ยงของกองทุนประเภทนั้น ๆ ก่อนที่เราจะเข้าไปลงทุน
ข้อแรกก็ง่าย ๆ ครับ กองทุนที่เราเจอประจำมีอยู่ไม่กี่ประเภทได้แก่
กองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนหุ้น
ส่วนกองทุนในรูปแบบอื่น ๆ ผมจะอธิบายภายหลังนะครับ
แล้วทำไมต้องรู้จักประเภทกองทุนด้วย ?
เพราะกองทุนแต่ละแบบมีความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกันเลยครับซึ่งถ้าความเสี่ยงมากขึ้น
แน่นอนว่า เราก็อยากได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นครับ
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรละว่า เราจะได้ผลตอบแทนที่ต้องการ
ดังนั้นเราไปดูต่อที่ข้อ 2 กัน
2. ต้องกระจายความเสี่ยง และจัดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกองทุนให้เหมาะสม
จากข้อที่ 1 พอท่านทราบว่าความเสี่ยงของแต่ละกองทุนเป็นอย่างไรแล้ว
เราก็สามารถจะกระจายความเสี่ยงเหล่านี้ได้ด้วยการลงทุนด้วยการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมครับ
ตอนนี้หลาย ๆ ท่านคงจะถามว่า ควรที่จะลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ด้วยสัดส่วนเป็นเท่าไหร่บ้างล่ะ ?
ซึ่งจริง ๆ เป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยากมากครับ
ต้องใช้ ทฤษฏีต่าง ๆ ทางการเงินกว่าจะออกมาเป็นสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลครับ
แต่ผมมีวิธีที่ง่าย ๆ ให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปที่ Website นี้ครับ
http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_wrapper&Itemid=76
พอท่านทำแบบสอบถามเสร็จก็จะได้สัดส่วนการลงทุนแบบคราว ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีครับ
3. อ่าน Fund Fact sheet เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการลงทุน นโยบายการลงทุน และไส้ในต่าง ๆ
ผมเชื่อว่าการอ่าน Fund fact sheet เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คน ไม่ได้ทำกันก่อนการลงทุนครับ
อาจจะด้วยที่ไม่มีเวลา แต่ผมเชื่อว่าถ้าหากท่านมีเวลาในการอ่านบทความนี้
ท่านก็สามารถอ่าน Fund Fact Sheet ได้เช่นกันครับ
เพราะว่ามันมีความรายละเอียดที่น้อยกว่าบทความนี้เสียอีกครับ
และข้อดีของ Fund Fact Sheet คือจะช่วยให้เราทราบถึง นโยบายกองทุน ค่าธรรมเนียม และบางครั้งเราสามารถที่จะทราบถึงแนวคิดของผู้จัดการกองทุนได้เลยทีเดียวครับ
ซึ่งแน่นอนว่าต้องติดตามตอนต่อไปครับ ว่าวิธีการอ่าน Fund Fact Sheet เราต้องทำอย่างไรครับ
4. หากองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มากกว่าผลตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว
แน่นอนว่า ถ้าให้ท่านผู้อ่านเลือกดู ระหว่างกองทุนที่ทำกำไรสูงสุด
แต่ทำได้แค่เพียง 1 ปี กับ กองทุนที่ทำกำไรได้ดี แต่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีอย่างสม่ำเสมอแล้วละก็
ผมเชื่อว่า เกือบทุกคนคงเลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอมากกว่า ใช่ไหมครับ
ซึ่งท่านสามารถที่จะติดตามผลตอบแทนได้เป็นรายวันกับ website นี้เลยครับ
thaimutualfundnews.com หรือ siamchart.com
ซึ่งผู้อ่านสามารถที่จะดู และเปรียบเทียบผลตอบแทนเบื้องต้นได้เองเลยครับ
5. ดูสภาพคล่องในการซื้อขายกองทุน
คำถามที่ผมมักจะเจอบ่อย ๆ เกี่ยวกับกองทุนก็คือ
กองทุนตราสารหนี้ ที่มีอายุ 6 เดือน หรือ 3 เดือน ให้ผลตอบแทน...% ดีไหมคะ/ครับ
ซึ่งผมบอกเลยกว่ากองทุนตราสารหนี้เหล่านี้ เป็นกองทุนที่น่าสนใจเกือบทั้งหมดครับ
เนื่องจากความเสี่ยงไม่มาก และก็ให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ว่าข้อจำกัดของกองทุนเหล่านี้ก็คือ "เวลา"
ซึ่งถ้าท่านผู้อ่านลงทุนไปแล้วจะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ครับ
เพราะกองทุนเหล่านี้จะกำหนดให้ขายได้เฉพาะวันที่ครบกำหนดได้เท่านั้น
หรือเรียกอีกอย่างว่า "กองทุนปิด" ครับ
ดังนั้นการเลือกกองทุนในรูปแบบนี้
ต้องระวังเรื่องสภาพคล่องในการใช้เงินของท่านผู้อ่านให้ดี มากกว่าดูเฉพาะผลตอบแทนนะครับ
6. ผู้จัดการกองทุน คนสำคัญ
อันนี้เป็นเรื่องหลักเลยครับที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้ข้อมูลซักเท่าไหร่
ว่าผู้จัดการกองทุนเป็นใคร อายุเท่าไหร่ และ เคยทำอะไรมาบ้าง บริหารกองทุนมากี่ปี
แต่จริง ๆ แล้วท่านสามารถโทรไปสอบถามที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ได้เองเลยครับ
หรือ จริง ๆ แล้วใน Fund fact sheet ของกองทุนก็จะมีบอกไว้ครับ รวมถึงแนวคิด
หรือ คำแนะนำ ชี้แจงจากผู้จัดการกองทุนที่ทำให้พอจะทราบได้ว่าผู้จัดกองทุน
ท่านที่กำลังบริหารกองทุนในเราอยู่นั้นมีความคิดและประสบการณ์เช่นไร ครับ
7. ค่าธรรมเนียมในการจัดการ
อันนี้เป็นจุดสำคัญมากครับ เนื่องจากค่าธรรมเนียมนี้ จะมีผลค่อนข้างมากเลยละครับ
เพราะบางกองทุนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่แพง แต่ไม่สามารถทำผลตอบแทนได้เป็นดั่งที่คาด
นั้นก็หมายถึงนักลงทุนนั้นขาดทุนทางอ้อมนั่นเองครับ แต่ถ้า กองทุนไหนที่คิดค่าธรรมเนียมถูกแถมยังบริหารกองทุนได้ดี เราก็เหมือนได้กำไร 2 ต่อเลย ที่เดียวครับ
แต่ราคาแพง กับไม่แพงจะดูจากไหนกันละ อันนี้ต้องคุยกันต่อในคราวหน้าครับ (ผมจะได้มีงานทำ 555+)
แต่ถ้าท่านไหนอยากทราบจริง ๆ ส่งข้อความมาที่ คลินิกกองทุน : fanpage ได้เลยครับ ผมจะตอบให้ก่อน
8. ข้อจำกัดอื่น ๆ ของกองทุนแต่ละประเภท
เช่น กองทุนบางกองทุน จะมีการขายคืนหน่วยลงทุนแทนการ จ่ายเงินปันผล ครับ
แต่อันนี้ขออุป ไว้คุยสนุก &