การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA


หลายคำถามของคนที่กำลังเลือกซื้อกองทุน LTF-RMF เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี เช่น เราควรจะเลือกซื้อแบบจ่ายเงินปันผลหรือไม่จ่ายเงินปันผล ควรทยอยซื้อรายเดือนหรือสะสมเป็นก้อนแล้วซื้อทีเดียวตอนสิ้นปี ฯลฯ ในบทความนี้อภินิหารเงินออมจะมาเล่าแนวคิดพร้อมยกตัวอย่างจริง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายๆและเลือก  กองทุนที่เหมาะสมกับตัวเองนะจ๊ะ


LTF & RMF เราเลือกอะไรดีล่ะ?


ควรเข้าใจความแตกต่างของ LTF กับ RMF ก่อนตัดสินใจเลือกนะจ๊ะ


https://lh6.googleusercontent.com/45Z478o2LrYu0S1YDTlPtPfscN2wafTnrApqMKWSDmu_V_5408qIy4Nb-nVJ-jOGYPYFGcObZ3jFc2H1U9SbcBsIGN_lHFQM_tR9r3n3nLHtFhO8VO3LBgTiiEDr4obHM-_RzqnR


จุดตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหน คือ เป้าหมาย ก็ต้องดูว่าตัวเองต้องการได้รับอะไรจากเงินก้อนนี้ที่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษี เช่น

  • เราต้องการเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ ควรเลือก RMF เพราะเป็นการบังคับให้ตัวเองเก็บเงินระยะยาว

  • เราต้องการรับเงินปันผลระหว่างทาง และได้รับลดหย่อนภาษีแบบต่อเนื่อง ควรเลือก LTF แบบจ่ายเงินปันผล


เป้าหมายที่ 1 เงินเกษียณ 

เราต้องการเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ แต่ด้วยความผันผวนของตลาดอาจทำให้เจอราคาของกองทุน RMF เป็นแบบนี้...

 การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA

ภาพจาก www.wealthmagik.com


ภาพนี้เป็นราคาย้อนหลังของ RMF กองหนึ่งที่ลงทุนหุ้นทั้งในและต่างประเทศ มีความเสี่ยงระดับ 6 (ความเสี่ยงมี 1 - 8 ระดับ เริ่มตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปสูง) ที่มีราคาขึ้นๆลงๆ เป็นไปตามสภาวะความผันผวนของตลาด ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากซื้อกองทุนช่วงที่ราคาต่ำสุด เพราะจะได้มีต้นทุนถูก แต่ความจริง คือ เราไม่รู้ว่าอนาคตราคาจะขึ้นหรือลง แต่ถ้าถือกองทุนไว้ในระยะยาว จะเห็นได้ว่ากองทุนนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ


ถ้าไม่รู้ว่าจะลงทุนตอนไหน อาจจะใช้วิธีการซื้อกองทุนทุกเดือน

เราเรียกวิธีการนี้ว่า DCA ย่อมาจาก Dollar-Cost Averaging หรือเรียกง่ายๆว่า “การซื้อถัวเฉลี่ยต้นทุน” เป็นการสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ให้เงินทำงานแบบอัตโนมัติทุกเดือน ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน โดยไม่ต้องสนใจว่าตอนนั้นราคาจะเป็นเท่าไหร่ เหมาะกับการลงทุนเพื่อเป้าหมายระยะยาว เช่น เงินเกษียณ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เรามาดูตัวอย่างการ DCA กันนะจ๊ะ

ตัวอย่าง เราซื้อกองทุน XXX เดือนละ 5,000 บาททุกต้นเดือน ผ่านไป 3 เดือน จะเป็นอย่างไร

การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA

การคำนวณเองอย่างง่ายๆ

  • เงิน 5,000 บาทซื้อกองทุนได้กี่หน่วย

    • วิธีคำนวณ คือ จำนวนเงินลงทุน / ราคาที่ซื้อ

    • 5,000 / 24.8729 = 201.0220 หน่วย

    • เราจะเห็นว่าถ้ากองทุนราคาลดลง เราจะซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนมากขึ้น แต่ถ้ากองทุนราคาเพิ่มขึ้น เราซื้อหน่วยลงทุนได้จำนวนน้อยลง

  • ผ่านไป 3 เดือนต้นทุนของเราเท่าไหร่

    • วิธีคำนวณ คือ เงินลงทุนทั้งหมด / จำนวนหน่วยทั้งหมด

    • 15,000 / 588.2680 = 25.4986 บาท 

    • เพราะฉะนั้นต้นทุนของเราที่ซื้อทุกเดือนจะได้ราคาเฉลี่ย ที่ไม่ใช่ราคาสูงสุดหรือต่ำสุด


ตัวอย่างของการซื้อกองทุนทุกเดือน

เรามาดูตัวอย่างจริงกันจะได้เห็นภาพชัดขึ้น ถ้าเราซื้อกองทุน KEQRMF (กองทุนเปิดเค หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ) ตั้งแต่ปี 2558 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เดือนละ 5,000 บาท มาถึงตอนนี้เดือน พ.ค. 62 ประมาณ 3 ปีกว่าๆ ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 7.49% ต่อปี จากเงินต้น 265,000 บาท เติบโตเป็น 307,290.69 บาท

https://lh5.googleusercontent.com/lXuvN7C7pbiorfz9OyJJw98oG_r5L6PGoTkSSsewMSe_KsUKB8WbMgkbAgzhKhSdqhchpWzEkgBfkvxTEg043sYqn5n_Ap2aKa7ED6J5PCc0By0hWGeIYkWPlJZ74plRiX33HdIy

ที่มา :  www.wealthmagik.com


แต่เส้นทางการลงทุนทุกเดือนแบบ DCA ก็ต้องมีทั้งช่วงกำไรและขาดทุนเป็นเรื่องธรรมดา 

จากภาพข้างล่างนี้จะเห็นว่ามีบางช่วงที่ซื้อตอนขาดทุน นี่เองที่เรียกว่าความผันผวนระยะสั้นที่เราจะต้องรักษาวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยการซื้อตามแผนที่วางไว้ต่อไป หากเราเข้าใจธรรมชาติของการลงทุนและผ่านจุดนี้ไปได้ก็จะสำเร็จตามเป้าหมายที่คิดไว้นะจ๊ะ


การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA

ที่มา :  www.wealthmagik.com


ข้อมูลเพิ่มเติม : การซื้อกองทุนแบบ DCA ไม่เฉพาะแต่การซื้อ RMF เท่านั้น แต่ถ้าคนที่ต้องการทยอยซื้อกองทุน LTF รายเดือน ยังพบว่า


 >> จากสถิติย้อนหลัง 10 ปี (พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2561) มีถึง 7 ปี เราจะได้หน่วยลงทุนที่ราคาต่ำกว่าซื้อแบบลงทุนก้อนใหญ่ครั้งเดียวในช่วงปลายปี (ข้อมูลจาก KAsset*)


*ลงทุน 5,000 บาท ทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน เปรียบเทียบกับลงทุนครั้งเดียว 60,000 บาท ณ 30 ธ.ค.ของทุกปี โดยคิดจากดัชนี SET TRI


เป้าหมายที่ 2 รับเงินปันผลระหว่างทางและได้รับลดหย่อนภาษีแบบต่อเนื่อง

กองทุนรวมจ่ายเงินปันผลเหมาะสำหรับคนที่ต้องการใช้เงินระหว่างการลงทุน แล้วถ้าต้องการให้เงินก้อนนี้ได้รับลดหย่อนภาษีแบบต่อเนื่องด้วย เรามาดูว่าทำอย่างไร


? เงินปันผลจากกองทุน

เราเลือกได้ว่าจะให้กองทุนหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ก็ได้ 

  • ถ้าเราเลือกไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% จะต้องนำเงินปันผลไปรวมเป็นรายได้ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้สิ้นปี

  • ถ้าเราเลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% เราจะนำเงินส่วนนี้มายื่นภาษีหรือไม่ มีแนวคิดดังนี้

    • ถ้าเรามีฐานภาษีน้อยกว่า 10% ควรนำมายื่นภาษี เพราะจะได้เงินที่ถูกหักภาษีไปกลับคืนมา

    • ถ้าเรามีฐานภาษีมากกว่า 10% ไม่ควรนำมายื่นภาษี เพราะจะทำให้เรามีภาระภาษีสูงขึ้น


? ได้รับลดหย่อนภาษีแบบต่อเนื่อง 

LTF ก้อนที่ครบกำหนดแล้วเราเลือกได้ว่าจะเก็บไปเรื่อยๆ หรือขายออกมาเพื่อซื้อก้อนใหม่รับสิทธิลดหย่อนภาษีก็ได้ ส่วนใครที่เลือกวิธีหลังเราจะแนะนำ DCA ขายกองทุนที่ครบกำหนดแล้วว่าควรทำอย่างไร รับรองว่าไม่ขายผิดก้อนแน่นอน มี 2 ขั้นตอนจ้า


ขั้นตอนที่ 1 ดูวันครบกำหนดขาย 

ช่วงที่ผ่านมามีการปรับหลักเกณฑ์ LTF กันนิดหน่อย ตามนี้จ้า

https://lh4.googleusercontent.com/o2Dldei7U7TUnQqkyJxYhtWNEZmX9UElFaq4KcKY59F24DJzldMRRhD8NWe1GgT_LEldzJ-qix7KIYVjuZNt0df0VqRvCas5W-0lvREef5zU6_iIoIb83teCKLd1GcLt7tCvQG4f

การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA

แปลว่า หากปีนี้ (2562) เราต้องการขาย LTF จะต้องขายก้อนที่ซื้อมาในปี 2558 หรือก่อนหน้านั้น ถึงจะขายได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข 


ขั้นตอนที่ 2 ขายเป็นหน่วยลงทุน 

ขายตามจำนวนหน่วย LTF ที่ครบกำหนดจะได้ไม่ขายผิดกอง เราเลือกขายทีเดียวทั้งก้อนหรือแบ่งขายรายเดือนก็ได้ 


ตัวอย่างการลงทุนจริง 

ถ้าเราซื้อกองทุนรวม KDLTF (กองทุนเปิดเค หุ้นระยะยาวปันผล) ตั้งแต่ปี 2558 แล้วลงทุนทุกเดือนๆละ 5,000 บาท ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงเดือน พ.ค. 62 จะเป็นอย่างไร


  • จำนวนหน่วยลงทุน

เราซื้อกองทุนรายเดือน ถึงตอนนี้มีหน่วยลงทุนรวมทั้งหมด 13,810.6974 หน่วย มีต้นทุนเฉลี่ย 19.1880 บาท แบ่งเป็นรายปีดังนี้ 


การลงทุนของมนุษย์เงินเดือนใน LTF – RMF ด้วยวิธีคิดแบบ DCA


  • การขาย LTF ที่ครบกำหนด 

    • ความแตกต่างระหว่างการขายและไม่ขาย LTF ที่ครบกำหนด

      • ขาย : มีเงินใช้จ่ายหรือนำไปซื้อ LTF ก้อนใหม่เพื่อรับลดหย่อนภาษีในปีนั้น

      • ไม่ขาย : ได้ลงทุนต่อเนื่องระยะยาวซึ่งจะได้ต้นทุนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าปัจจุบัน รวมทั้งยังเอาเงินปันผลไปใช้หรือลงทุนต่อได้ด้วย

    • จากตารางปี 2558 เรามีหน่วยลงทุนทั้งหมด 3,251.0776 หน่วย ที่ต้นทุนเฉลี่ย 18.4554 บาท (ปัจจุบัน KDLTF มีราคารับซื้อคืนอยู่ที่ 19.4443 บาท) มีวิธีการขาย ดังนี้

      • ขายทีเดียว หากขายตอนนี้ได้รับเงิน 63,214 บาท (มาจาก 3,251.0776 x 19.4443) ได้กำไร 3,214 บาท (มาจาก 3,251.0776 x 0.9889) แล้วนำมาซื้อ LTF ก้อนใหม่ เพื่อลดหย่อนภาษีของปี 2562

      • แบ่งขายรายเดือน มิ.ย.- ธ.ค. 62 เหลือเวลาอีก 6 เดือน แบ่งขายเดือนละ 541.846 หน่วย (มาจาก 3,251.0776 / 6 เดือน) ราคาที่ขายได้จะเป็นราคาเฉลี่ย

  • เงินปันผล

    • เวลา 4 ปีกว่าๆ เราได้เงินปันผลไม่เกินปีละ 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 21,519.64 บาท (จำนวนเงินปันผลอ่านได้ที่หนังสือชี้ชวน) คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 5.66% ต่อปี 

    • เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2,151.964 บาท (มาจาก 21,519.64 x 10%) แนวคิดว่าจะยื่นหรือไม่ยื่นภาษี

      • ถ้าเรามีฐานภาษีน้อยกว่า 10% แล้วนำเงินปันผลก้อนนี้ยื่นภาษี เราจะได้รับเงินที่ถูกหักไปทั้งหมด 2,151.964 บาท กลับคืนมา

      • ถ้าเรามีฐานภาษีมากกว่า 10% ไม่ควรนำมารวมยื่นภาษี เพราะจะทำให้เรามีภาระภาษีสูงขึ้นจ้า


KEQRMF และ KDLTF

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะอยากรู้แล้วว่ากองทุนรวมที่ยกตัวอย่างไปทั้ง 2 กอง คือ KEQRMF และ KDLTF มีนโยบายการลงทุนอะไร มีจุดเด่นที่น่าสนใจอย่างไร สรุปสั้นๆให้ฟังตรงนี้เลยจ้า


KEQRMF และ KDLTF

ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 62


โปรโมชั่นเดือนสุดท้าย!!

  • โปรโมชั่นพิเศษเดือนสุดท้ายแล้ว เมื่อลงทุน LTF/RMF ที่ร่วมรายการ ผ่านแอป K PLUS หรือ K-My Funds ครบยอดเงินลงทุนสุทธิตามเงื่อนไข จะได้รับ Starbucks e-Coupon สูงสุด 400 บาท ฟรี!!

https://lh3.googleusercontent.com/zUGTvaIviJZhkeDp8OMaYwto4mkduV8RNUdHs4QdlzrK1SoZzV0d7H2osRQoYjRYJReIsINMY3Q6LQbnHQ1-eMlPLizF3IqBAdht0GH6qvhqGNp0aSUo1LL7O2TRB8A3OButaL40

ทยอยลงทุนได้ตั้งแต่ 18 มี.ค. - 28 มิ.ย. 62
อ่านรายละเอียดโปรโมชั่นได้ที่ https://bit.ly/2YL14dJ


อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลายคนอาจจะเลือกได้แล้วว่าตัวเองเหมาะกับ LTF หรือ RMF พร้อมกับแนวคิดและตัวอย่างจริงของการซื้อขายแบบ DCA ที่ซื้อเป็นบาทและขายเป็นหน่วย สิ่งสำคัญ คือ เป็นการให้เงินทำงานด้วยวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมออีกด้วย รู้แล้วก็อย่ารอให้ถึงสิ้นปี เพราะซื้อ LTF & RMF ที่ดีที่สุด คือ การลงทุนวันนี้นะจ๊ะ ^^


ก่อนจากกันวันนี้ ฝากข้อคิดการลงทุนว่า… 

  • ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาข้อมูลภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

  • ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือสามารถเลือกให้ไม่หัก ณ ที่จ่ายก็ได้ แต่จะต้องนำเงินปันผลไปรวมเป็นรายได้ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้สิ้นปี

KEQRMF และ KDLTF


#KAsset #KDLTF #KEQRMF #คำตอบที่ใช่ของการลงทุน 


บทความนี้เป็น Advertorial