เมื่อพูดถึงเรื่องภาษีแล้วหลายๆคนก็คงรู้สึกสยองมากเวลาเห็นสลิปเงินเดือนออก แล้วก็มาดูว่าในแต่ละเดือนเราจะต้องจ่ายภาษีไปเท่าไหร่บ้าง โดยปกติแล้วทุกๆคนมีหน้าที่จ่ายภาษี โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนแล้วจะถูกหักตั้งแต่รับเงินเดือนจำนวน 10% แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการหลอกหลอนนั้นจะจบลงไปเนื่องจากเมื่อถึงเวลาครบปี รายได้ของเราทั้งหมดจะถูกนำมาคำนวณเพื่อดูว่าอัตราภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีจำนวนเท่าไหร่ ยิ่งคนที่ทำงานมานานและมีฐานเงินเดือนสูง แน่นอนว่าเขาจะต้องจ่ายเกิน 10% แน่ๆ อาจจะ 20% 30% ก็เป็นไปได้

ในการวางแผนทางการเงินเพื่อการยื่นภาษีนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้องตรวจสอบก่อนคือ

 

1. บริษัทได้มีการจ่ายภาษี หัก ณ ที่จ่ายหรือไม่?

คำตอบนั้นสามารถดูในสลิปเงินเดือนของทุกท่านได้ หากมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปก็เท่ากับว่าเงินส่วนหนึ่งได้แบ่งเบาภาระเพื่อการชำระภาษีในต้นปีถัดไปได้แล้วส่วนหนึ่ง แต่ถ้าหากบริษัทจ่ายเงินสดมาโดยไม่ได้นำส่งภาษีเลยละก็ คุณจะต้องคิดอยู่เสมอว่าเงินที่มาจากการทำงานและอยู่ในบัญชีของคุณนั้นจะต้องมีบางส่วนถูกนำส่งไปยังสรรพากร ซึ่งเราไม่สามารถใช้หมดได้

2. คำนวณฐานภาษีของตัวเอง

เราสามารถดูจากฐานภาษีอย่างคร่าวๆได้ เพื่อที่จะประเมินในอนาคตว่าเราจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่  และคำนวณฐานภาษีและเงินที่เราจะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องชำระเป๊ะๆอย่างที่สรรพากรกำหนดเนื่องจากในปัจจุบันเราสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ แต่อย่างไรก็ตามหากเราไม่ต้องการลดหย่อนภาษีใดๆก็ต้องเตรียมเงินเพื่อชำระภาษีที่เหลือ หรือหากเราต้องการลดหย่อนภาษี ก็ต้องคำนวณว่าจะต้องวางแผนเพื่อเตรียมเงินเท่าไหร่เพื่อนำไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี

3. การลดหย่อนภาษีและใช้สิทธิทางภาษี

สำหรับการลดหย่อนภาษีแบบบุคคลธรรมดาทำได้ไม่ยากและมีหลายแบบ แต่สำหรับพวกเราแล้วสามารถเลือกใช้วิธีลดหย่อนภาษีจากการนำเงินออมมาลงทุน ซึ่งจะทำให้ทุกคนรวยขึ้นได้ เนื่องจากเป็นการใช้เงินออมในระยะยาว โดยทางเลือกที่เป็นที่นิยมในการออมและลงทุนได้แก่

  • การลงทุนใน LTF ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยสามารถซื้อและขายในระยะเวลา 5 ปีปฎิทิน
  • การลงทุนใน RMF ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินมาออมไม่ต่ำกว่า 5 ปีและสามารถนำมาใช้ได้เมื่ออายุ 55 ปี
  • การลงทุนในประกันชีวิต เป็นอีกหนทางหนึ่งในการคุ้มครองชีวิต สะสมความมั่งคั่งพร้อมๆการลดความเสี่ยงที่ได้ประโยชน์ทางภาษี

 

อย่าลืมนะครับว่า เมื่อเรามีรายได้แล้ว เราจะต้องเสียภาษี แต่เราจะเสียภาษีอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนของเรา