ก้าวสู่บริษัทโฮลดิ้งส์ CGH กับการทำธุรกิจแนวใหม่


ถ้าเราได้มีโอกาสได้ไปเปิดพอร์ตหุ้นในงานสัมมนาการลงทุนต่างๆ ก็คงได้เคยเห็น บริษัทหลักทรัพย์คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS เปิดบูธให้บริการอยู่นะครับ เดิมทีบริษัทนี้มีหุ้นซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย แต่ในปัจจุบันไม่มีแล้ว ซึ่งถ้าเราเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ของทางตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันจะเจอชื่อหุ้น บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ CGH แทน สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่รู้จักก็อาจจะสงสัยว่า 2 บริษัทนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

วันนี้จะเล่าความเป็นมาของบรัษัท CGH ให้ฟังนะครับ เผื่อใครที่ยังไม่รู้จัก โดยข้อมูลที่ผมนำมาเล่านั้นมาจากเว็บไซต์ของบริษัทและข้อมูลที่เผยแพร่จากทางตลาดหลักทรัพย์นะครับ แน่นอนว่าไม่ได้เชียร์ให้ซื้อหุ้นตัวนี้นะแค่อยากจะเล่าให้ฟังถึงภาพใหม่ของการทำธุรกิจของบริษัท คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ นะครับ จะซื้อไม่ซื้อก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลละกันนะครับ


ทำไมถึงเปลี่ยนเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์?

เดิมทีแล้วทางกลุ่มของ คันทรี่ กรุ๊ป นั้นมีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือ CGS ซึ่งให้บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม 2558 ได้มีการเพิกถอนบริษัทออกจากตลาดหลักทรัพย์โดยสมัครใจ และมีการจดทะเบียนบริษัทใหม่เข้าไประดมทุนแทนคือ คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ CGH ในวันเดียวกัน

เท่าที่ผมได้อ่านจากคำอธิบายในรายงานประจำปีที่แล้วพบว่า ในระยะหลังนี้การทำกิจการบริษัทหลักทรัพย์นั้นมีการแข่งขันสูงมากในเรื่องของค่าธรรมเนียม และบริษัทต้องการเปลี่ยนธุรกิจไม่ให้พึ่งพาแค่รายได้ในส่วนนี้เท่านั้น จึงตั้งบริษัท CGH ขึ้นมาเพื่อเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ที่หาโอกาสต่างๆ ในการลงทุน ส่วน CGS เมื่อถูกถอนออกจากตลาดไปแล้วก็กลายมาเป็นบริษัทลูกของทางโฮลดิ้งส์อีกทีครับ โดยผู้บริหารได้ตั้งแนวทางในการทำธุรกิจคือ “ผู้นำในตลาดการลงทุนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง”

การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะทำให้บริษัทสามารถหาโอกาสการลงทุนได้มากขึ้น เพิ่มช่องทางในการหารายได้ และเป็นการกระจายความเสี่ยงไม่ให้ไปพึ่งพารายได้และผลกำไรจากธุรกิจบริการด้านหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียว โดยบริษัทจะทำหน้าที่จัดหาเงินทุนเพื่อการดำเนินงานของบริษัท และบริษัทในเครือ และมีรายได้จากการลงทุนของบริษัทลูกที่เข้าไปถือหุ้น


ลักษณะของการลงทุน

เนื่องจากการเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์จะมีรายได้เข้ามานั้น จะต้องเกิดจากการลงทุนในหุ้น ถ้าบริษัทลูกมีราคาที่สูงขึ้นจากการเติบโตของบริษัทก็สามารถขายทำกำไรได้ หรือถ้าบริษัทลูกเจริญเติบโตกำไรงอกเงยก็จะได้รับเงินปันผลได้เช่นเดียวกัน ซึ่งแนวทางของบริษัทในเรื่องการลงทุนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


          1. การลงทุนหลัก : เป็นการลงทุนที่ทางบริษัทจะทำการวิเคราะห์โอกาสต่างๆ ในการลงทุนเพื่อให้ธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโต แล้วเข้าไปซื้อธุรกิจเพื่อนำมามีส่วนช่วยดำเนินงานด้วยการปรับโครงสร้างใหม่ วางยุทธ์ศาสตร์และจัดการกระบวนการต่างๆ ในการทำธุรกิจให้ดีขึ้น เมื่อธุรกิจที่เข้าไปลงทุนเติบโตก็จะประเมินมูลค่าของทรัพย์สินต่างๆ เพื่อขายทำกำไรหรือเอาเงินออกมาปันผลให้กับทางบริษัท

          2. การลงทุนชั่วคราว : เป็นการลงทุนระยะสั้นของทางบริษัทที่หาหุ้นดีมีศักยภาพและเข้าไปลงทุน โดยที่ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริษัท เช่นการประเมินมูลค่าหุ้นและซื้อลงทุน เช่น หุ้นที่มีโอกาสในการเติบโตสูง (Growth Stock) หรือ หุ้นที่มีมูลค่าแต่ราคายังไม่สะท้อนถึงพื้นฐาน (Value Stock) บริษัทก็จะทำการประเมินเพื่อเข้าซื้อ หลังจากนั้นจะมีการติดตามผลการลงทุนเพื่อหาโอกาสขายทำกำไรให้กับบริษัท


ก้าวสู่บริษัทโฮลดิ้งส์ CGH กับการทำธุรกิจแนวใหม่


บริษัทในเครือที่บริษัทลงทุนอยู่

จากข้อมูลที่สามารถอ่านได้จาก 56-1 ซึ่งทุกคนสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ จะเห็นได้ว่าบริษัทคันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ถือหุ้นอยู่ในธุรกิจที่หลากหลายประเภทนะครับ มีทั้งบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลการถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ครับ


ก้าวสู่บริษัทโฮลดิ้งส์ CGH กับการทำธุรกิจแนวใหม่


          1. บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) : บลจ. คันทรี่กรุ๊ป ทำธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และบริการผลิตภัณฑ์การลงทุนครบวงจร ล่าสุดทำกำไร 89 ล้านบาท โดยมีการถือหุ้นอยู่ 99.3%

          2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) : บลจ. เอ็มเอฟซี ธุรกิจจัดการกองทุนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการกว่า 40 ปี มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการ 437,155 ล้านบาท* โดยมีการถือหุ้น 24.3%

          3. บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) :บมจ. ผาแดงอินดัสทรี ที่ปรับโครงสร้างสู่พลังงานทดแทน รีไซเคิลและกำจัดขยะ อาทิ วางแผนจัดตั้งโครงการฟาร์มโซล่า กำลังผลิตไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ ทั้งในและต่างประเทศ และจัดตั้งโครงการรีไซเคิลโลหะด้วยเทคโนโลยีจากประเทศสวีเดน ซึ่งจะเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเซีย มีการถือหุ้นบริษัทนี้ 24.9%

          4. บริษัท คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) : บมจ. คันทรี่ กรุ๊ป ดีเวลลอปเม้นท์ ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าของโครงการล่าสุด “เจ้าพระยา เอสเตท” ซึ่งเป็นทั้งโรงแรม 6 ดาวและเซอร์วิสเรสซิเดนท์ระดับซูเปอร์ไฮเอนท์ 73 ชั้น โครงการมูลค่ากว่า 32,000 ล้านบาทปัจจุบันถือหุ้นอยู่ 9.3%

          5. บริษัท เก็งกิ พาวเวอร์ จำกัด : เป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ที่จะผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า โดย คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ถือหุ้น 99.9% แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ประกอบธุรกิจครับ

*ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2560


บริษัทที่ถือหุ้นนั้นหลากหลายมาก ซึ่งถือเป็นข้อดีในการกระจายความเสี่ยงการลงทุน พร้อมทั้งเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่แข็งแกร่งและยั

Tarkawin

Tarkawin

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนหุ้นแบบ DCA หรือการออมหุ้น

Related Story