การเงินถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับทุกคนและในหลายๆเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา อาจจะทำให้เรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องส่วนตัวหรือในเรื่องของธุรกิจ ซึ่งทางเลือกในการหาแหล่งเงินทุนในปัจจุบันนั้นก็มีหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างๆ และการขายฝากนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เรามี
อย่างไรก็ตามเมื่อขายฝากไปแล้วแต่ไม่ได้วางแผนในการนำเงินมาไถ่ถอนพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนที่จะมอบให้กับผู้รับซื้อฝากตามสัญญา ทรัพย์สินนั้นก็จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น หากต้องการไถ่ถอนสินทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝากจริงๆ ก็ควรจะต้องวางแผนทางการเงินเพื่อให้ปฎิบัติตามสัญญาที่ได้ทำไว้อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายของเงินทุนว่าจะนำไปใช้ทำอะไร
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดเป้าหมายทางการเงินว่าเป้าหมายในการนำเงินไปใช้คืออะไร มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนมากขนาดไหน เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ เช่น การนำเงินทุนไปใช้เพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ การนำไปหมุนเวียนเมื่อเกิดเหตุจำเป็น ทั้งนี้ควรคำนวณเงินทุนที่จะต้องใช้ให้อย่างเหมาะสมเพราะการนำเงินทุนมาใช้เกินความจำเป็นจะทำให้ต้องเสียต้นทุนทางการเงินและมอบผลประโยชน์ให้กับผู้รับซื้อฝากที่มากขึ้นตามไปด้วย
2. คำนวณเงินและระยะเวลาในการชำระเงิน
ในการขายฝากนั้น จะมีการตกลงในสัญญาว่าจะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับซื้อฝากเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ และจะต้องจ่ายล่วงหน้ากี่เดือน ดังนั้น จึงต้องมีการคำนวณเงินล่วงหน้าอย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนทางการเงิน และเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจะต้องนำเงินไปไถ่ถอนให้ครบตามสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าขายฝาก 1,000,000 บาท ทำสัญญา 1 ปี กำหนดประโยชน์ตอบแทน 15% ต่อปี เท่ากับ 150,000 บาท หรือ 12,500 บาทต่อเดือน โดยมีการให้ผลประโยชน์ตอบแทนใน 3 เดือนแรก 37,500 บาทและคงค้าง 112,500 บาทซึ่งจะต้องมอบให้เป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไปและเมื่อครบกำหนดสัญญาจะต้องนำเงิน 1,000,000 บาทมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืน เป็นไปตามแผนในตารางข้างล่าง
3. ตรวจสอบความสามารถในการชำระเงินของตัวเรา
สิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องคิดและคำนวณให้ดีคือ เมื่อเราต้องการขายฝากเพื่อได้รับเงินทุนมาทำกิจกรรมใดๆก็ตามแล้วเราอยากจะไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืน เราจะต้องมีความสามารถในการหาเงินเพื่อมามอบผลประโยชน์และเงินต้นเพื่อมาไถ่ถอนในวันสิ้นสุดสัญญาด้วย
ในกรณีตัวอย่างมูลค่าขายฝาก 1,000,000 บาท กำหนดผลประโยชน์ 150,000 บาท อย่างน้อยที่สุดเราจะต้องมีความสามารถในการหาเงินมาไถ่ถอนรวม 1,150,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 95,833 จึงมีโอกาสที่จะสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินสำเร็จ
4. ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
หลังจากที่คำนวณแล้วว่าการขายฝากนั้นจะทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ โดยที่เงินทุนดังกล่าวจะนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีแผนการดำเนินงานที่สามารถหาเงินทุนกลับมามอบผลประโยชน์และไถ่ถอนต่อผู้รับซื้อฝากได้ตามสัญญา ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าการทำสัญญาขายฝากในครั้งนั้นจะทำให้เราได้รับทรัพย์สินกลับมาอย่างแน่นอน
การเลือกผู้รับซื้อฝากความสำคัญที่หลายๆคนมองข้าม
“นอกจากนี้แล้วในการทำสัญญาขายฝากนั้น ผู้ขายฝากจะต้องหาผู้รับซื้อฝากที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ และพร้อมปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้ในอีกฝั่งหนึ่งเช่นกัน”
ZAZZET สามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาของผู้ขายฝากที่กำลังต้องการแหล่งเงินทุนได้ โดยทำหน้าที่ในการดูแลกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่หาผู้รับซื้อฝาก ตรวจสอบเอกสาร และมีระบบ Matching ในการยื่นข้อเสนอผลประโยชน์ให้กับผู้ขายฝากได้เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งผลประโยชน์ที่จะต้องจ่ายนั้นอาจจะต่ำกว่า 15% ต่อเดือนก็ได้
สรุปแล้วการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วย 'การขายฝาก' นั้น หากมีวัตถุประสงค์ในการใช้เงินทุนที่ชัดเจน อยู่ในเกณฑ์ความสามารถที่ทำได้และมีแผนในการชำระและไถ่ถอนอย่างเป็นระบบ จะทำให้เราปฏิบัติตามสัญญาได้และได้รับทรัพย์สินกลับมาได้ตามแผนอย่างแน่นอน