ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แปลตรงตัวคือ ภาษีที่เก็บจากเงินได้ของคนธรรมดาทั้งหลาย ดังนั้นถ้าหากคุณทำธุรกิจอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดบริษัท ห้างหุ้นส่วนทั้งหลาย คุณมีหน้าที่เสียภาษีนี้ทันทีที่คุณมีรายได้

คนทำธุรกิจทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษี นี่คือความจริงที่แท้ทรูข้อแรกที่คุณควรรู้

คนที่ต้องเสีย ก็คือ บุคคลธรรมดาตามที่กฎหมายว่าไว้ แน่นอนว่า คนอย่างเราๆนี่ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น

แต่ถ้ากฎหมายจริงๆ เขาบอกว่า คนที่ต้องเสียนั้น
มีตั้งแต่ บุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล

สรุปสั้นๆตรงนี้ก็บอกว่าเสียมันหมดทุกคนนี่แหละครับ


วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีอยู่ 2 วิธีคือ

1. วิธีเงินได้สุทธิ
2. วิธีเงินได้พึงประเมิน

---

แบบแรก วิธีคำนวณตามเงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
เงินได้สุทธิ มาจาก รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

ควรเข้าใจ 3 ข้อนี้ก่อน
1. รายได้ถือเป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย
2. เลือกคำนวณค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ แบบไหน หัก % ตามอัตราเหมา หรือจะหักตามจริงที่มีเอกสารหลักฐาน
3. เลือกใช้ค่าลดหย่อนตามที่มี+ต้องการ

---

แบบที่สอง ในกรณีที่มีรายได้จากการทำธุรกิจเกินกว่า 1 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำมาคำนวณตามวิธีที่ 2 และเปรียบเทียบกับวิธีแรก โดยเลือกภาษีที่คำนวณได้มากกว่ามาเสีย

โดยวิธีที่ 2 คำนวณโดย
เงินได้ x 0.5%

ถ้ายังไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ กดติดตามเพจนี้ไว้ fb.me/biztaxthai วันหลังจะสอนในรายละเอียดให้มากขึ้นครับ


อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นแบบขั้นบันได แปลเป็นไทยก็คือยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียภาษีมากขึ้น โดยมีแต่ตั้ง 5-35% ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิเมื่อกี้ที่คำนวณได้นั่นแหละจ้า 


สำหรับคนทำธุรกิจ ถ้ามีรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องยื่นภาษี แม้ว่าจะไม่เสียภาษีก็ตาม (กรณีมีคู่สมรสคือ 120,000 บาท)

สำหรับคนทำธุรกิจจะยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 และ แบบ ภ.ง.ด. 94 โดย ภ.ง.ด. 90 เป็นการยื่นภาษีเต็มปี ส่วน ภ.ง.ด. 94 เป้นการยื่นภาษีครึ่งปี (6 เดือนแรก)

จำไว้ว่าภาษีเต็มปี ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป ส่วนภาษีครึ่งปีให้ยื่นภายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน (ถ้ายื่นผ่านอินเตอร์เน็ตก็บวกไปอีก 8 วันจ้า)


ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai