
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฏากรอีกประเภทหนึ่งที่จะเรียกเก็บจากการทำสัญญา หรือ ตราสารตามที่กฎหมายกำหนด โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 28 ประเภทจ้า

คนที่ต้องเสียภาษีนั้นขึ้นอยู่กับการระบุในบัญชี ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของสัญญาหรือตราสาร 28 ประเภทนั้นๆ เช่น ผู้ให้เช่า ผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ซึ่งมีการผลักภาระ หรืออาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนก็ได้

การคำนวณนั้นขึ้นอยู่กับกับบัญชีตราสารที่กำหนดไว้ สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.rd.go.th/publish/6162.0.html

อัตรานั้นอยู่ขึ้นอยู่กับตราสารเช่นเดียวกัน เพราะตแ่ละตราสารหรือสัญญานั้นก็จะไม่เท่ากัน สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/6162.0.html

อากรแสตมป์ไม่จำเป็นต้องยื่น แต่ต้องมีการปืดทับหรือชำระเป็นตัวเงินทุกครั้งที่ทำสัญญา โดย
1. กรณีแสตมป์ปิดทับ คือ ปิดแสตมป์ทับกระดาษ และขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ
2. กรณีแสตมป์ดุน ใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และขีดฆ่าแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน
3. กรณีชำระเป็นตัวเงิน ให้ใช้แบบ อ.ส.4 (แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรอำเภอหรือสรรพากรเขต โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วย
ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ
#อากรสแตมป์
#ภาษีสำหรับเจ้าของธุรกิจ
#พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ