วันที่ 25 พฤษภาคม 2557 คสช.ได้ทำการเปิดเผยแนวทางการบริหารงาน แผนเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนชาวไทยและช่างต่างชาติก่อนเข้าสู่การเลือกตั้ง

 

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและการคลัง ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการนัดหารือกันเพื่อชี้แจงแนวทางการบริหาร หรือ โรดแมพด้านเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

  1. ในด้านการบริหาร จะเน้นการบริหารระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งใช้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยภาพเอกชนเป็นหลัก
  2. ให้การเคลื่อนย้ายทุกเป็นไปได้อย่างเสรี
  3. จะส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี
  4. ลดบทบาทรัฐวิสาหกิจที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้
  5. ทำให้การค้าต่างประเทศคล่องตัว โดยทาง คสช. เสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมทั้งยังพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ
  6. สนับสนุนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
  7. ไม่ก่อหนี้เกินตัว และรักษาวินัยการคลัง
  8. ขจัดความไม่เป็นธรรมระบบพ่อค้าคนกลาง
  9. แก้ไขปัญหาแรงงานอย่างบูรณาการ

 

 

 

ส่วนนโยบายเร่งด่วนอีก 5 ข้อ ที่ทาง คสช. ต้องการเน้นและดำเนินการอย่างเร่งด่วน ประกอบไปด้วย

 

  1. จัดการปัญหาหนี้ค้างชำระแก่ชาวนาในโครงการจำนำข้าว
  2. แก้ไขปัญหาการขอใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมที่ล่าช้า เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
  3. เบิกจ่ายงบลงทุนปี 2557 ที่ยังคงค้างอยู่ ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 7 พันล้านบาท
  4. เริ่มกระบวนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น รถไฟรางคู่และรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
  5. จัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนนี้

 

 

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่จะดำเนินการควบคู่ไปกับนโยบายเร่งด่วนอีกด้วย มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

  1. ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และขจัดปัญหาทุจริต
  2. ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอย่างเป็นธรรม
  3. ส่งเสริมการค้าชายแดนผ่านการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ
  4. ทบทวนโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเน้นให้จัดเก็บภาษีคนรายได้สูงมากขึ้น พร้อมทั้งดึงผู้มีรายได้เข้ามาในระบบมากขึ้น
  5. ทบทวนกองทุนนอกงบประมาณต่างๆ เช่น กองทุนสตรี กองทุนหมู่บ้าน โดยจะเน้นทบทวนกองทุนที่ไม่เป็นประโยชน์
  6. เน้นส่งเสริมพัฒนาสินค้าขั้นกลางและขั้นปลายเพื่อการส่งออกให้มากยิ่งขึ้น
  7. ส่งเสริมการดูแลเกษตรกรชาวนาอย่างเป็นระบบมากขึ้น

 

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดเผยหลังจากเข้าร่วมประชุมว่า ทาง คสช. ได้มีการชี้แจงบทบาทการทำงานของ คสช. ใน 3 ระยะ ซึ่งประกอบด้วย

 

  1. ในระยะแรก ระบบการบริหารประเทศขณะนี้ มีหัวหน้า คสช. เป็นหัวหน้า
  2. ระยะที่สอง จะมีการออกธรรมนูญการปกครองชั่วคราว และจากนั้นมีการตั้งคณะรัฐมนตรีภายใต้กฎอัยการศึก ซึ่งจะมีการตั้งสภาปฏิรูปในชุดต่างๆ เช่น ปฏิรูปกระบวนการทุจริต ปฏิรูประบบราชการ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติ
  3. ระยะที่สาม คือการกำหนดให้มีการเลือกตั้งต่อไป

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำงานระยะที่ 2 และ 3 นั้นยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด เพราะจำต้องรอดูสถานการณ์บ้านเมืองอีกครั้ง แต่มีความเชื่อว่า คสช.จะสามารถบริหารงานได้ดี เศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้นจากเดิม และทำให้ความสุขและความสงบเกิดขึ้นกับประชาชนได้อย่างเร็ววัน

 

ขณะที่นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2558 ว่า ทางสำนักงานงบประมาณจะเร่งเสนอปฏิทินงบประมาณให้กับทาง คสช. พิจารณา ภายในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ โดยเชื่อว่าปฏิทินงบประมาณจะสามารถนำมาประกาศใช้ได้ทันวันที่ 1 ตุลาคม 2557 อย่างแน่นอน โดยคาดว่าวงเงินงบประมาณประจำปี 2558 ไม่น่าจะเกิน 2.6 ล้านล้านบาท โดยเป็นงบประมาณขาดดุล 200,000 ล้านบาท และน่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าให้โตขึ้นได้ 6%

 

นางสมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณจะรวดเร็วขึ้นเมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และคาดว่าจะมีการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรที่มีอำนาจเทียบเท่าในเร็วๆนี้

 

โดยเนื้อหาของงบประมาณประจำปี 2558 ที่จัดทำเสร็จไปเกือบครึ่ง ประกอบไปด้วย

  1. งบใช้จ่ายจำเป็นขั้นต่ำสุด
  2. งบที่มีภาระสัญญาผูกพัน
  3. งบภารกิจพื้นฐานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ

 

นายสมศักดิ์ยังกล่าวว่างบประมาณประจำปี 2558 จะมีเรื่องการลงทุนโครงการต่างๆ เช่น โครงการรถไฟรางคู่ ในหมวดการลงทุนโลจิสติกส์ และโครงการป้องกันน้ำท่วม ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงอาจจะยังไม่ใส่ไว้ในโครงการ เพราะการจัดทำงบประมาณจะเน้นด้านการทำงบประมาณสมดุล เพราะในปีงบประมาณปัจจุบันขาดดุลอยู่ที่ 250,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินงบประมาณทั้งหมด 2.525 ล้านล้านบาท มีรายได้ 2.275 ล้านล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินกู้

 

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่าเรื่องเร่งด่วนที่ควรทำที่สุดในตอนนี้ คือ การจ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าว และเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2558 เพราะเศรษฐกิจไทยจะได้ฟื้นตัวเร็วที่สุด และจากการประชุมกับทาง คสช. เชื่อว่าแผนงานทั้งหมดจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากขึ้น

 

ทางด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอว่าขอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานร่วม ระหว่าง คสช. และภาคเอกชนเพื่อการทำงานและการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และควรเน้นให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน นักธุรกิจทั้งของไทยและต่างประเทศเป็นอันดับแรก

 

การประชุมครั้งนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ยังสั่งการให้ทุกหน่วยงานด้านเศรษฐกิจรวบรวมมาตรการต่างๆที่เกี่ยวกับการลดค่าครองชีพของประชาชนมาเสนอในการประชุมครั้งต่อไป พร้อมทั้งยังเน้นกำชับให้กระทรวงต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับต่างประเทศเร่งชี้แจงทำความเข้าใ&#

Related Story