วิชาความรู้ที่เราเรียนอยู่ตอนนี้ส่วนใหญ่จะสอนให้นำไปใช้กับการทำงานในอนาคต เป็นการเรียนเพื่อสร้างงานและความมั่งคั่งให้ตนเอง นำความรู้ไปประกอบวิชาชีพต่างๆ แต่จะมีสักกี่วิชาที่สอดแทรกแนวความคิดว่า "เราควรใช้เงินอย่างไร"  ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตสูงสุด โดยสอนวิธีการใช้เงินว่าโลกแห่งความจริงในชีวิตการทำงานของนักเรียน นักศึกษาที่เรียนจบออกไปนั้นจะเจอกับปัญหาการเงินอะไรบ้าง มีวิธีการแก้ไขปัญหาการเงินแต่ละรูปแบบอย่างไร

การสอนโดยจำลองสถานการณ์ปัญหาการเงินของจริงที่ผู้ใหญ่เจอในวัยทำงานเพื่อให้เด็กช่วยกันคิด ช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จะได้เป็นความรู้พื้นฐานไว้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นหรือหากเกิดปัญหาขึ้นจริงๆจะได้รู้ว่าควรจัดการกับปัญหาการเงินเหล่านั้นอย่างไรให้หลุดพ้นออกมาได้ ซึ่งลักษณะการจำลองสถานการณ์ปัญหาการเงินเหมือนกับทางหนีไฟ ที่เราควรสำรวจทุกครั้งที่ไปพักในที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือพักในโรงแรมต่างๆ ที่ต้องสำรวจทางหนีไฟไว้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุไฟไหม้เราจะได้รู้ว่าควรวิ่งไปทางไหนเพื่อเอาชีวิตรอด

 

การสอนโดยจำลองสถานการณ์จะทำให้จดจำได้มากกว่า

 

สำหรับวัยทำงานอาจจะใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ของตนเองว่า "หากเกิดปัญหาการเงินกับตนเองแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร" โดยปัญหาการเงินส่วนใหญ่ของคนวัยทำงาน คือ การออมเงิน เพราะบ่งบอกถึงวิธีจัดสรรเงินได้เป็นอย่างดีว่ารับรายได้มาแล้วจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีเงินเหลือออม การออมเงินนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องการออมเงินของแต่ละคนเพราะมันบอกได้ว่า "คุณใช้เงินเป็นหรือไม่" เรามาลองสำรวจตัวเองว่า เรามีทัศนคติเกี่ยวกับการ "ออมเงิน" เป็นอย่างไร? จากแบบทดสอบการออมนี้โดยใส่เครื่องหมายถูกในช่องที่เป็นตัวเองมากที่สุด จะใส่กี่ข้อก็ได้ค่ะ

 

เริ่มเลย...

 

แบบทดสอบการออม

คุณใช้เงินเป็นหรือไม่??

 

นับเครื่องหมายถูกว่าคุณอยู่ในช่องไหน ระหว่าง A หรือช่อง B

 

 

เฉลยแบบทดสอบการออม

 

ถ้าคำตอบทั้งหมดอยู่ในช่อง A ทางด้านซ้าย : ขอแสดงความยินดีด้วย "คุณใช้เงินเป็น"

คุณเห็นความสำคัญของการออมเงินเป็นอย่างมาก รู้จักการวางแผนการเงินว่าควรจัดสรรเงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองในปัจจุบันและอนาคตสูงสุด เก่งทางด้านการจัดการความเสี่ยงจากเหตุไม่คาดฝันเพราะมีแผนสำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และจะมีความสุข ความมั่งคั่งทางด้านการเงินในระยะยาว

 

ถ้าคำตอบทั้งหมดอยู่ในช่อง B ทางด้านขวา : ขอแสดงความเสียใจด้วย "คุณใช้เงินไม่เป็น"

คุณจัดสรรเงินไม่เป็น ไม่ให้ความสำคัญกับการออมเงิน เหตุผลต่างๆที่คุณใส่เครื่องหมายถูกนั้นเป็นเพียง “ข้ออ้าง” ของการไม่ออมเงิน รักความสุขสบายระยะสั้นมากกว่าความมั่นคั่งระยะยาว ไม่รู้จักวิธีจัดสรรเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุณอาจจะเดือดร้อนมากหากเจอวิกฤตที่ไม่คาดคิด เช่น ตกงานกระทันหัน เจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ เพราะไม่มีเงินออมเก็บไว้เลย (แต่ไม่ต้องกังวลเรามีวิธีแก้ไขที่ด้านล่างค่ะ)

 

แต่ถ้ามีคำตอบทั้ง A และ B เท่าๆกัน 

แสดงว่าคุณเห็นความสำคัญของการออมอยู่บ้าง แต่จะได้ดียิ่งขึ้นควรลดเหตุผลฝั่ง B ลงแล้วคุณจะมีความมั่งคั่งในอนาคตมากขึ้น

 

 

วิธีแก้ไข

วิธีย้ายเหตุผลฝั่ง B ไปฝั่ง A โดยหาวิธีแก้ปัญหาจากการจำลองสถานการณ์เหล่านี้

 

จำลองสถานการณ์ตกงาน

  • หากตอนนี้ถูกให้ออกจากงานกระทันหัน จะมีเงินไว้ใช้ในชีวิตประจำวันกี่วันเพื่อรองานใหม่ เช่น หากไม่ได้รับเงินเดือน 1-6 เดือนจะอยู่ได้ไหม มีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไรในช่วงตกงาน จะนำเงินส่วนไหนมาจ่ายในชีวิตประจำวันหรือของที่ผ่อนอยู่ตอนนี้

 

ตัวอย่างคำตอบ ==> เริ่มออมเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หารายได้หลายทางจากอาชีพเสริมต่างๆ

 

จำลองสถานกาณณ์ไม่คาดฝัน

  • หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน (เกิดเสียชีวิต ได้รับอุบัติเหตุจนพิการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) คนในครอบครัวเราจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีอะไรบ้างเป็นเครื่องรับประกันว่าคนข้างหลังเราจะอยู่สบาย สำหรับคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและหารายได้เข้าบ้านทางเดียวควรคิดถึงตรงนี้ให้มากๆ การคิดแบบนี้ไม่ใช่การแช่งตัวเอง แต่เป็นการเตรียมความพร้อมให้รับได้ทุกสถานการณ์ เราเคยเห็นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นคนโสด อายุ 50 กว่าๆ มีหลายโรครุมเร้า ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่ท่านได้วางแผนอย่างระมัดระวังโดยการทำพินัยกรรมมอบมรดกให้ลูกหลานหมดทุกคนแล้ว ท่านบอกว่าจะต้องทำให้เรียบร้อยหากวันนึงเกิดเสียชีวิต ลูกหลานจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวเรื่องทรัพย์สมบัติ

 

ตัวอย่างคำตอบ ==>  ทำประกันชีวิตให้ตนเอง นำเงินไปลงทุนเพื่อให้มีดอกผลส่งต่อให้คนในครอบครัว เช่น ซื้อคอนโด (แล้วปล่อยเช่าเพื่อสร้างรายได้) , ลงทุนหุ้นหรือกองทุนรวม (ได้เงินปันผล) , ซื้อตราสารหนี้ (ได้รับดอกเบี้ย)

 

จำลองสถานการณ์เป็นหนี้ท่วมหัว

  • อ่านเหตุการณ์ในกระทู้คนมีหนี้สินบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด ว่ามีลักษณะการใช้ชีวิตที่ยากลำบากอย่างไร รู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับโทรศัพท์ทวงหนี้หรือเจอกับแก๊งทวงหนี้โหด แล้วคิดว่าหากเป็นตนเองแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร อ่านไอเดียคำแนะนำของคนในกระทู้ว่ามีอะไรบ้าง แม้ว่าสถานการณ์เป็นหนี้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เจอปัญหาเล็กใหญ่แตกต่างกันออกไป แต่เราเชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนเหมือนกัน คือ มีสติ เราอ่านกระทู้ก็อาจจะไม่รู้สึกเท่ากับคนที่เป็นหนี้เอง แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากการศึกษากรณีตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาหนี้เหล่านี้จะทำให้เรามีเครื่องมือในการแก้ปัญหาและไม่รู้สึกโดดเดี่ยวโดยคิดว่าตัวเองโชคร้ายที่มีปัญหาทางการเงิน เพราะแต่ละคนก็เจอเหมือนกัน คนอื่นที่มีหนี้เยอะกว่าเรายังผ่านมา&#x