
ก่อนจะพูดเรื่องการวางแผนจำนวนเงินเเดือนที่ต้องจ่าย สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ กำไรของธุรกิจ
กำไรทีว่า คือ กำไรจริง ซึงถ้าหากธุรกิจไม่มีตัวเลขกำไรที่แท้จริงของกิจการ โดยปล่อยให้ข้อมูลในงบการเงิน หรือ แบบแสดงรายการภาษีที่ส่งสรรพากรนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง สิ่งที่เป็นปัญหาคือเราจะไม่รู้ว่าเงินเดือนที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไรจริงๆเช่นเดียวกัน
เงินเดือน ถือเป็นเงินได้จากการทำงานประเภทหนึ่ง ที่ลูกจ้างต้องใช้งานมาแลกเงินให้กับนายจ้าง
จำนวนเงินเดือนที่เหมาะสม ควรพิจารณาจากหน้าที่ของกรรมการที่มีต่อธุรกิจ เปรียบเทียบกับงานตำแหน่งหน้าที่ที่ใกล้เคียงกันในองค์กรนั้นๆ เพื่อพิจารณาจำนวนที่เหมาะสม
นอกจากนั้นแล้ว การจ่ายเงินเดือนต้องคิดถึงเรื่องของการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างถูกต้อง พร้อมกับมีหลักฐานการจ่ายเงินจริงประกอบกันด้วย เพื่อที่จะให้รายจ่ายนั้นถูกต้องตามหลักความเป็นจริงที่สุดครับ

หากทำได้ ลองมองดูธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือตำแหน่งหน้าที่งานนั้นเปรียบเทียบกับบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน เพื่อพิจารณาว่าธุรกิจเรานั้นไม่ได้จ่ายเกินกว่าราคาที่ตลาดว่าจ้างกัน เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันกับกรมสรรพากรในแง่ของการคิดค่าจ้างที่เหมาะสมด้วยครับ

สำหรับข้อกฎหมายที่ควรระวังนั้นคือ มาตรา 65 ตรีเป็นหลัก ได้แก่หลักการพิจารณาดังต่อไปนี้
- ห้ามจ่ายจากผลกำไรที่คำนวณได้สำหรับรอบบัญชี
- ห้ามจ่ายเกินสมควร (กรณีกรรมการเป็นผู้ถือหุ้น)
- ห้ามนำรายจ่ายส่วนตัวหรือไม่เกี่ยวข้องมาเป็นค่าใช้จ่ายธุรกิจ
อ้างอิงเพิ่มเติม : มาตรา 65 ตรี (3) (8) (13) (19)
สุดท้ายคือ แม้ว่าเงินเดือนของกรรมการจะเป็นรายจ่ายของบริษัทได้ก็ตาม แต่สิทธิประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้ามนั้นอาจจะเป็นด้านอื่น เช่น เงินปันผล หรือส่วนแบ่งกำไรก็เป็นเรืองที่น่าสนใจในการพิจารณาเช่นเดียวกัน
อ่านรายละเอียดเพิ่มได้ที่บทความนี้ครับ
https://www.facebook.com/1404693772992894/photos/?tab=album&album_id=1425937114201893
ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ
#จ่ายเงินเดือน #กรรมการ
#หลักฐานการจ่ายเงิน #ภาษีเงินได้
#ภาษีหักณที่จ่าย
#พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ