กำหนดตัวแปรคำนวณเพื่อให้เท่ากันก่อน คือ

1. บริษัทแห่งหนึ่งมีกำไร 1,000,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 20%

2. เงินเดือนและเงินปันผลจ่ายในจำนวนที่เท่ากัน คือ 240,000 บาท คิดเป็นเงินเดือน 20,000 บาทต่อเดือน

3. เจ้าของธุรกิจไม่มีรายได้อื่น ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆ เพิ่มเติม


ยกที่หนึ่ง : ภาษีเงินไ้ด้นิติบุคคล

ยกแรก!! กำไรจำนวน 1,000,000 บาท ถ้าหากจ่ายเงินเดือนจะช่วยให้ประหยัดภาษีไปจำนวน 48,000 บาท (20% ของรายจ่าย 240,000 บาท)

ส่วนเงินปันผลนั้นเป็นเงินที่จ่ายจากกำไร ไม่สามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายได้ และจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้อีก 10% คือ 24,000 บาท

ยกแรก เงินเดือนชนะขาด ประหยัดภาษีให้บริษัทไป 48,000 บาท ส่วนเงินปันผลทำให้ต้องหักภาษี ณ ทีจ่ายไว้ 24,000 บาท (โดยสามารถนำไปหักจากภาษีของกรรมการได้)


ยกที่สอง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

มาดูกันต่อในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบ้าง กรรมการหรือเจ้าของเอามายื่นภาษี เงินเดือนเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีเงินได้สุทธิ 80,000 บาท ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม

แต่ถ้าเป็นเงินปันผล จะต้องมาคิดเรื่องของเครดิตภาษีเงินปันผล ซึ่งมองว่าภาษีที่จ่ายจากฐานรายได้เดียวกันไม่ควรเก็บซ้ำซ้อน ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลิปนี้https://youtu.be/Bkmj1q-lyxs

จากกรณีนี้ เครดิตภาษี คือ 240,000 x 20/80 = 60,000 บาท ซึ่งต้องนำมาเป็นรายได้ของกรรมการ และเอามารวมกับภาษีที่ถูกหักไว้เพื่อใช้ในการหักจากภาษีที่คำนวณได้ (24,000 + 60,000)

ดังนั้นรายได้กรรมการจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 บาท เมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีเงินได้สุทธิ 240,000 บาท คิดเป็นภาษีจำนวน 4,500 บาท แต่เมื่อนำมาหักเครดิตภาษีและภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวน 84,000 บาท เท่ากับว่าจะได้ภาษีคืนจำนวน 79,500 บาท

ยกที่สอง เงินเดือนไม่เสียอะไรเพิ่มเติม แต่เงินปันผลทำให้เจ้าของได้เงินคือ 79,500 บาท


สรุปผลการคำนวณ ถ้าเลือกจ่ายเงินเดือนจะประหยัดภาษีนิติบุคคลไปได้ 48,000 บาท แต่ถ้าจ่ายเงินปันผลจะสามารถขอคืนภาษีได้จำนวน 79,500 บาท ซึ่งแปลว่าขอคืนเงินปันผลได้คืนภาษีมากกว่าจำนวน 31,500 บาท

คำถามคือ เราควรจะเลือกแบบไหน เพราะการจ่ายเงินปันผลก็มีข้อเสียบางอย่าง เช่น หากฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรรมการสูงมาก ก็อาจจะไม่คุ้มกับการขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผล 


บทสรุปจาก #พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ

เราไม่สามารถบอกได้ว่าการจ่ายเงินเดือนนั้นดีกว่าเงินปันผล แต่เราต้องดูความเหมาะสมของ 3 ตัวแปรนี้ประกอบกัน คือ อัตราภาษีที่ธุรกิจเสีย จำนวนเงินที่จ่าย (เงินเดือนหรือเงินปันผล) และสุดท้ายคือภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของประกอบกันครับ


ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ

#เงินเดือน #เงินปันผล
#ภาษีธุรกิจ #ความรู้ภาษีธุรกิจ
#พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ