ปกติแล้ว ทุกวันของแต่ละคน ก็มีหน้าที่การงานของตนเอง ซึ่งผมเชื่อว่าการทำงานของเราให้ดี ก็เป็นการช่วยประเทศชาติได้อย่างดีทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นงานแบบไหน ทั้งทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ยังมีอีกทางนึงที่จะช่วยประเทศของเราได้ แม้ว่าเราจะยังทำงานประจำอยู่ หรือแม้แต่ตอนนอนหลับ และที่สำคัญคือ เราได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา และเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่า ชนะเงินเฟ้ออีกด้วย เริ่มสนใจกันแล้วใช่ไหมครับ งั้นเรามาดูกันครับว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันถ้าติดตามข่าวกัน ก็พอจะทราบว่า ประเทศไทยเรามีการกู้เงินจากหลายๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นการกู้จากต่างประเทศ หรือ ในประเทศก็ตาม และสิ่งนี้เองก็ทำให้ความสามารถในการกู้เงินของประเทศเราลดน้อยลง และแน่นอนว่าถ้ากู้มากๆ หนี้ก็เริ่มเยอะ ก็อาจจะทำให้ประเทศไทยเรามีความเสี่ยงมากขึ้น เริ่มไม่ดีแล้ว

ดังนั้นทางหนึ่งที่จะลดภาระของประเทศก็คือ การรวมเงินของคนในประเทศ มาช่วยภาครัฐลงทุน และนักลงทุนทั่วไปเองก็มีโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนด้วย ซึ่งแทนที่จะเอาผลตอบแทนไปจ่ายให้กับประเทศอื่นๆ ที่เราต้องไปกู้มา หรือ จ่ายให้กับนายทุนคนใดคนหนึ่ง

การช่วยเหลือประเทศที่ดีทางหนึ่งคือการช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยเรา มีการพัฒนาในระบบต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีของประเทศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศนั้นก็คือ “โครงสร้างพื้นฐาน” นั่นเอง

พอพูดถึงตรงนี้ หลายๆ ท่านเริ่มรู้กันแล้วใช่ไหมครับ

ใช่ครับ !! วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” นั่นเองคร้าบบบบ

มาทำความรู้จักกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

ก่อนอื่นเรามารู้จักกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกันก่อนนะครับ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานถ้าพูดง่ายๆ แล้วก็คือ เป็นกองทุนรวมที่ระดมเงินทุนจากนักลงทุน เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานนำเงินที่ได้จากการจัดตั้งกองทุนรวมไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการพัฒนา และนักลงทุนเองก็จะได้รับผลตอบแทนกลับมาด้วย

ซึ่งการจัดตั้งนั้น จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) โดยการจัดตั้ง จะต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่เงินทุนโครงการไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทและเป็นกิจการ โครงสร้างพื้นฐานตามประเภทที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 12 ประเภท ดังนี้

  1. ระบบขนส่งทางรางหรือทางท่อ  
  2. ประปา
  3. ท่าอากาศยาน 
  4. โทรคมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  
  5. ระบบบริหารจัดการน้ำหรือการชลประทาน  
  6. ถนนและทางพิเศษ
  7. ท่าเรือน้ำลึก
  8. พลังงานทางเลือก
  9. ไฟฟ้า
  10. ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ
  11. ระบบกำจัดของเสีย
  12. กิจการโครงสร้างพื้นฐานหลายกิจการประกอบกัน

โดยกองทุนรวมจะลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานดังต่อไปนี้ (อาจจะได้รับรายได้หลายทาง หรือ ทางใดทางหนึ่ง)

  1. กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือสิทธิการเช่าในที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร อุปกรณ์
  2. สิทธิสัมปทาน
  3. สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต หรือสิทธิตามสัญญาแบ่งรายได้ในอนาคต
  4. สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ หรือสัญญาก่อสร้างหรือสัญญา
    ซื้อขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  5. หุ้นหรือตราสารหนี้ ของบริษัทที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

ก็ถือได้ว่ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีการลงทุนหลายรูปแบบเลยทีเดียวครับ แต่เราจะเลือก
กองทุนรวมอย่างไรดี มีหลักคิดอะไรกันในการเลือกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ? เดี๋ยวผมมีคำตอบให้ครับ

แนวคิดการลงทุนกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน

เตรียมเงิน เตรียมใจ เตรียมศึกษาข้อมูล

ก่อนลงทุน ให้เตรียมความพร้อม อันนี้ก็ง่ายๆ ครับ เงินที่นำมาลงทุนนั้นต้องเป็นเงินที่เหลือ หรือ นอกเหนือจากการใช้จ่าย และไม่ใช่เป็นเงินเก็บฉุกเฉิน แต่เงินก้อนที่เราจะลงทุนนั้นเป็นเงินเก็บที่ต้องการให้งอกเงย หรือเป็นเงินที่เรามีการวางแผนการลงทุนระยะยาวๆ ครับ เมื่อเงินพร้อม ใจพร้อม (พร้อมอยู่แล้ว) คราวนี้เรามาดูกันว่า ข้อมูลที่เราควรจะคำนึงถึงคืออะไรบ้าง

1. รู้จักทรัพย์สินที่จะลงทุน

เนื่องจาก กิจการโครงสร้างพื้นฐานมีอยู่หลายประเภท เช่น ไฟฟ้า ประปา รถไฟฟ้า ทางด่วน สนามบิน ฯลฯ แน่นอนว่า เมื่อกิจการแตกต่างกัน ความเสี่ยงก็ต้องต่างกันเพราะว่าที่มาของรายได้ไม่เหมือนกัน บางที่รายได้ผันผวน บางที่รายได้ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นเราก็ต้องทำความรู้จักกับโครงการที่เราจะลงทุนก่อน เพื่อให้เราเข้าใจในทรัพย์สินที่เราลงทุน และความเสี่ยงของธุรกิจประเภทนั้นๆ และตอบให้ได้ว่าประมาณการของอัตราผลตอบแทนเป็นที่พอใจหรือไม่

รวมถึงเข้าใจก่อนว่าในระยะยาวแล้วอัตราผลตอบแทนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นนักลงทุนควรพิจารณาโอกาสการเติบโตควบคู่กับระยะเวลาของการลงทุนด้วย

2. สภาพคล่องและขนาดของกองทุน

แน่นอนว่าถ้าเป็นกองทุนขนาดใหญ่ มีผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมฯ  มากก็มีแนวโน้มจะมีสภาพคล่องในการซื้อ-ขาย พอสมควร หลังจากกองทุนรวมฯ เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว เราจะมั่นใจได้ว่า ถ้าหากฉุกเฉินต้องใช้เงินที่เราลงทุนไป เราจะสามารถขายเพื่อที่จะนำเงินออกมาใช้ได้อย่างไม่ติดขัดนั่นเอง

3. โครงสร้างทางรายได้ และโครงการต่างๆได้ดำเนินงานแล้วหรือยัง

แน่นอนว่า เราต้องทราบถึงกิจการต่างๆ นั้นมีที่มาของรายได้อย่างไร มีค่าใช้จ่ายในส่วนไหน