สวัสดีครับผม... กลับมาอีกแล้วครับกับคอลัมน์ ภาษีธุรกิจ101 ประจำออมมันนี่ที่เก่าที่เดิม ส่วน TAXBugnoms เองก็มีหน้าที่เพิ่มเติมความรู้เรื่องนี้ให้กับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ฟรีเหมือนเช่นเคยครับ
สำหรับบทความในวันนี้เป็นกฎหมายใหม่ที่ออกมาได้สักพักหนึ่งแล้วครับ แต่ผมไม่ได้หยิบมาเขียนสักที เนื่องจากยังมีประเด็นหลายๆอย่างที่ยังข้องใจอยู่ครับ โดยล่าสุดผมได้พูดถึงไว้ในบทความ จะจดบริษัททั้งที จะทำยังไงให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด? (ตอนที่ 2) ไปแล้วครั้งหนึ่ง ว่า...
ข้อ 4 รายจ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน เป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน ต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก ทำให้ดีขึ้นของทรัพย์สินที่เกี่ยวกับกิจการ แต่ไม่ใช่การซ่อมแซมคงสภาพเดิม สำหรับสินทรัพย์ซึ่งได้แก่ เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ และอาคารถาวรต่างๆ โดยต้องไม่เคยผ่านการใช้งาน ต้องหักค่าเสื่อมราคาได้ และไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้านอื่นๆ ซึ่งต้องเกิดจากสัญญา ใบสั่งซื้อ ใบสั่งจ้าง ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 – 31 ธันวาคม 2559 ครับ
ในวันนี้... ผมจะมาอธิบายรายละเอียด และเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้ใน พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604) ว่าสำหรับเรื่องนี้ เรามีเงื่อนไขที่อะไรต้องดูกันบ้างครับ
หลักการใช้สิทธิ์ลงทุนเพื่อซื้อทรัพย์สิน
สำหรับเงื่อนไขการใช้สิทธิ์หักสินทรัพย์เป็นรายจ่ายได้ 2 เท่านั้น ต้องเป็นการลงทุน โดยการซื้อ เช่าซื้อ สร้าง ก่อสร้าง เป็นต้น หรือการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรครับ ซึ่งนิยามตรงนี้ผมอยากจะเน้นตรงคำว่า “ดีขึ้น” ซึ่งตีความได้ว่า “ดีกว่าเดิม” นั่นเองครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น เรามีการลงทุนโดยซื้อเครื่องจักรใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ดีขึ้นแบบนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินที่มีสิทธิ์นำมาหักเป็นรายจ่าย 2 เท่าได้แล้วล่ะครับ
ประเภทของสินทรัพย์ที่ใช้สิทธิ์
สำหรับประเภทของสินทรัพย์ที่ใช้สิทธินั้น จะประกอบไปด้วยรายการต่อไปนี้ครับ ดูๆแล้ว เป็นสินทรัพย์ที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่
- เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ยานพาหนะที่จดทะเบียนในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่มิใช่ได้มาเพื่อนำออกให้เช่า
- อาคารถาวร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย
ตรงนี้ผมอยากให้สังเกตสักนิดครับว่า การใช้สิทธิ์นี้ต้องเป็นการซื้อสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของเรา แต่มีเงื่อนไข คือ ต้อง “จ่ายไป” (แปลว่า “จ่ายเงิน” นัน่แหละครับ) มาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดครับ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีดังนี้ครับ
- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 604)
- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 622)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 266)
- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 270)
โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 4 ฉบับนี้จะกำหนดเงื่อนไขต่างๆไว้ดังนี้ครับ
1. เงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้งานของสินทรัพย์ สำหรับเรื่องแรกคือเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้งานของสินทรัพย์ครับ โดยกฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้ครับ
- สินทรัพย์นี้ต้องไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
- เป็นสินทรัพย์ที่สามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้ตามปกติ (ใครไม่เข้าใจเรื่องค่าเสื่อมราคาอ่านได้ที่บทความ คิดสักนิดดดดดด ก่อนจะซื้อทรัพย์สินมาใช้ในธุรกิจ (ตอนแรก)) โดยทรัพย์สินนั้นต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
- ยกเว้นแต่เครื่องจักรและอาคารถาวร ที่สามารถพร้อมใช้หลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สามารถใช้สิทธิได้ แต้ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขดังนี้
- ต้องขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารโดยยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ
- ต้องแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุม
อาคาร พ.ศ. 2522 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 หรือ - กรณีที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะต้องเกิดจากสัญญาจ้าง ใบสั่งจ้างหรือข้อตกลงในลักษณะทำนองเดียวกันทั้งสิ้นที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559
โดยการลงทุนนั้นต้องไม่รวมถึงการลงทุนในทรัพย์สินโดยการซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินนั้นมา
- สินทรัพย์ต้องอยู่ในราชอาณาจักร (ยกเว้นยานพาหนะ)
- ไม่เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือ กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษี การส่งเสริมการลงทุนต่างๆ
2. เงื่อนไขการคำนวณและการใช้เป็นรายจ่าย เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการคำนวณ และอธิบายการใช้ราâ