ถามตรงๆเถอะพี่! ผมควรซื้อ LTF เมื่อไร? กองไหน? และ ยังไงดี?
สวัสดีครับ เข้าสู่เดือนตุลาคมกันอีกแล้ว ปลายปีแบบนี้ คำถามที่เริ่มเข้ามาในเพจ TAXBugnoms นั้น เริ่มจะเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ LTF มากขึ้นแล้วล่ะครับ ตั้งแต่เรื่องนโยบายการลงทุนที่เปลี่ยนไป หรือกอง LTF ที่น่าสนใจ จังหวะในการซื้อ ไปจนถึงคำถามว่า LTF คืออะไร (แป่ววววว) วันนี้เลยถือโอกาสเขียนบทความมาตอบคำถามให้ฟังกันอีกครั้งครับ
ก่อนอื่น ผมขอสรุปเรื่องที่เปลี่ยนแปลงสั้นๆให้ฟังอีกครั้งนะครับว่า ในปีนี้เงื่อนไขการถือครอง LTF นั้นเปลี่ยนจาก 5 ปีปฎิทินเป็น 7 ปีปฎิทินสำหรับการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2562 นั่นแปลว่า LTF ที่ซื้อในปี 2559 นี้เราจะต้องถือไปจนถึงปี 2565 เลยครับผม
ทีนี้เรามาเริ่มกันที่คำถามยอดฮิตคำถามแรกเลยดีกว่าครับว่า “ซื้อเมื่อไรดี?” คำตอบสำหรับคำถามนี้คงต้องดูก่อนว่า “กระแสเงินสด” และ “สไตล์การลงทุน” ของเราเป็นแบบไหน เพราะบางคนบอกว่า ซื้อเฉลี่ยก็ดี แต่ที่ผ่านมาบางปี ซื้อวันสุดท้ายกลับได้ราคาที่ดีกว่า ดังนั้น ผมคิดว่าเราควรตอบได้ตั้งแต่วัตถุประสงค์การลงทุน (ที่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษี) ไปจนถึงการค้นหาสไตล์และกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้ก่อนครับ
ส่วนคำถามว่า “ซื้อกองไหน?” คำตอบคงต้องถามไปว่า แล้ววันนี้เรารู้จักกอง LTF กองไหนบ้างล่ะ กองที่ผ่านมาเราซื้อเพราะอะไร และมีนโยบายในการลงทุนแบบไหน อยากได้ปันผลหรือเปล่า ค่าธรรมเนียมเป็นอย่างไร และผลตอบแทนที่ผ่านมาสม่ำเสมอเพียงพอไหม ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราจะรู้ครับว่า เราควรซื้อกองทุน LTF กองไหน และกองที่เราซื้อมานั้นมันโอเคอยู่หรือเปล่า เพื่อใช้ในการปรับพอร์ทการลงทุน หรือสับเปลี่ยนกองทุน LTF เดิมไปยังกองใหม่ได้อีกต่างหาก
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างจากกองทุน “Top 10 LTF" จากบริการ TMB Open Architecture ซึ่งเป็น Platform ที่ทำให้สามารถเลือกซื้อกองทุนจาก 7 บลจ.ชั้นนำได้ในที่เดียว ซึ่งวันนี้ผมได้ทำกองทุนที่ทาง TMB แนะนำ 3 กองมาเปรียบเทียบให้ดูครับ ซึ่งได้แก่ กองทุนเปิด บรรษัทภิบาล หุ้นระยะยาว (CG-LTF), กองทุนเปิด แวลูพลัส ปันผล หุ้นระยะยาว (Value-D LTF) และ กองทุนเปิด แมนูไลฟ์ สเตร็งค์ คอร์ หุ้นระยะยาว (MS-CORE LTF) เอาล่ะครับ เรามาดูกันเลยดีกว่า
จากตารางข้างบน จะเห็นได้ว่ากองทุนแต่ละกองมีความแตกต่างกันครับ หน้าที่ของเรา คือ พิจารณาให้ดีว่าเราอยากได้การลงทุนแบบไหน เพราะการเลือกกองทุนที่ดีนั้น ทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นกำไรอีกต่อหนึ่งนอกเหนือจากสิทธิลดหย่อนทางภาษีที่เราได้รับอีกด้วยครับ
ตรงนี้มีเทคนิคเพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ โดยปกติแล้ว หลายๆคนมักจะเลือกซื้อกองทุนโดยดูที่ผลตอบแทนเป็นหลัก แต่มักลืมนำค่าธรรมเนียมมาพิจารณาด้วยครับ ซึ่งค่าธรรมเนียมยกมาเปรียบเทียบให้ดูในตารางนี้ เป็นค่าธรรมเนียมส่วนที่เรียกว่า "Total Expense Ratio" หรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายปี หลังจากที่เราได้ซื้อหน่วยลงทุนไปแล้ว นั่นคือถ้าหากเราเป็นผู้ถือหน่วยลงทุนถึงจะเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ครับ ซึ่งตัวเลขที่แตกต่างกันนั้นก็มีผลทำให้ผลตอบแทนของเราลดลงไปด้วยเหมือนกันนะครับ
ยกตัวอย่างจาก 3 กองข้างบนนี้ การลงทุนอาจจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักที่เราเลือกลงทุนไป ถ้าสมมติผมเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการได้รับเงินปันผลจากการลงทุนก็คงจะเลือกกอง Value-D LTF แต่ถ้าเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับค่าธรรมเนียมในการลงทุนที่ต่ำก็ต้องเลือก MS-CORE LTF หรือถ้าหากสนใจแต่ผลตอบแทนที่ผ่านมาเป็นหลัก กองทุน CG-LTF ก็อาจจะเป็นคำตอบครับ
หรือจะจะลองลงลึกไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องหุ้นใหญ่ๆ ที่แต่ละกองทุนนั้นได้ลงทุนจากหนังสือชี้ชวน เราก็จะเห็นถึงความแตกต่างกันตามนี้ครับ
CG-LTF
Value-D LTF
MS-CORE LTF
ตรงนี้เราต้องไปดูกันต่อครับว่า กองทุนที่เราสนใจลงทุนในหุ้นตัวไหน กลุ่มหลักทรัพย์อะไรบ้าง ซึ่งตรงนี้จริงๆแล้วจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอครับ อย่าลืมตรวจสอบให้ดีด้วยครับ
ดังนั้น ถ้าใครมีคำถามที่ว่า “ซื้อกอง LTF กองไหนดี?”
ผมขอตอบแบบตรงๆเลยครับว่า กอง LTF ที่เราเข้าใจมันครับ!
และคำถามสุดท้ายที่ชอบถามกันบ่อยๆ คือ “ซื้อที่ไหนดี” คำตอบคือ ซื้อที่ๆ เค้าขายครับ (แป่ววว) ไม่ว่าจะเป็น บลจ.ต่างๆ ธนาคารทั้งหลาย ถูกใจแบบไหน สะดวกยังไง เลือกได้ตามอัธยาศัยเลยครับ แต่ถ้าหากใครไม่ค่อยมีเวลา อยากไปที่เดียวแล้วเลือกซื้อได้หลายๆ กอง หรือสนใจ 3 กองทุนจาก “Top 10 LTF” ที่ผมว่ามานี้ ก็สามารถหาซื้อได้ที่ธนาคาร TMB ซึ่งมีถึง 450 สาขาทั่วประเทศครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://goo.gl/0otNWY
บทความนี้เป็น Advertorial