กระแส Brexit เริ่มกลับมาร้อนแรง หลังข้อเสนอล่าสุดของ นายกฯ เทเรซา เมย์ ถูกคัดค้าน จากการโหวตของสภาสามัญชนต่อข้อตกลงการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ด้วยมติ 432 : 202 โหวต = ล้มข้อตกลง Brexit เดิม แล้ว UK อาจต้องไปต่อโดยไม่ได้เป็นสมาชิก EU หรือ ขอกลับเข้าไปเป็นสมาชิกอีกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจากับ EU ครั้งใหม่
ก่อนอื่นต้องขอไล่เรียง Brexit Timeline
- พ.ค. 2015 พรรค Conservative นำโดยนายก เดวิด คาเมรอน ชนะเลือกตั้งโดยสัญญาว่าจะจัด Referendum ว่าจะออกจาก EU หรือไม่?
??
- มิ.ย. 2016 จัด Referendum โดยผลคือ เสียงข้างมากที่ 51.9% เห็นว่าให้ถอนตัวจากกลุ่ม EU นายกคาเมรอน ลาออก จากนั้น เทเรซา เมย์ เป็นนายกคนใหม่ ต้องแบกรับภาระการแยกตัวออกจากยุโรปให้เป็นไปอย่างราบรื่น
??
- 29 มี.ค. 2017 นายกเมย์ ดำเนินการตาม Article 50 คือ แจ้งต่อคณะมนตรียุโรปซึ่งความจำนงของรัฐสมาชิกในการออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ โดยจะออกจาก EU ภายในเวลา 2 ปี (ตามหลัก UK ต้องออกจาก EU ในวันที่ 29 มี.ค. 2019)
??
- มิ.ย. 2017 นายกเมย์จัดเลือกตั้งใหม่ เพื่อจะให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงข้างมากเพิ่ม แต่ผลออกมากลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย
??
- ก.ย. 2018 รัฐบาลตีพิมพ์ดีลของเมย์ที่ไปเจรจากับ EU ไว้ โดยยังคงความสัมพันธ์เศรษฐกิจและศุลกากรไว้ แต่ให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีสิ้นสุดลง (สาระสำคัญมีอยู่ 3 เรื่อง คือ อังกฤษยังต้องจ่ายเงินให้ EU ราวๆ 39 พันล้านปอนด์ สำหรับการถอนตัว, เรื่องสิทธิของคนอังกฤษที่อยู่ใน EU กับสิทธิพลเมืองของ EU ในอังกฤษ, วิธีการที่จะหลีกเลี่ยงการมีด่านตรวจพรมแดน ระหว่างไอร์แลนด์เหนือ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ UK กับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่เป็นสมาชิก EU) รมต.หลายคนไม่เห็นด้วยและลาออก
??
- ธ.ค. 2018 สภาสามัญชนของอังกฤษลงมติว่า จะรับข้อตกลงการถอนตัว ที่เรียกว่า Withdrawal Agreement หรือไม่ ผลคือล้มข้อตกลง Brexit เดิม ด้วยมติ 432 : 202 โหวต
??
- 15 ม.ค. 2019 นายกเมย์ ยังชนะการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงในสภา 325 : 306 ยังคงเป็นนายกฯ ต่อไป
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ 15 ม.ค. 2019 ให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกเมย์ ผลคือนายกเมย์ชนะ ด้วยคะแนนเสียงฉิวเฉียด 325 : 306 ยังคงเป็นนายกฯ อังกฤษต่อไป แต่รัฐบาลต้องเผชิญสถานการณ์ Brexit ต่อไป โดยต้องไปทำ Plan B เพื่อนำมาเสนอสภาอีกครั้ง
แนวคิดทางออกเรื่อง Brexit ของ UK มี 3 แบบ คือ
1. Hard Brexit หรือ No Deal Brexit
คือ UK ออกจาก EU อย่างเต็มรูปแบบ เด็ดขาดและทันที ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดนโยบายการอพยพเข้าเมือง รวมทั้งเจรจาข้อตกลงการค้าได้เอง แนวคิดนี้จะมีผลเสียต่อเศรษฐกิจมาก ส่งผลต่อการนำเข้า-ส่งออกอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นแนวทางเป็นไปได้มากสุดที่จะเกิดขึ้น เพราะถ้ายังหาทางออกอื่นไม่ได้ก่อนวันที่ 29 มีนาคมนี้ จะเกิด No Deal Brexit ขึ้นตาม Article 50 ที่รัฐบาลได้ยื่นต่อ EU แน่นอน
2. Soft Brexit
คือ UK ออกจาก EU ในทางการเมือง แต่ยังคงอยู่ในเขตเศรษฐกิจยุโรป (Trade Union) มีผลกระทบทางเศรษฐกิจกับสหราชอาณาจักรค่อนข้างน้อย เพราะสหราชอาณาจักรจะยังคงอยู่ในเขตการค้าเหมือนเดิม ทั้งคนและสินค้าก็ยังคง Free movement อยู่
โดยนายกเมย์จะต้องไปขอเจรจาเงื่อนไขกับ EU อีกรอบ เพื่อจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่ แม้ว่าก่อนหน้านี้รัฐบาลอังกฤษและ EU จะยืนกรานว่าข้อตกลง Brexit ฉบับนี้ดีที่สุดสำหรับสองฝ่ายแล้วก็ตาม
3. 2nd Referendum
ยังมีแนวคิดว่า UK ควรอยู่ EU ต่อเหมือนเดิม แต่การในรอบแรกที่ผลออกมาว่าให้ออก (ชนะด้วยคะแนนเสียง 52% ต่อ 48%) เพราะคนยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่รู้ว่าการออกจาก EU จะมีผลต่อเศรษฐกิจ
ทาง EU สนับสนุนให้ UKจัดการลงประชามติครั้งที่ 2 แต่ก็เป็นทางที่เป็นไปได้น้อยมาก เพราะนายกเมย์เองไม่เห็นด้วย ถ้ามีการโหวตรอบ 2 ถือว่าไม่เคารพผลการโหวตรอบแรก (หรือถ้ามีเกิดขึ้นจริง น่าจะเป็นประเด็นว่าแนวทาง Brexit จะเป็นไปในทางไหนมากกว่า)
ทิศทางสถานการณ์เศรษฐกิจต่อจากนี้?
ผลทางอ้อมที่เกิดตอนนี้คือความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนโดยค่าเงินทั่วโลกรวมทั้งเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น การค้าในระยะสั้นและการส่งออกของไทยอาจได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อของชาว UK และ EU ที่ลดลง เพราะเงินปอนด์มีแนวโน้มอ่อนค่ามากกว่าเงินยูโร
ซึ่งมีผลดีคือค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าอาจจะทำให้นักลงทุนสนใจเข้าไปลงทุนใน UK มากขึ้น เพราะได้เปรียบเมื่อแลกเปลี่ยนค่าเงินเวลาแลกกลับมาเป็นปอนด์จึงเหมือนได้เงินมากขึ้น
แต่ไม่ได้มีผลต่อการลงทุนนักลงทุนระยะยาว เพราะการเมืองไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการจัดพอร์ตการลงทุนมากนัก คือสามารถคาดคะเนสถานการณ์และนำมาปรับการจัดการการลงทุนแต่ก็ไม่ควรเก็งกำไรจากสถานการณ์นั้นมากเกินไป
และถ้าหากเกิด EU แบบ No Deal Brexit ไทยเองก็มีโอกาสทำ FTA กับ UK โดยตรง ส่วน UK เองต้องเตรียมรับมือการเจรจา Trade deal ใหม่ ภายใต้กฎของ WTO โดย เฉพาะเรื่องกำแพงภาษีที่จะเกิดขึ้น เพราะสิทธิด้านศุลกากรของ UK ฐานะสมาชิก EU จะสิ้นสุดลงด้วยเช่นกัน รวมถึงปัญหาชายแดนไอร์แลนด์จะกลับมา ต้องติดตามว่า Plan B ของนายกเมย์ จะมีข้อตกลงก่อนที่จะมีการแยกตัวอย่างไร? เพื่อที่จะลดความเสียหายทางการเมืองและเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด
อีก 66 วัน ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือถ้ารัฐสภาอังกฤษยังไม่อนุมัติรับรองข้อตกลงการถอนตัวฉบับใหม่ UK จะออกจาก EU แบบ No Deal Brexit ตามกำหนดในวันที่ 29 มีนาคม
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก
https://www.bbc.com/news/politics/uk_leaves_the_eu
ขอบคุณภาพจาก
ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก #aomMONEY ทุกช่องทาง
Line@ : @aommoney