ถ้าหากใครเคยฟังพรี่หนอมบรรยายเรื่องการวางแผนภาษี น่าจะเคยได้ยินเทคนิคหนึ่งที่แชร์ให้ฟังกันอยู่บ่อยๆ นั่นคือการซื้อ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เก็บไว้ให้ลูก #อะไรนะ
เหตุผลที่ผมเลือกแบบนี้ เพราะว่าตอนนี้ผมอายุ 35 ปี (ลูกอายุ 1 ขวบ) เมื่อครบกำหนดและขายได้ตามที่กฎหมายกำหนดตอนผมมีอายุครบ 55 ปี ลูกของผมจะมีอายุครบ 21 ปีพอดี ซึ่งเป็นวัยที่เขาน่าจะใกล้เรียนจบ และไปเริ่มต้นมีชีวิตของตัวเอง และผมมองว่าจำนวนเงินก้อนนี้ก็น่าจะช่วยให้ชีวิตเขาสบายขึ้น
เป้าหมายนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ภรรยาของผมได้เบ่งเจ้าตัวน้อยออกมา ผมจึงตัดสินใจวางแผนเงินส่วนนี้แยกออกมาจากพอร์ตเกษียณหลักของตัวเอง
ทุกครั้งที่เล่าเรื่องนี้ ผมมักจะอธิบายเหตุผลว่า ทำไมถึงคิดแบบนี้? พอลองคิดย้อนกลับไป ผมนั่งไล่ออกมาเป็น เหตุผล 3 ข้อ เพื่อให้ตอบคำถามเป้าหมายที่ผมต้องการ นั่นคือ
1. เก็บเงินไว้สำหรับเป้าหมายในอนาคต
ผมต้องการเก็บเงินให้ลูกใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งแปลว่าด้วยระยะเวลาผมสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงได้มากขึ้น เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ในจำนวนเงินที่ไม่ต้องมากนัก
2. เป้าหมายนี้สำคัญและจำเป็นต้องมีวินัย
ดังนั้นการใช้ RMFเป็นตัวบังคับให้มีวินัยในการลงทุนตามเงื่อนไขของกฎหมาย จึงเป็นตัวกำหนดให้ผมต้องทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญ เงินก้อนนี้จะไม่สามารถนำออกมาใช้ได้จนผมอายุ 55 ปี นั่นแปลว่าผมไม่มีทางทำลายเป้าหมายของลูกได้ด้วยมือของตัวเอง
3. ผลประโยชน์ที่ได้รับระหว่างทาง
นอกจากผลตอบแทนที่ได้รับเพื่อให้เงินไปได้ถึงเป้าหมายแล้ว ผมยังได้รับ สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของตัวเองด้วย และในอนาคตยิ่งผมอายุมากขึ้น ย่อมมีรายได้ที่มากขึ้น การซื้อ RMF จะยิ่งช่วยลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นไปด้วย ตรงนี้ถือเป็นประโยชน์แฝงที่ผมได้รับมาฟรีๆ โดยที่ไม่กระทบต่อเป้าหมายที่ผมต้องการ
เวลาผ่านไป 1 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ทการลงทุนนี้อยู่ที่ 13.96% (ไม่รวมประโยชน์จากการลดหย่อนภาษี) สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นที่น่าจะพอใจ ซึ่งผมวางแผนจะทยอยสะสมแบบนี้ไปให้เขาเรื่อยๆ ตามแผนที่วางไว้
ถ้าให้สรุปว่า ทำไมผมถึงเลือกเอาอนาคตของลูกมาผูกไว้กับ RMF คำตอบคงเป็น เพราะว่าทางที่ผมเลือกเพื่ออนาคตนั้นมันมีแต่ประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับ ผมได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี ลูกได้รับเงินตามเป้าหมายที่ผมวางไว้ (แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนต่อจากนี้ ซึ่งผมเองก็ต้องคอยพัฒนาให้ดีขึ้น)
ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากจะฝากไว้เมื่อพูดถึงเรื่องของอนาคต สิ่งแรกที่คุณต้องถามตัวเองจริงๆคือ เป้าหมายนั้นคืออะไร และคำถามต่อมาคือ คุณมั่นใจที่จะทำตามเป้าหมายนั้นได้หรือเปล่า
ส่วนคำตอบที่ได้รับโดยที่ไม่ต้องถามเพิ่มนั้น ผมมองว่ามันเป็นความสุขระหว่างทางในการทำตามเป้าหมาย เพราะถ้าเป้าหมายคุณชัด และความพยายามของคุณนั้นหนักหนาพอ