ผมได้มีโอกาสไปเดินเล่นที่งานแสดงสินค้าแฟรนไชส์ในอิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2557 แล้วก็พบธุรกิจเล็กธุรกิจน้อยที่มาออกงานเต็มไปหมด ตอนแรกๆเดินๆแอบสงสัยจริงๆ ทำไมถึงมีแต่แฟร์ไชส์เกี่ยวกับ “กาแฟ” มาออกงานเยอะแยะเต็มไปหมดเลยนะ แต่ไม่เป็นไรผมเลยเดินๆเล่นๆพรางตัวแอบคุยกับเจ้าของธุรกิจและเจ้าหน้าที่ที่มาออกบูธไปเรื่อยๆ ข้อสังเกตที่ผมเจอในส่วนของการให้บริการของเจ้าของแฟรนไชส์มีดังนี้
1. ขายแค่ตัวธุรกิจแฟรนไชส์
เจ้าของธุรกิจต้องการหาผู้ที่สนใจมาซื้อแฟรนไชส์ของเขาโดยที่เขาจะช่วยในการขายอุปกรณ์จัดตั้งหรืออาจจะมีการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการขายให้กับผู้ที่สนใจ เรื่องอื่นๆผู้ลงทุนต้องไปจัดการเอง ไม่ว่าจะเป็นการหาพื้นที่เช่าร้าน การอบรมพนักงาน การจัดการบริหารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ
2. ทำแบบครบวงจรเสมือนเป็นเพื่อนนักลงทุนแฟรนไชส์
วิธีการนี้เป็นแนวทางที่ยอดเยี่ยมและมีบางเจ้าเท่านั้นที่ลงลึกถึง Detail ในการหาเพื่อนนักลงทุนแฟรนไชส์เพื่อที่จะก้าวร่วมหัวจมท้ายกับแบรนด์ไปด้วยกัน ผมว่าคนรุ่นใหม่หลายๆคนอยากจะทำธุรกิจนะ แต่ไม่ได้มีความรู้มากและการเตรียมตัวให้ตัวเองเข้าใจขั้นตอนต่างๆมันยากมาก แต่ถ้าหากธุรกิจไหนที่พร้อมจะช่วยเหลือในเรื่องต่างๆที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงให้กับนักลงทุนแล้วล่ะก็ผมว่ามันจะทำให้เกิดการขยายธุรกิจได้มากขึ้นครับ
หากเพื่อนๆไม่มีประสบการณ์ในการลงทุน คิดว่าผู้ขายแฟรนไชส์ประเภทไหนที่เราชอบที่จะคุยด้วยครับ? ถ้าเป็นผมนะ ผมเป็นคนรุ่นใหม่ใจร้อน อยากรีบทำอะไรเร็วๆมีคนช่วยสอนก็ดีจะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูกเอง
และแล้วผมก็เจอธุรกิจอันหนึ่งที่เรียบง่ายและดูน่ารักนั่นก็คือ “ร้านขายชานมไข่มุกใต้หวัน”
ชานม...
ชานมไข่มุก....
ชานมไข่มุกไต้หวัน....
ทำไมต้องไต้หวันนะ? จริงๆแล้วประเทศไต้หวันนี่เป็นต้นตำหรับของชานมไข่มุกเลยครับ มีมาตั้งแต่สมัยช่วงปี 1980 ทางตอนกลางของเกาะใต้หวัน จะมีการใส่พวกไข่มุกที่ทำมาจากผลไม้และใส่น้ำเชื่อมลงไปในชา ก็ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในสมัยนั้น นอกจากที่เขาเรียกชานมไข่มุกแล้ว ยังมีอีกชื่อเรียกว่า “ชานมโต” ซึ่งเป็นคำสแลงของเขา ผมไม่ได้ทะลึงนะ 555 สำหรับเมืองไทยผมเห็นชานมไข่มุกเข้ามาซักพักหนึ่งแล้ว แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปบ้างเมื่อมีร้านบ้านๆเปิดขาย ก็ใช้ไข่มุกลงไปในกาแฟบ้าง น้ำช็อกโกแล็ตบ้าง จนกระทั่งในช่วงหลังๆนี้ก็มีการเข้ามาของชานมแท้ๆต้นตำหรับจากใต้หวันอยู่หลายเจ้าเลย ในส่วน Brand ที่ผมไปพบชื่อ Drink Up
สินค้าแฟรนไชส์ของ Drink Up มีไลน์ผลิตภัณฑ์อยู่ 5 อย่างได้แก่ ชานม ชาเขียว ชาดำ ช็อกโกแล็ต นมเปรี้ยว บนร้านที่สร้างแบรนด์สีสรรสวยงามมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กให้กับผู้ที่สนใจลงทุนได้พิจารณาลงทุนตามความเหมาะสม เช่น ประมาณ 5.5 แสนบาทสำหรับร้านขนาดเล็ก และ ประมาณ 1.1 ล้านบาทสำหรับร้านขนาดใหญ่ แต่สิ่งที่ผมมองว่าเป็นจุดเด่นของแฟรนไชส์เจ้านี้คือมีการให้ Service ที่ดี และน้อยเจ้ามากที่จะลงมาช่วยนักลงทุนขนาดนี้
การสำรวจพื้นที่
โดยปกติแล้วผู้ขายแฟรนไชส์ทั่วไปมักจะขายแค่ตัวแฟรนไชส์ให้โดยที่การหาพื้นที่ทำธุรกิจของเราเอง มาช่วยสำรวจไหมก็อยู่ที่แต่ละเจ้า ส่วนจะขายได้หรือไม่ได้อย่างไรก็ต้องดูตามเนื้อหาของธุรกิจที่ตกลงกัน แต่สำหรับบริษัทนี้หากเรามีหน้าร้านอยู่แล้วเขาก็จะมาช่วยสำรวจพื้นที่ว่าน่าสนใจลงทุนหรือเปล่าเพราะผมว่าทางร้านก็คงไม่อยากให้คนซื้อแฟรนไชส์เจ๊งแต่ควรจะเติบโตไปด้วยกัน แต่ถ้าหากไม่มีพื้นที่เราก็กำหนดสถานที่และงบประมาณในใจเอาไว้ ซึ่งทางบริษัทเขาจะมีเอเจนซี่ที่รู้จักในการหาพื้นที่มาช่วยหาสถานที่ให้นักลงทุน
การฝึกอบรมพนักงาน
ผมเชื่อว่าหลายๆคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวนั้น บางคนก็ไม่ได้อยากมาเปิดร้านเองแล้วนั่งทำเองหรอก บางทีเราก็อาจจะยังอยากทำงานประจำ อยากทำธุรกิจหลายๆอย่าง หรือไหนๆลงทุนแล้วก็อยากได้รับ Passive Income โดยที่เข้าร้านบ้างแต่ไม่ต้องเต็มเวลา ก็ใช้วิธีการจ้างพนักงานมาช่วยร้านซัก 1-2 คนดีกว่า ก่อนหน้าที่เราจะไปถึงเรื่องการฝึกอบรมพนักงานว่าจะหาได้จากไหน ถ้าไปถามแฟรนไชส์โดยด้วยไปเขาก็จะให้เป็นความรับผิดชอบของเราเอง แต่ทางนี้เขาสามารถแนะนำให้เราไปแหล่งหางานที่เขาพอจะรู้จักได้ และเมื่อได้พูดคุยกับพนักงานเป้าหมายที่เราจะจ้างมาช่วยงานที่ร้าน ทางบริษัทยังช่วยจัดอบรมพนักงานและผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ให้รู้จักระบบต่างๆในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์
การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน
จุดนี้เป็นจุดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ร้านนี้แตกต่างจากหลายๆร้าน อย่างที่ผมเล่าให้ฟังว่า ปกติแล้วเราอาจจะไม่ได้เฝ้าร้านตลอดเวลา การที่เราไม่มีระบบควบคุมการทำงานที่ดีอาจจะทำให้เกิดช่องว่างในการทุจริตได้ ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเงินรายได้ของคุณอาจจะหายไปโดยไม่รู้ตัวและกว่าจะจับได้พนักงานก็สามารถผ่อนบ้านผ่อนรถได้แล้ว การใช้ระบบควบคุมประสิทธิภาพผ่านคอมพิวเตอร์จะทำให้พนักงานต้องเดินตามระบบที่วางไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระแสเงินสดที่ได้รับมา สต็อกสินค้าที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า การจัดการดำเนินไปอย่างราบรื่นหรือไม่และหากพบความผิดปกติก็สามารถตรวจสอบได้ทันที
ก่อนจบเนื้อหาในตอนนี้ผมเองก็อยากจะบอกให้กับทุกท่านได้ทราบว่า บางครั้งเราเห็นแฟรนไชส์เต็มไปหมดแต่ไม่รู้ว่าจะเลือกพันธมิตรธุรกิจอย่างไรดี ขั้นตอนง่ายๆที่เราอาจจะพอทำได้ก็คือ การเขียนจุดเด่นจุดด้อยในบริการของแฟรนไชส์แต่ละแห่งแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ไล่เรียงกันมาเลยครับตั้งแต่ขั้นตอนการหาพื้นที่ การจัดตั้งร้าน การจัดการฝึกอบรม การสั่งซื้อของ ระบบที่สำคัญต่างๆ และอาจจะหาโอกาสเข้าไปคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์ ดูข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมงานที่เคยลงทã