จากแรงบรรดาลใจที่เห็น บล็อกของอภินิหารเงินออมที่พูดถึงการลงทุนในเมียนมาร์ทำให้ผมอยากเล่าเรื่องของประเทศนี้บ้าง  ในช่วงนี้ประเทศเพื่อนบ้านเราที่เรารู้จักกันในนามพม่า หรือชื่ออย่างเป็นทางการเราต้องเรียกใหม่แล้วว่าประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่เนื้อหอมสุดๆ มีหลายๆชาติพยายามเข้ามาเปิดประตูธุรกิจหลังจากที่ห่างหายเป็นนานหลายทศวรรต หลายท่านก็คงมีคำถามว่าทำไมประเทศนี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรเพราะเรารู้จักแค่ในหนังสือเรียนที่จะคอยมารุกรานอยุธยาอยู่นั่นล่ะ ปัจจุบันเมียนมาร์เป็นอย่างไรและหากเราสนใจจะไปลงทุนแล้วควรจะมองหาธุรกิจแบบไหน?

 

ประวัติศาสตร์เมียนมาร์โดยสังเขป

เมียนมาร์มีประวัติอันยาวนานมากๆๆๆๆ ไม่ต่างจากอาณาจักรเขมรเลย ดินแดนนี้ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าพันธุ์ ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ของเขาจะพบว่า เดี๋ยวก็มีการรวมชาติ เดี๋ยวก็มีการแยกตัว หลังจากที่ดินแดนนี้ถูกโจมตีโดยอาณาจักรมองโกลทางตอนบนก็มีความพยายามที่จะรวมดินแดนต่างๆ รวมถึงชนกลุ่มน้อยให้เป็นปึกแผ่นและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ที่คนไทยรู้จักกันดีจากภาพยนต์เรื่องสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และก็ยิ่งใหญ่ขึ้นมาอีกในสมัยพระเจ้าบุเรงนองที่มีผู้ขนานนามว่าผู้ชนะสิบทิศ แต่การเมืองของเมียนมาร์ก็ผลัดแผนดินไปบ้างมีราชวงศ์สถาปนาใหม่ขึ้นมาบ้างและราชวงศ์สุดท้ายก็คือ ราชวงศ์อลองพญา ที่ยกทัพมาในสมัยสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 หลังจากนั้นไม่นานประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ต้องพบกับการเข้ามาของการล่าอาณานิคมจากทางตะวันตก และได้พ่ายแพ้ให้กับประเทศอังกฤษจนราชวงศ์พม่าล่มสลายไป

อังกฤษปกครองพม่าโดยผนวกดินแดนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย โดยมีเมืองกัลกาต้าเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลอังกฤษในเอเชีย และได้มีการสร้างระบบต่างๆในพม่าให้เป็นแบบอังกฤษ โดยมีกรุงย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางทางธุรกิจ ความเจริญของเมืองย่างกุ้งในสมัยนั้นนับว่าเป็นอันดับต้นๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รากฐานทางการศึกษาของเมียนมาร์ก็เป็นแบบอังกฤษ การคมนาคมก็คล้ายๆอังกฤษหากใครเคยไปย่างกุ้งจะเห็นได้ว่ามีรถไฟรอบเมืองไม่ต่างกรุงลอนดอนเลย และในท้ายสุดอังกฤษก็ต้องถอนตัวออกจากเมียนมาร์ไปจากการเรียกร้องเอกราชที่นำโดย นายพลออง ซาน บิดาของนางอองซาน ซูจี สตรีที่ใครๆก็รู้จักในเมียนมาร์

ประเทศกลับเข้าสู่วังวนและกลายเป็นประเทศที่ไม่มีใครเข้าถึงอีกครั้งหลังจากการยึดอำนาจของนายพลเนวิน (ไม่ใช่คุณเนวินที่อยู่บุรีรัมย์นะครับ) เมียนมาร์ปิดประเทศและมีความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยที่ต้องการได้รับเอกราช และมีการคว่ำบาตรกับธุรกิจเมียนมาร์โดยชาติตะวันตกอยู่ตลอดมาจนกระทั่งในช่วงทศวรรตที่ 2010 เป็นต้นมา เมียนมาร์ได้เริ่มมีการเปิดประเทศมากยิ่งขึ้นและเริ่มมีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไป ไม่ว่าจะเป็น ไทย สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งจะเป็นนิมิตรใหม่ของเศรษฐกิจของประเทศนี้ที่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งในอนาคต

 

ทำธุรกิจอะไรในประเทศเมียนมาร์ดี?

นี่เป็นคำถามที่นักธุรกิจและผู้ที่สนใจลงทุนทำธุรกิจในเมียนมาร์ตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลา ต้องอย่าลืมว่าปประเทศนี้มีจุดได้เปรียบหลายๆอย่างคือ มีจุดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่เชื่อมระหว่าง อินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมกันแล้วประชากรมากกว่าครึ่งโลกได้ การเข้าไปตั้งฐานการผลิตเพื่อส่งต่อไปค้าขายในประเทศขนาดใหญ่นั้นเมียนมาร์ถือว่าเป็นจุดที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้การที่จะก้าวไปสู่จุดนั้นอาจจะต้องใช้เวลามากระดับหนึ่งในการสร้างพื้นฐานของระบบสาธารณูประโภคของประเทศ โดยในจุดเริ่มต้นของการลงทุนในเมียนมาร์อาจจะเน้นไปในลักษณะของธุรกิจที่ไทยมีจุดได้เปรียบมากกว่าประเทศอื่นๆดังนี้

 

1. ธุรกิจท่องเที่ยว 

หากเรามองโอกาสและความพร้อมแล้ว ประเทศไทยสามารถวางตำแหน่งเป็น Asian Springboard ได้เป็นอย่างดี การเดินทางมาท่องเที่ยวในสหภาพเมียนมาร์ยังถูกจำกัดด้วยความพร้อม การเดินทางด้วยเที่ยวบินขนาดใหญ่จากยุโรปหรืออเมริกายังต้องใช้สนามบินในประเทศไทยเป็นที่รองรับเพื่อที่จะเข้าไปสู่ประเทศในอาเซียนอื่นๆ ผู้ประกอบการไทยที่มีความเชียวชาญจึงสามารถใช้พื้นที่ของประเทศไทยเป็นฐานการดำเนินงานร่วมกับ Partner ทางธุรกิจในประเทศเมียนมาร์ ในการให่้บริการท่องเที่ยวร่วมกัน นอกจากนี้เรายังสามารถใช้แนวความคิด Asian Springboard ไปทำต่อยอดธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชาและประเทศลาวได้เช่นกัน ความได้เปรียบดังกล่าวนี้ไทยมีความพร้อมมากที่สุดเนื่องจากวัฒนธรรมมีความใกล้เคียงกัน นับถือศาสนาพุทธเหมือนกันทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร ความเข้าใจและสามารถแนะนำนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศในภูมิภาคอื่นได้อย่างไม่ยาก แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมียนมาร์มีอยู่ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็น ย่างกุ้ง มันฑเลย์ พระโค (หรือหงสาวดี ที่พระนเรศวรเคยไปอยู่)

 

2. ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร

โรงแรมและร้านอาหาร จากเดิมที่ประเทศเมียนมาร์ไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพราะถูกปัญหาการ Sanction จากประเทศทางตะวันตก ทำให้การพัฒนาด้านการสร้างโรงแรมรองรับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประเทศเปิดเสรีมากยิ่งขึ้นก็ทำให้ความต้องการในการเดินทางเข้ามามีสูงขึ้น ความต้องการด้านที่พักก็ยิ่งมีความต้องการมากขึ้นเช่นเดียวกัน

อาหารไทยนั้นมีความใกล้เคียงอาหารเมียนมาร์ และรสชาติไม่ได้ต่างกันกันมาก ตัวอย่างอาหารประจำชาติของเมียนมาร์ที่ทุกคนรู้จักดีคือ โมฮิงกา มันก็ขนมจีนน้ำยาในแบบฉบับของเขา และแน่นอนว่าชาวเมียนมาร์จำนวนมากได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยและได้สัมผัสอาหารไทยที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า เมื่อเรานำธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงไปเปิดก็สามารถทำตลาดได้ไม่ยาก เพียงแค่บอกชื่อร้านก็อาจจะทำให้ชาวเมียนมาร์ร้อง "อ๊อ... รู้จัก"

 

3. ธุรกิจก่อสร้

Related Story