ถ้าลองสังเกตนโยบายของภาครัฐในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นว่ามีนโยบายที่เกี่ยวกับภาษีสำหรับธุรกิจ SMEs มากขึ้นเป็นพิเศษ
ตั้งแต่นโยบายเปลี่ยนให้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล โดยมีการจูงใจด้านรายจ่ายที่ช่วยให้หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เช่น ค่าจดทะเบียนบริษัท ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี หรือแม้แต่การกระตุ้นให้ธุรกิจมีการลงทุนโดยให้หักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้สูงถึง 1.5-2 เท่า
นอกจากนั้น ยังมีกระตุ้นให้ใช้เทคโนโลยีต่างๆตามนโยบาย National E-Payment ตั้งแต่เรื่องพร้อมเพย์ เครื่อง EDC (เครื่องรับบัตร) ที่ยังให้สิทธิประโยชน์จูงใจด้านภาษีเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับธนาคาร ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องรูดบัตรก็สามารถเป็นรายจ่ายของธุรกิจได้ถึง 2 เท่า
นโยบายต่างๆที่ว่านี้ พรี่หนอมมองว่า "เป็นเรื่องที่ดีสำหรับธุรกิจครับ เพราะสิทธิประโยชน์พวกนี้ถือเป็นตัวช่วยในการแบ่งเบาภาระภาษีลงไป"
เพียงแต่ธุรกิจควรที่ตั้งคำถามถัดไปว่า "นอกจากเรื่องของการประหยัดภาษีแล้ว เราจะหาหนทางสร้างกำไรให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร?"
ไม่ผิดที่ธุรกิจส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญของการประหยัดภาษีเพราะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย แต่ธุรกิจนั้นไม่ได้มีค่าใช้จ่ายด้านภาษีเพียงแค่ตัวเดียว ซึ่งค่าใช้จ่ายตัวอื่นๆนั้นอาจจะสำคัญไม่แพ้กับเรื่องภาษี ไปจนถึงต้นทุนทางด้านเวลาที่ไม่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่นเดียวกันกับเรื่องของการเพิ่มรายได้ ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้กำไรของธุรกิจเพิ่มเช่นเดียวกันครับ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พรี่หนอมพบว่าการสร้างกำไรเพิ่มขึ้นจากวิธีการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้นั้นจริงๆมันก่อให้เกิดปัญหาอีกหลายอย่างตามมาครับ เช่น...
เห็นไหมครับว่า ในแง่ของตัวธุรกิจเองนั้นไม่ใช่การลองผิดลองถูก และไม่มีสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจ เพราะว่ามันมีปัจจัยหลายอย่างมากๆ โดยเฉพาะธุรกิจในกลุ่ม SME นั้นถือว่าเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากมายหลายด้านมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ด้วยขนาดที่ใครๆก็สามารถเข้ามาทำได้ คู่แข่งที่มีอยู่ในท้องตลาด ไปจนถึงการจัดการด้านต่างๆที่ลำบากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ครับ
โดยประเด็นเหล่านี้พรี่หนอมได้มาจากการพูดคุยกับทางผู้บริหาร TMB และเข้าร่วมงาน SME New Experience: Get MORE with TMB เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมาครับ
โดยงานนี้เป็นอีกหนึ่งงานที่ทาง TMB ตั้งใจจัดขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าธนาคารมองเห็นว่าเจ้าของธุรกิจ SME นั้นควรจะได้อะไรที่ “มากกว่า” นอกเหนือจากการทำธุรกิจในปัจจุบันและมุ่งหวังทางด้านประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ
จากการค้นคว้าวิจัยสอบถามกับทาง SME ส่วนใหญ่ ทำให้ทาง TMB ได้รับคำตอบมาว่า "จุดเจ็บปวด (Pain Point) จริงๆ ของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่ใช่แค่เรื่องของการหาสินเชื่อเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทำให้ทาง TMB มองว่านอกจากนอกเหนือจากเรื่องการสนับสนุนสินเชื่อ ธนาคารควรช่วยสนับสนุนลูกค้าในด้านอื่นๆมากขึ้น"
ทั้งหมดนี้เลยเป็นที่มาของแคมเปญ (Get MORE with TMB) เพื่อเปลี่ยนให้ธุรกรรมของธุรกิจเป็นสิทธิประโยชน์และต่อยอดในอนาคต ซึ่งทาง TMB เองนั้นมีเป้าหมายการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand)
โดยแคมเปญที่ว่านี้... ประกอบไปด้วย 3 เรื่องสำคัญ คือ More Benefits, More Time และ More Possibilities ครับ
ถ้าพรี่หนอมจำไม่ผิดทาง TMB เองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่กล้าเปลี่ยนประสบการณ์หลายๆอย่าง อย่างเช่นเรื่องของการเปิดฟรีค่าธรรมเนียมก่อนที่จะมาเป็นกระแสอย่างเช่นธนาคารอื่นๆในปัจจุบัน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ดีและมีจุดขายด้าน Innovation ที่กล้าจะเริ่มแตกต่างก่อนคู่แข่งครับ
VDO บรรยากาศภายในงาน
อย่างไรก็ตาม ในยุคที่จำนวนสาขาและขนาดของธนาคารไม่ได้ถือเป็นจุดแข็งอีกต่อไป หรือแม้แต่เรื่องของ Innovation เองที่ถูกทลายกำแพงแห่งการแข่งขันมาเรื่อยๆนั้น สิ่งที่ธนาคารต้องยกระดับเพิ่มขึ้นควรจะเป็นเรื่องของการบริการที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า (Customer Experience) ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไปครับว่าแคมเปญ Get MORE with TMB ของทาง TMB นั้นจะช่วยยกระดับประสบการณ์ในการบริการให้กับ SME ได้อย่างที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า
สุดท้ายนี้ ถ้าใครสนใจแคมเปญก็สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmbbank.com/sme