มือใหม่หัดลงทุนกองทุนต้องเคยเจอและได้ยินผ่านหูกันมาบ้างกับคำว่า “NAV กองทุน” หลายคนยังงงว่า NAV คืออะไร? #aomMONEY เอาข้อมูลมาฝากกันตามนี้เลยครับ
NAV ย่อมาจาก Net Asset Value แปลตรงตัวคือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
NAV ก็คือ มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของกองทุนรวม รวมถึงผลประโยชน์ที่กองทุนรวมจะได้รับ หลังหักจากหนี้สินและค่าใช้จ่ายของกองทุนนั้น ๆ มีอยู่แล้ว
NAV สามารถคำนวนได้จาก
รายได้ค้างรับ + เงินสด – หนี้สิน = มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
NAV บอกอะไร?
1. สะท้อนผลการดำเนินงานของกองทุนที่ผ่านมา (ผลตอบแทนกองทุน มาจากการนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ เช่น เงินปันผล หุ้นเพิ่มทุน ดอกเบี้ยรับ และกำไรส่วนเกินทุน)
2. สะท้อนศักยภาพของทรัพย์สินและผู้จัดการกองทุน
เพราะผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการลงทุนก็คือ เงินปันผล (กรณีกองทุนมีจ่ายเงินปันผล) และการขายหน่วยลงทุนออกตอนที่มูลค่าหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้น
ค่า NAV ที่ดี ต้องเท่าไร?
นักลงทุนหน้าใหม่หลายคน นำ NAV แต่ละกองมาเทียบกัน #aomMONEY ขอบอกถ้าเทียบแบบนี้คือคุณติดกับดักแล้วครับ เพราะซึ่งสิ่งสำคัญของการลงทุนคือมูลค่าของกองทุนต่างหาก นักลงทุนจึงต้องมาดูว่าอัตราการเติบโตของกองทุนโตขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้น “NAV แต่ละกองทุนจะมีค่าเท่าไรก็ได้”
NAV จะมากน้อยเท่าไร หรือ จำนวนหน่วยลงทุนจะมากน้อยเท่าไรก็ตาม ถ้าทรัพย์สินในกองทุนเติบโตขึ้น ผลตอบแทนจากการลงทุน (เงินปันผล) ก็เติบโตขึ้นเช่นกัน
การดูค่า NAV นักลงทุนต้องพิจารณาเทียบกองทุนนั้น ๆ ตามช่วงเวลาที่ผ่านมาว่ามีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น - ลดลงอย่างไร? ค่า NAV ไม่สามารถใช้เทียบระหว่างกองทุนรวมได้ สาเหตุเพราะอย่างที่ไปข้างต้นแล้วว่า NAV เป็นเหมือนราคาของทรัพย์สินหนึ่งที่กองทุนรวมถืออยู่ ซึ่ง
1. แต่ละกองทุนนั้นถือทรัพย์สินแตกต่างกัน
2. แต่ละกองทุนมีจำนวนหน่วยลงทุนแตกต่างกัน
นักลงทุนสามารถดูค่า NAV ที่ บลจ.แสดงทุกสิ้นวันทำการ จะหมายถึง NAV / 1หน่วยลงทุน (คือเป็นค่าที่หารเฉลี่ยเป็นหน่วยลงทุน) ในทางกลับกันถ้านำ NAV มาคูณกับจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดก็จะรู้ว่ากำไรจากการบริหารสินทรัพย์ของกองทุนมีมูลค่าเท่าไรนั่นเอง
ตัวอย่าง
- กองทุน A มี NAV น้อยกว่า กองทุน B ไม่ได้แปลว่ากองทุน A ถูกกว่ากองทุน B
- กองทุน A มี NAV 24.02 บาท/หน่วย ในขณะที่กองทุน B มี NAV 15.02 บาท/หน่วย ไม่ได้แปลว่ากองทุน A แพงกว่ากองทุน B
สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ หากต้องการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนและตัดสินใจว่าจะลงทุนกองทุนอะไร ให้พิจารณาปัจจัย พื้นฐานกองทุน และเงื่อนไขของกองทุน, นโยบายการลงทุนที่น่าสนใจ, ผลตอบแทนในอดีต, ระดับความเสี่ยง และผู้จัดการกองทุนที่บริหารอยู่ในขณะนั้นประกอบกัน
ใครสนใจเรื่องกองทุนรวมและกำลังศึกษาเรื่องราวการลงทุน LTF/RMF
อยากปรึกษาเพื่อนเรื่องกองทุน ต้องเข้ากรุ๊ปนี้ต้องเข้ากรุ๊ปนี้ ? กองทุนไหนดี