แน่นอนว่า “วางแผนภาษีไว มีชัยไปกว่าครึ่ง” เข้าสู่ช่วงปลายปีแบบนี้ทีไร คำถามที่พรี่หนอมมักจะได้ยินประจำก็คือ “ซื้อประกันแบบไหนดี เพื่อลดหย่อนภาษี?” ซึ่งสิ่งที่ผมมักจะตอบกลับไปนั้น คือเน้นให้ผู้ถามทำความเข้าใจก่อนว่า การทำประกันชีวิต หรือประกันแบบบำนาญ มันคือการป้องกันความเสี่ยง ไม่ใช่การออมเงินและการประหยัดภาษีเพียงอย่างเดียว

แต่ไหนก็มีคำถามแบบนี้เข้ามามากมาย พรี่หนอมเลยตั้งใจทำสรุปมาให้อ่านกันตามนี้ครับ เอาแบบสั้นๆ ง่ายๆ ตารางด้านล่างนี้จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ‘ประกันชีวิต’ และ ‘ประกันแบบบำนาญ’ ที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เท่านั้นนะครับ


ประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษีประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษี


จากสรุปตารางสามข้อสั้นๆ มันจะไปเชื่อมโยงกับอีกเทคนิคหนึ่งที่พรี่หนอมเคยบอกไว้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบ นั่นคือ กรณีของประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนในส่วนของประกันชีวิตได้ เพราะเงื่อนไขไม่แตกต่างกันครับ ซึ่งแปลว่าบางคนสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี ได้สูงสุดถึง 300,000 บาท

เอาแบบไม่งง อีกทีคือ สมมติว่าเรามีรายได้มากกว่า 1.33 ล้านบาทต่อปี (โดยประมาณ) นั่นหมายความว่า เราสามารถเลือกซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญ 250,000 บาท และประกันชีวิตแบบทั่วไป 50,000 บาท ซึ่งกฎหมายจะถือว่า เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบบำนาญ 200,000 บาท (ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้) และใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไป 100,000 บาท (ส่วนของประกันชีวิตแบบบำนาญที่เกินสามารถถือเป็นประกันชีวิตแบบทั่วไปได้เลยครับ หรือว่าถ้าหากใครที่ซื้อแต่ประกันแบบบำนาญอย่างเดียว 300,000 บาท ก็สามารถเอามาใช้สิทธิลดหย่อนประกันแบบบำนาญได้ 200,000 บาท และประกันชีวิต 100,000 บาทนั่นเองครับ

แต่เทคนิคนี้ต้องไม่ลืมนะครับว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญต้องเป็นไปตามเงื่อนไข คือใช้สิทธิลดหย่อนได้ 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ต้องไม่เกิน 500,000 บาทครับผม

ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองสามารถซื้อประกันชีวิตได้เท่าไร โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี สามารถลองไปคำนวณดูเล่นๆ ที่  FWD Tax Advisor ก็ได้ครับ เป็นโปรแกรมช่วยคำนวณภาษีของทาง FWD ประกันชีวิต

ประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษี

ซึ่งตอนนี้เขามีแบบประกันแนะนำสองตัว คือ ประกันชีวิต ดีไลท์ เซฟวิ่ง 15/5 และ ประกันบำนาญ 85/5 ให้เลือกกันครับ ใครสนใจก็ไปดูกันได้ที่ http://bit.ly/2vkXqs8

ประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษีประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษี


โอเคครับ หลังจากหมดช่วงสิ่งที่น่าสนใจกันไปแล้ว ตอนนี้พรี่หนอมอยากจะแนะนำให้พิจารณาอีกทีเกี่ยวกับทางเลือกในการวางแผนภาษีด้วยประกันชีวิต จะได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างคุ้มค่า โดยมีคำแนะนำสั้นๆ 3 ข้อดังนี้

  1. ต้องทำ “ประกันชีวิต” เท่านั้น ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งหลายๆ คนมักจะเข้าใจผิดหรือถูกทำให้เข้าใจผิดว่า การทำประกันแบบไหนก็ตามลดภาษีได้ สิ่งทีต้องเช็ค คือ ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันครับ จะมีข้อมูลระบุไว้ว่า ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้กี่บาท ซึ่งตรงนี้ต้องเช็คให้ดีครับ

  2. ความคุ้มค่าของการป้องกันความเสี่ยง ดังนั้น ควรพิจารณาด้วยว่าถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทุนประกันภัยที่เราได้รับนั้นคุ้มค่าหรือเปล่ากับค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป ตรงนี้ต้องเลือกให้ถูกใจและตรงกับวัตถุประสงค์ด้วยนะครับ

  3. ระยะเวลาการจ่ายเบี้ยประกัน ทุกๆ อย่างจะคุ้มค่า เมื่อส่งเบี้ยประกันครบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ดังนั้น อย่าทำอะไรที่เกินกำลังตัวเองครับ ตรวจสอบกระแสเงินสดในชีวิตให้ดีว่าไหวไหม ติดขัดอะไรหรือเปล่า ไม่งั้นจะมีปัญหาในภายหลัง เสียทั้งสิทธิภาษี และผลตอบแทนที่ควรจะได้นะครับ

ประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษี

"สรุปท้ายสุด เคล็ดลับ 3 ข้อนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ควรนำมาตัดสินใจในการเลือกซื้อประกันที่มีเงื่อนไขทางภาษี เพราะถ้าหากจะเสียเงินทั้งที หากได้ครบทุกสิ่งที่เราต้องการก็น่าจะดีกว่าใช่ไหมล่ะครับผม"

สุดท้ายนี้ พรี่หนอมขอให้ทุกคนเลือกซื้อประกันได้อย่างมีความสุข ลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกใจกันทั่วหน้าเลยนะคร้าบบบ


บทความนี้เป็น Advertorial