
ภาษีเงินได้ ขึนอยู่กับประเภทของธุรกิจ หรือรูปแบบนั่นเอง
ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ได้จดทะเบียนใดๆ จะถือเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ถ้ามีการจดทะเบียนนิติบุคคล เช่น บรีิษัท ห้างหุ้นส่วน จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ครับ
ซึ่งทั้งสองกรณีมีวิธีการคำนวณภาษีที่แตกต่างกันไป สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซด์ https://biztaxthai.co/

ธุรกิจต้องมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายไหม คำตอบขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจของเรานั้นเป็นการขายหรือให้บริการ
ถ้าเป็นการขายอย่างเดียว จะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายใด ๆ แต่ถ้ามีการบริการเข้าร่วมด้วยจะต้องดูว่า การบริการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการขายหรือไม่ ถ้าใช่และไม่มีการแยกค่าบริการออกมาเรียกเก็บต่างหาก ก็ยังถือว่าไม่ต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จายอยู่ดีครับ
แต่ถ้าเป็นการบริการที่ชัดเจน หรือมีการแยกการเรียกเก็บในส่วนของค่าบริการ จะถูกหักภาษี ณ ทีจ่ายไว้ในกรณีที่ผู้จ่ายเป็นนิติบุคคลอย่างแน่นอนครับ
และในกรณีที่เราเป็นผู้จ่ายก็ใช้หลักการเดียวกันตามที่ว่ามานี้ครับ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขึ้นอยู่กับสองกรณีต่อไปนี้ คือ
1. ธุรกิจได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช็คตามนี้ได้เลยครับ http://www.rd.go.th/publish/7052.0.html
2. ธุรกิจเรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือไม่
ถ้าเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อนี้ คือ ไม่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะครับ

บางคนมีการนำเข้าสินค้าต่างๆจากต่างประเทศ อาจจะมีการเสียในส่วนของ อากรขาเข้าเพิ่มเติมด้วยในส่วนของการนำเข้าสินค้าที่อยู่ในรายชื่อ (พิกัด) ของศุลกากรครับ
ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ
#ยืืนภาษี #ภาษีธุรกิจ #ecommerce
#ภาษีเงินได้ #ขายของออนไลน์
#พรี่หนอมสอนภาษ๊ธุรกิจ