มนุษย์เงินเดือน ที่ยื่นภาษีประจำปี 2561
มีประเด็นอะไรแบบไหนที่ควรรู้บ้าง?

สำหรับการยื่นภาษีปี 2561 ที่กำลังเข้มข้นอยู่ตอนนี้ มีคำถามเข้ามาทางเพจ TAXBugnoms เยอะมากครับ โดยเฉพาะเรื่อง การยื่นภาษีของมนุ ษย์เงินเดือนที่มากมายหลายประเภท พรี่หนอมเลยสรุปประเด็นสำคั ญไว้ในบทความนี้อีกทีครับผม

อย่าลืมนะครับว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการยื่นภาษีของมนุษย์เงินเดือน คือ เรื่องหลักฐานการมีเงินไ้ด้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าเริ่มต้นถูกตั้งแต่ตรงนี้ก็สบายใจได้ล่วงหน้าเลยล่ะครับ

1. สำหรับกรณีมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ควรได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของปี 2561 ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ครับ เพราะเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องทำเรื่องนี้ให้กับเรา ถ้าใครยังไม่ได้รีบตามเอกสารมาด่วนๆเลยครับ

ถ้าได้เอกสารหัก ณ ที่จ่ายใบนี้มา เราจะได้ข้อมูลทั้งรายได้แล ะค่าลดหย่อนหลายตัวมาพร้อมๆกัน นั่นคือ เงินได้ทั้งปี (รวมถึงยอดภาษีที่ถูกหักไว้ ด้วย) กับ เงินประกันสังคมที่นำส่ง (สูงสุด 9,000 บาท) และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชี พที่ในปีนั้นถูกหักไว้นั่นเ องครับผม ซึ่งตรงนี้แปลว่าเราสามารถนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ไปยื่นภาษี ได้ส่วนนึงละ ที่เหลือก็ค่อยมาเช็คกันต่อว่าต้องมีหลักฐานเอกสารอะไรบ้าง?

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ไม่เคยยื่นภาษี หรือ ยื่นไม่ค่อยเป็น เพราะมีคนช่วยยื่นตลอด พรี่หนอมแนะนำคลิปสอนยื่นภาษีคลิปนี้เลยครับ ลองดูหลักการคำนวณภาษีแล้วค่อยๆทำตาม รับรองชีวิตสบายขึ้นมากเลยครับผม


2. สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่เปลี่ยนงานใหม่ หรือลาออกจากงานระหว่างปี 2561 กลุ่มนี้แนะนำให้นำรายได้ทั้งหมดที่ได้ในปี 2561 เอามารวมกันยื่นภาษีครับ อย่างงว่ายื่นเฉพาะที่เก่าห รือที่ใหม่ เอาเป็นว่ามีที่ไหนก็ยื่นให้ ้หมดครับ

สมมติว่า นายบักหนอมมีรายได้จากที่ทำงานเก่าในช่วงต้นปี 2561 อยู่ 200,000 บาท และย้ายงานใหม่มาอีกที่หนึ่งช่วงกลางปีถึงสิ้นปี โดยมีรายได้อยู่ 500,000 บาท แบบนี้นายบักหนอมก็ะต้องยื่นรายได้ทั้งปี คือ 700,000 บาทนั่นเองครับ 

รวมครบจบทุกปัญหา มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษีประจำปี 2561

ถึงแม้ว่าเราจะเอารายได้ทั้งสองที่ (หรือมากกว่า) มารวมกัน แต่ตรงช่อง เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้จะมีช่องเดียว ดังนั้นเวลากรอกในช่องนี้ ให้กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่จ่ายเงินให้เรามากที่สุดครับ 

2. ถ้ามีรายได้นอกเหนือจากเงิน เดือน เช่น รับงานฟรีแลนซ์ เปิดธุรกิจ ขายของออนไลน์ ทั้งหมดนี้ให้เอามายื่นภาษีทั้ งหมดจ้า แต่สิ่งที่ต้องรู้คือเรามีร ายได้ประเภทไหนใน 8 ประเภทบ้าง แยกออกมาให้ดี เพื่อที่จะได้คำนวณหักค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องครับ

รวมครบจบทุกปัญหา มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษีประจำปี 2561

3. กรณีมีปัญหาออกจากงานแล้วได้ ้เงินชดเชยต่างๆ  ให้เช็คดีๆก่อนว่าเงินก้อนนี้ได้รับยกเว้นภาษีแบบไหนบ้าง หรือเป็นเงินประเภทไหนที่นายจ้างจ่ายให้กับเรา เช่น เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ได้ รับยกเว้นตามระยะเวลาการทำ งานสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท โดยส่วนที่เกินเงินชดเชยในส่วนนี้ต้องเอามาคำนวณภ าษีด้วยนะครับไม่งั้นจะผิดได้ ยิ่งกว่านั้น ถ้าใครได้เงินแบบพิเศษที่ไม่ใช่ชดเชย เช่นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินที่จ่ายให้นอกเหนือจากการนี้ พรี่หนอมบอกเลยว่าต้องเอามา คำนวณภาษีทั้งหมดจ้า โดยมีหลักการพิจารณาดังนี้

1. กลุ่มแรก เงินก้อนใหญ่เห็นแล้วตกใจ เช่น เงินชดเชย บำเหน็จ (หรือลักษณะเดียวกับบำเหน็จ ) และเงินอื่นๆที่นายจ้างจ่าย ให้เราไปจากชีวิตเขา กลุ่มนีให้เช็คก่อนว่า เงินชดเชยแรงงานเนี่ยมันได้ รับสิทธิยกเว้นภาษีตามกฎหมา ยหรือเปล่า ถ้าได้ก็เอาเฉพาะส่วนที่ไม่ ได้รับยกเว้นมาเสียภาษี

ถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าต้อง เสียภาษีกี่บาท คำตอบคือ ดูใบหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ มันมีบอกหมดว่าเรามีเงินได้ กี่บาทแล้วถูกหักภาษีไว้กี่ บาท มันจะช่วยตอบปัญที่ยุ่งยากของเราให้ง่ายขึ้น

2. กลุ่มสอง เงินกองทุนต่างๆ สำรองเลี้ยงชีพ กบข. เงินกลุ่มนี้จะได้แยกต่างหา กออกมา (ถ้าเราเลือกเอาเงินออกจากกองทุ น) ซึ่งตัวเลขที่จะเอามาเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีนั้ น คือ ส่วนที่นายจ้างสมทบ + ผลประโยชน์จากการลงทุน

ถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าต้อง เสียภาษีกี่บาท คำตอบคือ ดูใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (อีกแล้ว) ครับ มันมีบอกหมดว่าเรามีเงินได้ กี่บาทแล้วถูกหักภาษีไว้กี่ บาท (ซ้ำกับข้อเมื่อกี้เป๊ะเลย)

ป.ล. ขอบอกไว้หน่อยนะครับว่ากรณีออกจากงานเมื่ออายุเกิน  55 ปี ไม่ต้องเสียภาษีกรณีเงินได้ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนะค รับผม เพราะกฎหมายยกเว้นให้ฟรีๆเลยครับ

แต่ข้อดีของกลุ่มที่ 2 นี้ก็คือ ไอ้เงินที่เราสะสมเข้ากองทุ นในปีนั้น ยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อยู่นะ เพราะมันถือเป็นเงินของเราที่จ่ายเข้ากองทุนและได้สิทธิตามกฎ หมาย บางคนชอบงงๆ ไม่เอามารวมคิดจ้า บอกเลยว่าอันนี้เสียประโยชน์กันไปฟรีๆเลยครับผม

แต่กลุ่มนี้ก็มีข้อดีกว่ากลุ่มแรก นั่นคือ จะได้รับสิทธิพิเศษเลือกเสียภาษีต่างหากได้ ถ้าหากทำงานมาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สามารถใช้สิทธิแยกคำนวณภาษี ออกมาได้เลยนะ (ซึ่งถ้าลองคำนวณแล้วพบว่าแ ยกคำนวณคุ้มกว่าก็ควรแยก - กรณีคนที่มีรายได้เยอะๆ) แต่ถ้าทำงานไม่เกิน 5 ปี อันนี้ต้องรวมคำนวณเหมือนเป็นเงินเดือนตามประเด็นแรกปก ติเลยจ้า

รวมครบจบทุกปัญหา มนุษย์เงินเดือนยื่นภาษีประจำปี 2561

หลักการทั้งหมดที่ว่ามาตั้งแต่แรก พรี่หนอมแนะนำให้ลองดูในรูปนี้เพิ่มเติม น่าจะเห็นภาพที่ชัดเ จนขึ้นนะครับ สำหรับกรณีของการออกจากงานแล้วได้เงินชดเชยทั้งหมดครับ


ถ้าหากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว รู้สึกว่ามันน่าจะเป็นเรื่องยาก ออกจากงานทั้งทีจะยื่นภาษียังไง ผมแนะนำให้ลองดูและฟังเป็นคลิปดูครับ (คิดว่าช่วยได้) โดยทั้งสอนหลักการในการจัดการ และวางแผนยื่นภาษีได้อย่างถูกต้องตามหลักการของกฎหมาย พร้อมทั้งกรอกแบบให้ดูเป็นตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงในการทำงานของผมเองครับ



เรื่องราวทั้งหมดก็มีประมาณนี้... สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการยื่นภาษี แต่พรี่หนอมอยากจะแนะนำอีกนิดว่า ปีที่แล้วผ่านไป เราน่าจะเอาประสบการณ์ปีใหม่มาใช้กันต่อได้เลย (ถ้าเรายังเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่) นั่นคือปี 2562 นี้ลองวางแผนภาษีประจำปีแ ล้วแจ้งทางฝ่ายบุคคลไว้ล่วง หน้าได้เลยครับ โดยวิธีการกรอกฟอร์ม ลย.01 เพื่อวางแผนว่าปีนี้จะต้องถูกหักภาษีเท่าไร วางแผนยังไงดี งานนี้ถือเป็นการตั้งเป้าหม ายปีใหม่ไปในตัวพร้อมๆกันครับผม 

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อๆไปครับ :)