เข้าสู่ช่วงปลายปีทีไร @TAXBugnoms มักได้ยินคำถามเดิมๆอีกแล้วครับว่า “จะซื้อ LTF หรือ RMF เพื่อลดภาษียังไงดี” ถ้าจะให้พูดสั้นๆง่ายๆก็ขอให้ข้อแนะนำสั้นๆว่า “อย่าซื้อเกินที่กฎหมายกำหนด” “อย่าอดใจไม่ไหวจนผิดเงื่อนไข” และ “อย่าไปหวังผลตอบแทนจนเกินงาม”
คำว่า “อย่าซื้อเกินที่กฎหมายกำหนด” หมายความว่า ให้ซื้อตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น LTF ซื้อได้ 15% ไม่เกิน 500,000 บาท ส่วน RMF ก็ ซื้อได้ 15% ไม่เกิน 500,000 บาทแต่ต้องรวมคำนวณกับ กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันแบบบำนาญด้วยนะครับ
ส่วนคำว่า “อย่าอดใจไม่ไหวจนผิดเงื่อนไข” นั้น ก็หมายความว่า อย่าทำผิดเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีที่กฎหมายเตือนไว้ เช่น LTF ต้องถือไว้เกินกว่า 5 ปีปฎิทิน ส่วน RMF ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี โดยซื้อรวมกันทั้งปีไม่ต่ำกว่า 3% หรือ 5,000 บาท และต้องถือไว้เกินกว่า 5 ปี และผู้ถือต้องมีอายุเกิน 55 ปี ถึงจะสามารถขายได้ เพราะถ้าผิดเงื่อนไขขึ้นมารับประกันได้เลยครับว่า ลำบากแน่นอน (ไว้ถ้ามีโอกาสจะเขียนบทความให้อ่านกันครับ)
และสุดท้าย คือ คำว่า “อย่าไปหวังผลตอบแทนจนเกินงาม” นั่นคือ หลักความจริงที่ว่า เราไม่สามารถลงทุนเพื่อที่จะรับผลตอบแทนสูงสุดได้ทุกปี เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งช่วงเวลาในการซื้อ จำนวนเงินที่ซื้อ รวมถึงปัจจัยต่างๆประกอบ เพราะเราทุกคนไม่มีใครรู้อนาคต จนต้องอดพูดไม่ได้ว่า “ถ้ารู้งี้.... ” ใช่ไหมล่ะคร้าบ
ดังนั้นผมอยากแนะนำให้เลือกกองทุนที่ไว้ใจได้ ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเป็นเวลานาน น่าจะดีกว่า เลือกดูผลตอบแทนย้อนหลังยาวๆ มากกว่าผลตอบแทนสูงสุดแค่ปีเดียว
ทีนี้หลังจากที่แนะนำกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ถึงเวลาที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ในการลงทุน LTF และ RMF เพื่อตัดภาษี มีเงินออมกับ TAXBugnoms ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ฟังแล้วล่ะครับ ว่านายบักหนอมมีวิธีวางแผนการลงทุนแบบไหนและอย่างไร
ว่าด้วย...ประสบการณ์การลงทุน
ก่อนอื่น.. ขอเท้าความก่อนว่า ตอนช่วงเริ่มต้นทำงานแรกๆนั้นผมไม่เคยเห็นความสำคัญของการลงทุนใน LTF หรือ RMF เลยแม้แต่น้อย ใครบอกว่าดี ก็คิดแย้งอยู่ในใจว่ามันจะสักเท่าไรเชียว แต่พอเวลาผ่านไปสักพักเนี่ย ถึงมารู้ว่าผลตอบแทนที่ได้รับนั้นสูงมาก แถมยังประหยัดภาษีได้อีกด้วย ทีนี้ก็สนุกเลยครับ ใครว่ากองทุนไหนดีก็ซื้อตามเค้าไป
เมื่อมีประสบการณ์ในการลงทุน LTF และ RMF สักพัก เลยตั้งใจวางแผนการลงทุนของตัวเองขึ้นมาบ้าง ตั้งชื่อไว้ซะสวยหรูว่า กลยุทธ์วางแผนตัดภาษี มีเงินออม ยอมตั้งแต่หน้าประตู (เกี่ยวไรฟระ!!) ดังนี้คร้าบ
- ในแต่ละปี ต้องประมาณก่อนว่า “ปีนี้ตัวเองจะมีรายได้สักเท่าไร” อย่างตัวผมเองนี้มีรายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ งานเสริม งานบรรยาย งานขายของ ฯลฯ
- หลังจากนั้นผมจะเริ่มต้นลงทุนใน LTF ก่อนเป็นลำดับแรก เนื่องจากมองว่าตัวเองยังรับความเสี่ยงได้มาก และต้องการลงทุนในระยะ 3-5 ปี โดยจะแบ่งซื้อแบบเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือน (Dollar Cost Average) ในสัดส่วน 15% ของรายได้ที่เป็นงานประจำ หลังจากนั้นเมื่อมีรายได้เพิ่มจากงานไม่ประจำทั้งหลาย ผมจะทยอยซื้อในสัดส่วน 10-15% หลังจากที่ได้รับเงินในทุกๆครั้ง เรียกได้ว่า ลงทุนก่อนใช้ เพราะไม่งั้นเดี๋ยวจะหมดเสียก่อน (ฮา)
- หลังจากนั้น ค่อยมาซื้อเพิ่มเติมที่ RMF โดยเน้นไปที่กองทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้เป็นหลัก ในช่วงแรกเงินลงทุนส่วนของ RMF นี้จะค่อนข้างน้อย (ประมาณ 5% ของรายได้ทั้งปี) แต่หลังจากนั้นผมจะทยอยปรับสัดส่วนการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันซื้อประมาณ 10% ของรายได้ทั้งปีครับ
- โดยหลักการซื้อ LTF และ RMF ที่ผมใช้คือ “อย่าซื้อเกินที่กฎหมายกำหนด” เช่น สมมติว่าปีนึงผมซื้อ LTF กับ RMF ได้สูงสุด 160,000 บาท ผมจะซื้อเพียงแค่ 150,000 บาทเท่านั้น เพราะป้องกันไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
- เลือกกองทุนที่นโยบาย และผลตอบแทนย้อนหลังที่ดีในระยะยะยาว เมื่อลงทุนแล้ว ผมจะไม่ค่อยเข้าไปดูการเคลื่อนไหวของกองทุนนั้นๆ บ่อยๆครับ เรียกง่ายๆว่าขี้เกียจนั่นเอง พอซื้อแล้วก็ถือว่าซื้อเลย มอบหมายให้กองทุนเค้ามีหน้าที่ดูแลแทนเรา ปีนึงดูอย่างมากสัก 3 - 4 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว เพื่อปรับพอร์ทไม่ให้มีปัญหากับเงื่อนไขทางภาษีหรือเช็คดูว่าจะลงทุนในกองทุนใดเพิ่มเติมบ้าง
และทั้งหมดนี้คือวิธีการลงทุนแบบง่ายๆในสไตล์ TAXBugnoms ครับ ทีนี้ขอเล่าให้ฟังเพิ่มเติมในประเด็นภาษีที่คนลงทุนกองทุนรวม LTF, RMF และ กองทุนรวมอื่นๆ ที่ทุกคนควรรู้ ว่ามีเรื่องอะไรบ้างครับ
ภาษีกับการลงทุนในกองทุนรวม
สำหรับบุคคลธรรมดาอย่างเราๆนั้น จะมีเรื่อง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวมอยู่ 2 ส่วน คือ ”กำไรจากการขายหน่วยลงทุน” และ “เงินปันผล”
- กำไรจากการขายหน่วยลงทุนนั้น หรือ ส่วนเกินจากการลงทุน จะได้รับยกเว้น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” อยู่แล้วครับ แต่ถ้าเป็นกองทุนรวม “LTF” และ “RMF” จะได้รับยกเว้นภาษีในส่วนนี้ก็ต่อเมื่อได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขทางภาษีได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าผิดขึ้นมาแล้วล่ะก็ จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 3% จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุนทันที โดยที่ไม่มีข้อแม้ใดๆเลยครับ (ถึงย้ำนักย้ำหนาว่าอย่าผิดเงื่อนไขยังไงล่ะคร้าบ)
- เงินปันผล สำหรับกองทุนที่มีการจ่ายเงินปันผล ถ้าเราเลือกให้ทางกองทุนหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 10 ตอนที่จ่ายเงินปันผลแล้ว เราจะได้สิทธิ์ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้ไปคำนวณรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษีตอนปลายปีอีกด้วยครับ (แต่ถ้าใครไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนจ่ายเงินปันผลแล้วล่ะก็ ต้องเอาไปรวมคำนวณรวมรายได้ด้วยนะคร้าบ
ทีนี้ปัญหาก็มีอยู่ว่า .. เอ๊ะ แล้วแบบนี้เราจะยอมให้หักดีหรือไม่หักดีละเนี่ยย ขอแนะนำวิธีการพิจารณาดังนี้ครับ
- ถ้าไม่มีรายได้อื่น มีเพียงรายได้จากการลงทุนในกองทุนรวมเพียงอย่างเดียว และไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี อันนี้แนะนำว่าไม่ต้องให้หักครับ
- ถ้ามี