????? วางแผนเกษียณง่ายๆ ด้วย RMF แก่แต่เก๋า ไม่เป็นภาระลูกหลาน
เมื่อก่อนนี้ คำว่า “สังคมผู้สูงอายุ” ยังดูเป็นเรื่องไกลตัวเรามาก แต่ตอนนี้ “ความแก่” เริ่มใกล้เข้ามาทุกที ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 11,136,059 คน คิดเป็น 16.73% ของประชากรทั้งหมด และในปี 2021เราจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่น ก็มีการปรับนโยบายให้เข้ากับสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการขยายอายุเกษียณของพนักงาน จาก 65 ปี เป็น 80 ปี นั่นแปลว่าถ้าเราอายุ 80 ก็อาจจะยังต้องทำงานอยู่เคยคิดภาพตัวเองตอนแก่มั้ยครับ? ถึงตอนนั้นเราจะทำอะไรอยู่ อาจจะไปเที่ยวรอบโลก พักผ่อนอยู่กับบ้าน ออกกำลังกายเบาๆ แต่ทั้งหมดนี้จะทำไม่ได้เลยครับ ถ้าเราไม่ได้ “วางแผนเกษียณ” เตรียมเงินไว้ให้เพียงพอ แทนที่จะได้ทำในสิ่งที่ต้องการ กลับต้องรบกวนลูกหลาน เป็นภาระให้พวกเขาแน่ๆ ถ้าไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราต้องวางแผนเกษียณตั้งแต่วันนี้เลยครับ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไรยิ่งดี ซึ่งเครื่องมือที่จะทำให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้น ก็คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” หรือ RMF (Retirement Mutual Fund) ? วางแผนเกษียณด้วย RMF แล้วดีอย่างไร? 1. มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงความเสี่ยงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน หุ้น ฯลฯ ซึ่งเราสามารถสลับกองทุน RMF ได้ตามความต้องการ ถ้าต้องการความมั่นคงก็เลือกสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ ถ้าต้องการผลตอบแทนสูงก็เลือกสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง 2. ต้องลงทุนต่อเนื่อง 5 ปีขึ้นไป และจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ทำให้เมื่อถึงเวลาเกษียณก็จะมีเงินก้อนใหญ่รออยู่ 3. สามารถนำมาลดหย่อนภาษี 30% ของรายได้ สูงสุด 500,000 บาท 4. คนที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือพนักงานในบริษัทที่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยิ่งควรซื้อ RMF เพราะจะได้มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ ? ถ้าอยากซื้อ RMF ให้ครบทุกโอกาสลงทุน ต้อง กองทุนบัวหลวง บลจ.บัวหลวง เห็นความสำคัญของพอร์ต RMF ที่เป็นการลงทุนระยะยาว จึงเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ และมีการกระจายความเสี่ยง ซึ่งมีอยู่ 4 กองทุนที่น่าสนใจครับ ? 1.กองทุนบัวหลวงทศพล RMF เน้นลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตที่สุด 10 ตัว โดยเป็นธีมการลงทุนที่ได้รับความนิยม พร้อมกับดูพื้นฐานและการเติบโตของหุ้น ตัวอย่างหุ้นที่เลือกลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ? หุ้นสามัญ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ? 2.กองทุนบัวหลวงตราสารทุน RMF อีกหนึ่งกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย แต่เน้นกระจายความเสี่ยงด้วยขอบเขตการลงทุนที่กว้างกว่ากองทุนบัวหลวงทศพล RMF โดยเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว ตัวอย่างหุ้นที่เลือกลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ? หุ้นสามัญบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ? หุ้นสามัญบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ? พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ? 3.กองทุนบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลฟันด์ RMF เน้นการลงทุนอย่างรอบคอบ ไม่เสี่ยงจนเกินไป ด้วยการผสมผสานการลงทุน ทั้งหุ้น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารหนี้ และเงินฝาก ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ? 4.กองทุนบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ต RMF เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในตัวตราสารและหรือผู้ออก ระยะยาว 3 อันดับแรก ระยะสั้น 2 อันดับแรก ในระดับ National และหรือ International Scale และลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน เอกชน และหรือเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในต่างประเทศ (ไม่เกิน 40% ของ NAV) “แผนเกษียณ” เป็นเป้าหมายสำคัญในชีวิตที่ทุกคนต้องมี ถ้าอยากใช้ชีวิตสบายๆ หลังเกษียณ ต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้นะครับ ใครที่สนใจกองทุน RMF ของบัวหลวง สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.bblam.co.th หรือโทร. 0-2618-1111 ***คำเตือน*** 1.การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) 2.ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน 3. กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

