เพื่อนๆ แต่ละคนรู้กันไหมครับว่าเราควรมี "เงินสำรองฉุกเฉิน" เก็บไว้เท่าไหร่กัน ถ้ายังไม่รู้เดี๋ยว aomMONEY จะสอนวิธีคำนวณง่าย ๆ ให้เองครับ แต่ก่อนอื่น...เราต้องมารู้กันก่อนว่าทำไมเราทุกคนถึงควรมี "เงินสำรองฉุกเฉิน" เก็บไว้ ... คำตอบก็คือ เพราะชีวิตเรามีแต่เรื่องที่ไม่แน่นอนครับ เราไม่มีทางคาดเดาได้เลยว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นบ้าง วันดีคืนดีบริษัทที่เราทำงานอาจจะประกาศปิดตัว เราอาจจะตกงาน หรือโดนพักงาน หรือวันนึงเกิดเจ็บป่วยกะทันหันขึ้น เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่เราไม่คาดฝันทั้งนั้นครับ  ตัวอย่างความไม่แน่นอนที่ชัดเจนที่ aomMONEY อยากจะยกตัวอย่างให้เห็นเลยก็คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยอย่างทุกวันนี้ ก็นับเป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้เพื่อนๆ หลายคนน่าจะเห็นความสำคัญของ "เงินสำรองฉุกเฉิน" มากขึ้น เงินสำรองฉุกเฉิน
สูตรคิด เงินสำรองฉุกเฉิน  = ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน x ระยะเวลา 6 เดือน
สมมติ นาย A มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท  เพราะฉะนั้นควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 20,000 x 6 = 120,000 บาท ? นาย A ค่าใช้จ่ายเดือนละ 20,000 บาท จึงควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 120,000 บาท คำแนะนำจาก aomMONEY
  1. ก่อนที่จะไปลงทุนอะไรก็ตาม เราควรมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินก่อน อย่างน้อย 6 เดือน
  2. ควรเก็บไว้ในที่มีสภาพคล่องสูง นำมาใช้ได้ทันทีถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น บัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน 
  3. ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่สภาพคล่องจำกัด เช่น SSF RMF REIT หุ้น หรือ อสังหาฯ

ขอบคุณครับ

บ.ก.aomMONEY 

 เงินสำรองฉุกเฉิน

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY

? Website : www.aomMONEY.com

? Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH

? กลุ่มกองทุนไหนดี : https://www.facebook.com/groups/SelectedFund/

.