เนื่องจากว่าเป็นช่วงปลายปีแล้ว ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงยังไม่ได้ลงทุนเพราะว่ายังไม่ทันคิด หรือที่ยังไม่ลงทุนก็เพราะว่า กำลังหาจังหวะที่จะลงทุนกันอยู่แน่ ๆ หรือ อาจจะรอให้ถึงใกล้ๆ สิ้นปี เพื่อที่จะได้ลงทุนกับ LTF หรือ RMF ตอนสิ้นปีกัน
แต่ผมจะบอกว่า การที่เราซื้อกองทุน LTF หรือ RMF ตอนสิ้นปีนั้นอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดก็ได้ (แต่ปีที่แล้วเป็นการตัดสินใจที่ถูก) แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรละ ?? ว่าเราควรที่จะซื้อกองทุนเมื่อไหร่ หรือ ช่วงไหนดี แน่นอนว่าผลดำเนินงานของกองทุนขึ้นกับผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นได้ดีหรือไม่ อีกส่วนคือภาวะของตลาดหุ้นด้วยส่วนนึง
ผมเขียนให้เป็นสมการที่ดูแล้วน่าจะดูง่ายขึ้น (หรือยากขึ้นหว่า?)
ผลการดำเนินงานของกองทุน = ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้น หรือ สินทรัพย์ + ภาวะการณ์ของตลาด + ปัจจัยอื่นๆ
แน่นอนว่าภาวะของตลาดหุ้นเอง ก็ขึ้นกับแนวโน้มของเศรษฐกิจด้วย ดังนั้นคราวนี้ ผมจะนำท่านมาดูว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมในช่วงปลายปีนี้และ ปีหน้านั้น จะทำให้ตลาดหุ้นในบ้านเรา หันหัวเรือไปทางไหน เพื่อที่ว่าเราจะได้ปรับใบเรือของเราให้ถูกทิศ และแล่นไปได้อย่างไม่ติดขัด (แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่า บทความนี้เป็นการคาดการณ์เท่านั้นนะครับ)
ก่อนอื่น เรามาดูที่สหรัฐกันก่อนนะครับ
เนื่องจากว่าสหรัฐเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และขนาดเศรษฐกิจเองก็ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกด้วย ดังนั้นเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐ ก็ย่อมที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และ ประเทศไทยด้วยเช่นกันครับ ปีนี้และปีหน้าดูเหมือนจะเป็นปีที่สดใสของสหรัฐฯ เนื่องจากว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมานั้น ดูแล้วมีแนวโน้มที่ดี ประธานธนาคารกลางของสหรัฐ ฯ หรือ นาง เจแนท เยลเลน(พวกเพื่อน ๆ ผมชอบเรียกว่า เยลหลี่.....ถ้าเขามารู้จะโกรธไหมเนี้ย) เองก็ได้แสดงความมั่นใจต่อเศรษฐกิจสหรัฐมากขึ้น และทำการปรับลด QE (Quantitative Easing: มาตรการการผ่อนคลายการเงิน หรือ ที่เราเรียกว่าการ พิมพ์แบงค์ออกมาเพื่อส่งเสริมสภาพคล่อง และกระตุ้นเศรษฐกิจ)
การปรับลด QE มีผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจในช่วงถัดไป ? เป็นคำถามที่ดีครับ !! (เห้ย ! ใครถาม ?) แน่นอนว่าเงิน หรือ แบงค์ที่เคยพิมพ์ออกมานั้นยังไม่หายไปไหนครับ (สสารไม่สามารถหายไปได้) ก็อยู่ในตลาดหุ้นบ้านเราบ้าง อยู่ในตลาดหุ้นประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่นักลงทุน หรือ สถาบันการเงิน ของสหรัฐเห็นว่าดี เห็นว่าลงทุนแล้วได้กำไรงาม จะเห็นได้ว่า เงิน นั้นไหลจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงครับ (ผลตอบแทนดี ๆ สูง ๆ ไหลไปที่นั่นหมด) แต่พอสหรัฐลดการพิมพ์แบงค์ และคาดว่าเดือนหน้า (10/2014) จะทำการหยุดพิมพ์แบงค์ออกมา ประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มระส่ำระสายครับ เพราะว่าถ้าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดี แน่นอนว่าเงินบางส่วนต้องไหลกลับ และจะทำให้ตลาดหุ้นของประเทศตัวเองปรับตัวลงครับ คราวที่แล้ว แค่นาง เยลหลี่ เอ่ยปากอยากหยุดพิมพ์แบงค์ออกมา หุ้นก็ร่วงกันระนาวทีเดียว แต่ก็เป็นการดีครับ เพราะว่า พอตอนปรับลด QE ลงจริง ๆ ผลกระทบก็ไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คาดการณ์ (เพราะว่าทำใจได้แล้ว) แต่ประเด็นสำคัญถัดไปคือ หลังจากหยุดพิมพ์แบงค์แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐเอง ก็คงมีมาตรการ ดูด เงินกลับครับ (คราวที่แล้วปล่อย คราวนี้ดูดกลับ ทำเป็นวิชาเคลื่อนย้ายจักรวาลไปได้) การดูดเงินกลับก็ง่ายนิดเดียวครับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น และขายพันธบัตรรัฐบาลออกมาเพื่อให้นักลงทุนเอาเงินกลับเข้ามาคืน อย่างที่ผมได้บอกว่า เงินจะไหลจากที่ต่ำไปที่สูงครับ ดังนั้นถ้าดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะทำให้เงินที่เคยไหลไปนอกสหรัฐ ได้ไหลกลับเข้ามานั่นเอง ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้น เดี๋ยวเรามาดูกันในช่วงท้ายบทความกันนะครับคราวนี้เรามาดูในฝั่งของ ยุโรปกันบ้างครับ
ยุโรปเอง ผมก็เขียนถึงค่อนข้างบ่อยครับซึ่ง ในช่วงหลัง ๆ มานี้ ผมมองว่ายุโรปยังคงเป็นกลุ่มประเทศที่น่าสนใจครับ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ผ่านพันไปแล้ว และประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะฟื้นตัว แต่ว่าก็มีเหตุการณ์ไม่ค่อยดีเช่น เรื่อง วิกฤตยูเครน กับ รัสเซีย และภาวะเงินฝืด จนธนาคารกลางยุโรปต้องออกมาประกาศดอกเบี้ยแบบ "ติดลบ" เพื่อที่จะบังคับให้ประชาชนใช้เงิน หรือ เอาเงินออกมาลงทุนกันมากขึ้น ดูเหมือนจะมีแต่ข่าวร้ายใช่ไหมครับ ? แต่ในข่าวร้ายก็มีข่าวดีอยู่ด้วยครับ คือ ธนาคารกลางยุโรปเองก็จะออกมาตราการต่าง ๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมาตราการเหล่านี้ย่อมเป็นผลดีต่อบริษัทต่าง ๆ ที่อยู่ในทวีปนี้ครับ โดยการกระตุ้นนั้น ผมมองว่าก็คงใช้วิธีเดียวกับสหรัฐ คือ พิมพ์แบงค์ (อีกแล้ว) ซึ่งระยะสั้นอาจจะยังไม่เห็นผล แต่ถ้ามองระยะยาวแล้ว เศรษฐกิจของยุโรปเองก็ไม่น่าเป็นห่วงเสียเท่าไหร่ เพราะว่า ด้วยพื้นฐานบริษัทที่ดี(โดยเฉพาะประเทศเยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส) และถ้ามีเงินในระบบมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ และคนที่อยู่ในยุโรปก็น่าที่จะมั่นใจมากขึ้น กล้าใช้เงินมากขึ้น (แต่อาจจะช้าหน่อย เนื่องจากคนยุโรปเป็นคนที่เก็บเงินและไม่กล้าใช้เงินเท่ากับคนสหรัฐ ถึงแม้จะมีเงินเก็บเยอะแล้วก็ตาม) สหรัฐเองก็เริ่มที่จะฟื้น ดังนั้นก็จะมีผลมาทางยุโรปไปด้วยครับ จริง ๆ แล้วตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวก็เริ่มที่จะออกมาดีครับ โดยเฉพาะประเทศ เยอรมัน แม้แต่ประเทศที่เคยประสบปัญหาอย่าง กรีซ ก็เริ่มดีขึ้น ติดแค่ตรงตัวเลขเงินเฟ้อที่ดูแล้วยังต้องติดตามต่อไปครับ เพราะว่าออกมาไม่ดีเท่าไหร่ครับ(เงินเฟ้อต่ำมาก จนอาจจะกลายเป็นภาวะเงินฝืด) ส่วนอังกฤษ เองก็มีข่าวดีครับ คือเงินเฟ้อเริ่มเยอะขึ้นมากจนต้องพิจารณาเรื่องขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว และน่าจะเป็นที่แรกในโลกที่ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นครับ โดยสรุปกับทวีปนี้ ผมมองว่าปีหน้าน่าจะเริ่มปรับตัวได้ดีขึ้น และน่าจะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนเช่นกันครับ ในกรณีที่ไม่เกิดข้อพิพาทร้ายแรง หรือรุนแรงขึ้นระหว่าง ย