[WEEKLY OUTLOOK กับอัศวินกองทุน]
สรุปภาพรวมการลงทุน ช่วงวันที่ 11 - 15 กรกฎาคม 2559
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับผมนาย “อัศวินกองทุน” คนดีคนที่ใช่ ที่จะพาทุกคนไปเข้าใจกับภาพรวมการลงทุนในสัปดาห์ที่ 5 กันต่อกับคอลัมน์ WEEKLY OUTLOOK กับอัศวินกองทุน สรุปสถานการณ์การลงทุนทั่วโลก รวมถึงเทคนิคเลือกลงทุนให้พอร์ทของทุกคนอุ่นใจมากขึ้น กับความไม่แน่นอนในช่วงนี้ครับ
สำหรับช่วงวันที่ 11- 15 กรกฏาคม 2559 นั้น ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะเริ่มเข้าที่เข้าทางอีกครั้งหนึ่ง ความผันผวนที่ผ่านมาในสองสัปดาห์ก่อนก็ดูเหมือนว่าจะสงบลง แต่เรายังคงต้องวางแผนการลงทุนต่อไปครับผม เอาล่ะครับ มาเตรียมตัวให้พร้อมกันดีกว่าว่าสัปดาห์นี้ควรลงทุนอะไรบ้างครับ
สรุปภาพรวมประจำสัปดาห์ :
ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนลดลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือนที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก และธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณถึงการไม่ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งตรงนี้สำคัญครับเพราะว่ามันคือโอกาสที่ดีที่เราจะหันกลับมาใส่ใจตลาดหุ้นสหรัฐฯ อย่างจริงจัง ดังนั้นถ้ามีโอกาสผมยังคงแนะนำให้เพิ่มการลงทุนต่อไปครับ
ตลาดหุ้นยุโรป ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงแรงจากความกังวลต่อเศรษฐกิจชะลอตัวในยุโรป และอาจส่งผลไปถึงสถานะการเงินของธนาคารในยุโรป แต่ในสัปดาห์นี้การประชุมธนาคารกลางอังกฤษน่าจะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในความเห็นผมคิดว่าเราควรรักษาระดับการลงทุนไปก่อนครับ
ตลาดหุ้นจีน เดือน มิ.ย. เศรษฐกิจจีนเริ่มมีเสถียรภาพ รวมถึงความเสี่ยงของการไหลออกของเงินทุนลดลง เงินทุนสำรองต่างประเทศเพิ่มขึ้น และมูลค่าพื้นฐานมีความน่าสนใจ และอย่างที่ทราบกันดีว่าจีนเป็นประเทศที่พึ่งพาอุปสงค์ในประเทศมากกว่า จึงได้รับผลกระทบของความผันผวนที่น้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นยังยืนยันคำเดิมครับว่ามันคือโอกาสที่เราจะเพิ่มการลงทุนในจีนทั้งตลาด A-SHARE และ H-SHARE ต่อไปครับ
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น สำหรับทางญี่ปุ่นเอง ผมยังคงมีมุมมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) น่าจะออกมาตรการกระตุ้นเพื่อแทรกแซงค่าเงินเยนเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและมูลค่าพื้นฐานมีความน่าสนใจ ซึ่งจุดนี้อาจจะเป็นจุดที่ตลาดจะเริ่มมีการปรับตัวขึ้นสูง และเป็นโอกาสของเราที่จะเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนที่ญี่ปุ่นเช่นกันครับ
ตลาดหุ้นเกาหลี ถึงแม้ Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย แต่เศรษฐกิจเกาหลีมีการพึ่งพาการส่งออก ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ดังนั้นสัปดาห์นี้ผมอยากแนะนำแค่เพียงให้รักษาระดับการลงทุนต่อไปก่อนครับ
ตลาดหุ้นไทย ทางด้านตลาดหุ้นไทยนั้น ช่วงนี้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลาดหุ้นต่อเนื่องจากการคาดการณ์ภาวะดอกเบี้ยต่ำหลังจาก Fed ไม่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย และมีปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ผมจึงแนะนำให้ปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ตลาดหุ้นอินเดีย ยังคงมีเม็ดเงินต่างชาติไหลเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง ภาคเศรษฐกิจอินเดียยังคงมีพื้นฐานดี การบริโภคมีแนวโน้มฟื้นตัว แถมยังมีปริมาณน้ำฝนที่มากเป็นตัวสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ และจากสภาวะดอกเบี้ยต่ำทั่วโลกแบบนี้ ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้เงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นเอเชียเกิดใหม่ที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจดีอย่างอินเดียต่อไปอีกระยะหนึ่งครับ ดังนั้นในช่วงสัปดาห์นี้ผมอยากแนะนำให้ทยอยซื้อเพื่อลงทุนเพิ่มในตลาดหุ้นอินเดียกันครับ
เงินสดและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากสินทรัพย์เสี่ยงมีความผันผวน ควรเพิ่มการถือครองเงินสดและการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อรอจังหวะการลงทุนที่เหมาะสมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราต้องใส่ใจครับ ดังนั้นควรเพิ่มการถือครองเงินสดและกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นเหล่านี้ไว้ด้วยนะครับ
น้ำมัน ทางด้านราคาน้ำมันยังคงมีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบแคบ โดยการปรับตัวขึ้นจะเป็นไปอย่างจำกัดจากอุปทานที่ยังล้นตลาด แต่การปรับลงจะไม่รุนแรงโดยมีปัจจัยบวกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศไนจีเรียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งสถานการณ์ที่ทรงๆตัวแบบนี้ การคงการลงทุนไว้คงจะดีที่สุดครับ
ทองคำ สำหรับทองคำผมคาดว่าปัญหาในอังกฤษจะไม่ส่งผลต่อเนื่องรุนแรงสู่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวต่อเนื่องจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำลง แบบนี้เห็นทีคงต้องลดการลงทุนทองคำซะแล้วครับ (ถ้าใครมีกำไรทองคำในช่วงนี้ จัดการให้ดีกันนะครับ)
ตราสารหนี้ไทย ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทยช่วงอายุ 1-3 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของต่างประเทศ หลัง Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยจากการประชุมในเดือนที่ผ่านมา การถือครองตราสารหนี้ไว้ถือเป็นตัวช่วยในการกระจายความเสี่ยง ดังนั้นคงการลงทุนไว้ที่จุดนี้ดีที่สุดครับ
จบกันไปอีกแล้วครับ สำหรับการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในสัปดาห์ที่ 5 กับผม “อัศวินกองทุน” หวังว่าข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะสามารถช่วยให้นักลงทุนทุกท่านตัดสินใจในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามความต้องการได้อย่างเหมาะสมนะครับ ถ้าใครสังเกตดีๆ จะเห็นว่าสัปดาห์นี้เป็นโอกาสในการลงทุนทั้งตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) อย่างสหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น รวมถึงตลาดหุ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา (Emerging Market) อย่างประเทศจีน และ อินเดีย ที่ผมแนะนำให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนใช่ไหมครับ ซึ่งนี่แหละครับคือการตอกย้ำว่า ผลกระทบของเศรษฐกิจทั้งโลกนี้กำลังเชื่อมโยงกันอย่าง