การวางแผนแบ่งเงินไว้ใช้จ่ายนั้นมีหลายแนวคิด ไม่ใช่การทำตามแบบเป๊ะๆ แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนคนต้นแบบ เพราะปัจจัยแวดล้อมของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน จึงทำให้แผนที่วางไว้ก็จะไม่เหมือนกันด้วย เราทำได้เพียงอ่านแล้วนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับสไตล์การใช้เงินของตนเองมากที่สุด
สมการอภินิหารเงินออม
รายได้ - เงินออม - หนี้สิน = รายจ่ายส่วนตัว
สมการนี้มีแนวคิดแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน คือ
- เงินออม คือ เงินเก็บเพื่อความฝันต่างๆ เพื่ออนาคตของเรา
- หนี้สิน คือ การนำเงินในอนาคตมาใช้ในปัจจุบันแล้วเราจะต้องผ่อนจ่ายคืนทุกเดือน เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่จะสร้างความมั่งคั่งให้เราได้ในอนาคต เช่น หนี้บัตรเครดิต การผ่อนบ้าน การผ่อนรถ หนี้เพื่อการศึกษา เป็นต้น
- รายจ่ายส่วนตัว คือ รายจ่ายในชีวิตประจำวันทีจะทำให้เรามีลมหายใจได้ในปัจจุบัน
จากสมการอภิหารเงินออม อธิบายอย่างละเอียดได้ว่าเมื่อรายได้เข้ามาแล้ว เราจะนำไปออมทันทีจะกี่ % ก็ว่ากันไป จากนั้นก็นำเงินไปชำระเจ้าหนี้ สุดท้ายเหลือเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น เราก็จะรู้ว่าขอบเขตการใช้เงินของเรา ถ้าจะอ่านเกี่ยวกับวางแผนบัญชีเงินเดือนอย่างละเอียดนั้น อ่านได้ที่ “4 ขั้นตอนสร้างบัญชีเงินเดือนขั้นเทพ” คลิกอ่านได้ที่ https://aommoney.com/?p=15325 นะจ๊ะ
หลังจากเราเขียนบทความนี้ผ่านไปสักพัก ก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า “ วางแผนบัญชีเงินเดือนแล้วต้องยังไงต่อ” ในช่วงเดียวกันก็มีแฟนเพจ Inbox มาถามว่า “แอดมินมีแบบประกันชีวิตตัวไหนที่น่าสนใจคะ” ในใจก็คิดว่าแบบประกันมีเป็นร้อยไม่รู้จะแนะนำอะไรตัวไหนดี แต่เราก็เก็บสองคำถามนี้ไว้รอหาคำตอบ
จนกระทั่งมาเดินงาน Money Expo ที่เมืองทองแล้วมาเจอบูทของ iTAX ก็มีน้องหน้าใสกำลังส่งเสียงแจ๋วๆแนะนำโปรแกรมเปรียบเทียบแบบประกันชีวิตเพื่อมามาลดหย่อนภาษี
เฮ้ยยยย นี่มันใช่อ่ะ!! #ได้คำตอบให้ลูกเพจล่ะ
วิธีการควานหาแบบประกันชีวิตที่เหมาะกับเรา ในที่สุดก็มีคนทำให้ใช้งานแล้วที่สำคัญใช้ ฟรี!! อืม... ของฟรีแบบนี้ก็ต้องลองใช้หน่อยล่ะ เราก็เลยลองต่อยอดจากบทความเดิมที่เคยเขียนไว้ แล้วตัดมาเฉพาะส่วนของการวางแผนระยะยาวด้วยประกันชีวิต
ตัวอย่างบางส่วนจากบทความบัญชีเงินเดือนขั้นเทพ
ที่มา : 4 ขั้นตอนสร้างบัญชีเงินเดือนขั้นเทพ https://aommoney.com/?p=15325
จากภาพนี้จะเห็นว่าเราวางแผนแบ่งเงินไว้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญเดือนละ 1,800 บาทตกปีละ 21,600 บาท แต่แบบประกันมีตั้งหลายแบบ หลายบริษัท ผลประโยชน์ก็แตกต่างกัน ถ้าคุยให้ครบทุกบริษัทเพื่อหาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดก็คงเสียพลังงานชีวิตไปเยอะมาก แค่คิดก็เหนื่อยละ #เพลีย
แต่ว่า….เทคโนโลยีทำให้ชีวิตเราง๊ายง่าย ขอบคุณที่ทาง iTAX ช่วยคิดโปรแกรมตัวนี้ขึ้นมา (ใครสนใจเรื่องภาษีก็ไปส่อง Fb กันได้ที่ https://www.facebook.com/itaxthailand) เพราะมันจะช่วยเป็นตัวกรองขั้นต้นเพื่อหาแบบประกันที่เหมาะกับสภาพคล่องในกระเป๋าของเรา อาจจะไม่ครอบคลุมประกันทุกบริษัทที่มีในตลาด แต่อย่างน้อยเราก็สามารถตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออกไปได้ จะรออะไร รีบไปใช้งานฟรีกันได้เลยยยยยย
“หาแบบประกันชีวิตที่ใช่” ง่ายกว่านี้มีอีกไหม
เริ่มค้นหาแบบประกันชีวิต
เข้าไปหน้าแรกจะให้เราเลือกว่าจะ “ค้นหาเป็นรายตัวหรือดู Top 5” ถ้าเราไม่รู้จะเลือกอะไรก็ให้กดช่อง “ดู Top 5” เพื่อจะได้เปรียบเทียบแบบประกันชีวิต
ค้นหาประกันเพื่อประหยัดภาษี https://www.itax.in.th/market/find_insurance
ใส่ข้อมูลเพื่อเลือกแบบประกัน
เลือกแบบประกันที่เราสนใจ (มี 4 ประเภท คือ คุ้มครองตลอดชีพ คุ้มครองตามช่วงระยะเวลา ออมทรัพย์และแบบบำนาญ) ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเป้าหมายแตกต่างกันออกไป เมื่อเลือกเสร็จแล้วก็ใส่เบี้ยประกันตามงบที่ตั้งไว้ ในกรณีนี้เราใช้ตัวอย่างของประกันแบบบำนาญ จากภาพแรกเรากันเงินไว้จ่ายเบี้ยประกันเดือนละ 1,800 บาท รวมแล้วเป็นเบี้ยประกันปีละ 21,600 บาท จะมีแบบประกันชีวิตอะไรติด Top 5 บ้าง มาดูกันได้เลยจ้า
เปรียบเทียบแบบประกันชีวิต
วิธีการที่ iTAX นำมาใช้เปรียบเทียบกรมธรรม์นั้นจะมองความคุ้มค่าของแบบประกันแล้วให้คะแนน iTAX Score มีคะแนนเต็ม 5 ที่คิดมาจากปัจจัยหลักๆ คือ
- อายุ ⇒ ยิ่งอายุมากขึ้น เบี้ยประกันยิ่งแพงขึ้น
- เพศ ⇒ ผู้หญิงและชายจ่ายเบี้ยแตกต่างกัน
- เบี้ยประกันชีวิต ⇒ จำนวนเงินที่เราจ่ายรายเดือนหรือรายปี (สร้างวินัยการออมได้นะจ๊ะ)
- ทุนประกันชีวิต ⇒ เป้าหมายจำนวนเงินที่เราต้องการเก็บให้ครบ
- ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) ⇒ เรียกง่ายๆว่าอัตราดอกเบี้ย นั่นเอง
- เป้าหมายการทำประกันชีวิต ⇒ เรามองที่เรื่องความคุ้มครองหรือผลตอบแทนเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมนี้จะเปลี่ยนน้ำหนักการให้คะแนนตามเป้าหมายการทำประกันของเรา (เดี๋ยวจะมีตัวอย่างให้ดูนะจ๊ะ)
ตัวอย่าง Top 5
ข้อมูล เพศหญิง อายุ 25 ปี เบี้ยประกันประมาณ 21,600 บาท ต้องการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ความคุ้มครองและผลตอบแทนอยู่ระดับปานกลาง โปรแกรมจะคำนวณแล้วได้ผลลัพธ์ 5 อันดับ ดังนี้
จากภาพนี้เราจะเห็นว่า….
- แบบประกันที่ตรงกับเงื่อนไขของเรา
- iTAX Score ที่ยิ่งสูงยิ่งดี
- จำนวนเบี้ยประกันที่ไม่เกินงบที่ปีละ 21,600 บาท
- จำนวนเงินที่ลดหย่อนภาษี
- ทุนประกัน
- ผลตอบแทนต่อปี
- หากสนใจสามารถติดต่อพูดคุยกับตัวแทนขายได้
ถ้าเราลองกดเปลี่ยนเงื่อนไขไปเรื่อยๆก็จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เช่น
เพศ : เงื่อนไขเหมือนเดิม แต่ลองเปรียบเทียบเบี้ยประกันระหว่างเพศหญิงและชาย ตัวโปรแกรมก็จะแนะนำแบบประกัน 5 อันดับแรกที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์ : เงื่อนไขเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป้าหมายว่าเน้นผลตอบแทนหรือความคุมครอง ผลล