อีกครั้งกับหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เลือกอย่างไรให้ Happy !

 

          สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ แต่การกลับมาพบกันไม่ได้หมายถึงตัวผมแต่อย่างใด แต่เป็นการกลับมาพบกันอีกครั้งของ หุ้นกู้ตัวใหม่ที่กำลังจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนได้ลงทุนกันครับ นั่นก็คือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนจากบมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง CPALL เอง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพีเหมือนกัน ก็ได้ออกหุ้นกู้ลักษณะคล้าย ๆ กันออกมาก่อนหน้านี้ครับ

 

          โดยในครั้งนี้ทาง บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) กำลังจะเสนอขาย หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดและมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ย ที่มีอันดับเครดิตของหุ้นกุ้ระดับ “A-"

 

          ซึ่งก็ถือว่าบริษัทเรทติ้งได้ให้อันดับเครดิตที่ค่อนข้างดีครับ เนื่องจากบริษัท CPF นั้น ถือเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก อีกทั้งยังจดทะเบียนใน SET50 และ ยังมีจุดเด่น เช่น มีสินค้าที่หลากหลาย และตลาดที่หลากหลาย และกลยุทธ์การดำเนินงานที่ดีมาอย่างยาวนาน โดยธุรกิจของบริษัท ในทางกลุ่มปศุสัตว์เองก็ถือว่าครบวงจร มีทั้งกลุ่มที่เป็นสัตว์บกและกลุ่มสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอาหาร ตลอดจนธุรกิจอาหารสัตว์ รวมถึงการส่งออกไปทั่วโลกอีกด้วยครับ

 

          และ เนื่องจากบริษัทต้องการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทให้เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจของบริษัทในอนาคต  และเพื่อปรับสัดส่วนโครงสร้างของอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ในระดับที่ดี จึงเป็นที่มาของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนนั่นเองครับ

 

ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนนะครับว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิคืออะไร

 

          หุ้นกู้ก็คือ ตราสารหนี้ประเภทหนึ่งครับ โดยการที่ บริษัทเอกชน ได้ทำการขอกู้ยืมเงิน จากนักลงทุนรายย่อยบ้าง สถาบันบ้าง เพื่อนำเงินมาหมุนเวียน หรือนำมาใช้เกิดประโยชน์กับบริษัทส่วนผู้ที่มาเป็นเจ้าหนี้อย่างนักลงทุน ก็จะได้ผลตอบแทนที่เราเรียกว่าดอกเบี้ย

 

“พูดง่าย ๆ ครับ เราเป็นเจ้าหนี้ของ บริษัทนั่นเอง”

 

          โดยเราจะได้อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทบอกว่าจะจ่ายให้ปีละกี่ % และ ได้เงินต้นคืนเท่าไหร่ ราคาตอนเริ่มซื้อเท่าไหร่ โดยเราจะเรียกการกู้ยืมแบบนี้โดยรวม ๆ ว่า ตราสารหนี้ครับ

 

          ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ก็คือ หุ้นกู้ที่จะได้รับการชำระหนี้ต่อจากหนี้สามัญและหุ้นกู้ธรรมดาของบริษัท หากบริษัท ฯ มีความจำเป็นที่ต้องปิดกิจการไปครับ จากนั้น ถ้ายังมีสินทรัพย์หรือว่า เงินเหลือ จึงจะจ่ายเงินให้กับ ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนต่ออีกที แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินก่อน ผู้ถือหุ้นทั่วไป ส่วนที่มีลักษณะคล้ายทุนก็ตรงที่ว่า สิทธิในการไถ่ถอนของหุ้นกู้ตัวนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อยกเลิกกิจการไป (เราเรียกว่า Hybrid Bond) หรือเมื่อบริษัทใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งคือหลังครบกำหนดปีที่ 5 เป็นต้นไป

 

image00

คราวนี้เรามาดู รายละเอียดกันดีกว่าครับ ว่าหุ้นกู้ตัวนี้ มีการจ่ายดอกเบี้ยอย่างไร

image01

4. อ้างอิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ณ วันที่ 17 มกราคม 2560 ซึ่งเท่ากับ 2.17%
5. ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี อ้างอิงได้ที่ http://www.thaibma.or.th/yieldcurve/YieldTTM.aspx

 

โดยดอกเบี้ยนั้นจะมีการจ่ายทุก ๆ 6 เดือน โดยใน

1-5 ปีแรกจะจ่ายแบบอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 5% โดยคิดจาก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปี + ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น (2.83%)

ปีที่ 6-25 ก็จะมีการจ่ายดังนี้คือ จ่ายด้วย อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี* + ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น(2.83%) + อัตราเพิ่ม 0.25%

ปีที่ 26-50 ก็จะมีการจ่ายดังนี้คือ จ่ายด้วย อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี* + ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น(2.83%) + อัตราเพิ่ม 1.00%

และในปีที่ 51 เป็นต้นไป จ่ายด้วย อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี* + ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น(2.83%) + อัตราเพิ่ม 2.00%

ประมาณว่ายิ่งถือยาวก็ยิ่งได้ดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้นไปด้วยครับ *โดยหุ้นกู้นี้จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 5 ปีตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปีนะครับ

          โดยหุ้นกู้ตัวนี้จะมีเรื่องที่นักลงทุนเองควรจะต้องทราบ และพิจารณาอยู่ด้วย คือ หุ้นกู้ตัวนี้ อาจจะมีการถูกไถ่ถอนก่อนกำหนดได้ครับ โดยหลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไป

 

          นอกจากนี้ ผู้ออกหุ้นกู้เองก็มีสิทธิ์ในการเลื่อนจ่ายดอกเบี้ยได้ครับ แต่ก็จะต้องสะสมไว้เอามาจ่ายให้กับนักลงทุนต่อไป ตัวอย่างเช่นถ้าหากคิดตามระยะเวลา 5 ปีแรก โดยที่สะสมมาจ่ายให้กับนักลงทุนในปีที่ 5 เลย ผลตอบแทนจะประมาณ 4.56% ต่อปี (ลดลงนิดหน่อย ตามหลักมูลค่าเงินตามเวลาครับ)

image02

 

          จากตารางข้างบน คือผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปี ในกรณีที่ทางบริษัท ฯ ไม่จ่ายดอกเบี้ย และตัดสินใจไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนดครับ แต่ถ้าบริษัทไม่จ่ายดอกเบี้ยให้ละก็ บริษัทเองก็ห้ามจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นนั่นเองครับ แน่นอนว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท คงจะไม่พอใจหากไม่ได้เงินปันผลครับ ดังนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นจุดที่กระตุ้นให้ทางบริษัท มีแนวโน้มที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้กับเรา

 

          ดังนั้น “หุ้นกู้” แบบนี้ น่าจะเหมาะกับคนอยากลงทุนระยะยาว ๆ จริง ๆ รวมถึง เงินที่เอามาลงทุนนั้นต้องไม่มีภาระทางการเงินใด ๆ หรือเรามักจะเรียกว่าเงินเย็นครับ และต้องพิจารณา หรือประเมินแล้วว่า ผลตอบแทนที่ได้นั้นคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไปครับ

 

          และต้องคิดเสมอว่า หุ้นกู้ตัวนี้มีโอกาสที่หุ้นกู้จะถูกยกเลิก

Dr.Nut

Dr.Nut

GURU aomMONEY ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกองทุน การลงทุน และการเงิน

Related Story