เมื่อวานตอนหัวค่ำระหว่างกำลังเดินทางกลับจากที่ทำงาน บ.ก. aomMONEY แอบได้ยินเสียงคนข้างๆ บน BTS บ่นกันเรื่องโควิด-19 ที่ดูท่าทีจะแย่ลง รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ดูจะซบเซาในช่วงนี้ครับ ระหว่างนั้นตัว บ.ก.เองเปิดอ่านกระทู้ Pantip ก็เจอแต่โพสต์ ถูกพักงานบ้าง ถูกจ้างออกบ้าง บางโพสต์ก็เจอให้ลาพักแบบไม่รับเงินเดือนบ้าง บางคนแย่หน่อยก็ถึงกับหมุนเงินไม่ทัน เพราะใช้เดือนชนเดือนมาตลอด

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เอง ทำให้นึกไปถึงเรื่องของ “เงินสำรองฉุกเฉิน” ขึ้นมาครับ เพราะส่วนใหญ่คนจะสนใจกันแต่การลงทุน ตามหากำไร จนหลงลืมเรื่องนี้ไปเลย วันนี้ aomMONEY ก็เลยถือโอกาสพูดเรื่องนี้เสียเลยครับ 

? เงินสำรองฉุกเฉิน คืออะไร ต่างจากเงินออมมั้ย?

เงินสำรองฉุกเฉิน ก็คือเงินออมนั่นแหละครับ แต่จุดประสงค์ของมัน ไม่ได้มีไว้เพื่อการลงทุนให้เงินก้อนนี้มีดอกผลงอกเงย แต่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเงินก้อนไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ตกงานไม่มีรายรับเข้ามา หรือเจ็บป่วยกะทันหันครับ ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉินนี้ควรเป็น “เงินก้อนแรก” ที่เราควรมี ก่อนที่จะหันไปเริ่มต้นลงทุนอย่างอื่นเลยครับ 

? เงินสำรองฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่?

เงินสำรองฉุกเฉินนั้นควรมีให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของเราต่อเดือนอย่างน้อย 6 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครับ ตัวอย่าง บ.ก.มีค่าใช้จ่ายที่ตายตัวเดือนละ 17,500 บาท มาจาก...

? ค่าที่พักอาศัย 4,000 บาท 

? ค่าน้ำ-ไฟ-อินเตอร์เน็ต 1,000 บาท

? ค่าเดินทางไปทำงาน 2,000 บาท

? ค่าโทรศัพท์ 500 บาท

? เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 10,000 บาท

เพราะฉะนั้น บ.ก.ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน : 17,500 x 6 = 105,000 บาท ครับ

? เงินสำรองฉุกเฉิน ต้องเก็บไว้ที่ไหน? 

เพื่อนๆ หลายคนอาจจะบอกว่ามีเงินเก็บฉุกเฉินแล้วครับ สบายมาก มีทั้งในกองทุนเอย หุ้นเอย LTF RMF ฉลากออมทรัพย์อีก รวมกันเกิน 6 เดือนแน่นนอน ซึ่งคิดแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดนะครับ 

แต่วิธีการเก็บเงินในรูปแบบนี้ “มันมีสภาพคล่องจำกัด” ไม่เหมาะกับการเป็นที่เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ลองคิดตามนะครับ สมมติหากเราต้องใช้เงินทันที แต่กองทุนราคาตกอยู่ แต่ก็จำเป็นต้องขายออกมาเพราะต้องการเงินสด แบบนี้เราก็ขาดทุนจริงมั้ยครับ แถมมีระยะเวลาที่ต้องรอด้วย 

เพราะฉะนั้น aomMONEY ขอแนะนำว่า เป็นพวกบัญชีออมทรัพย์ที่ถอนออกมาได้เลยทันที หรือเงินฝากประจำระยะสั้น 3-6 เดือน และไม่มีความเสี่ยงจากการขาดทุนจะดีกว่าครับ  

ลองดูข้อมูลบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงเพิ่มเติมได้จากบทความนี้เลยครับ รวม 7 บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง! สำหรับมนุษย์เงินเดือน  https://bit.ly/2IImfr9 

? วิธีเริ่มต้นเก็บ เงินสำรองฉุกเฉิน

บ.ก.ขอแนะนำแบบนี้ครับ ปกติเราจะแนะนำให้เก็บเงินอย่างน้อย 10% ของราย แต่ถ้าเรานำเงินก้อนนี้ไปเก็บไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน กว่าจะครบตามเป้าก็คงต้องใช้เวลานาน และอาจจะหมดกำลังใจกับการเก็บเงินก่อน ดั้งนั้นแนะนำว่าให้เราเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉินด้วยการ แบ่งเงินเก็บ 10% ออกเป็น 2 ก้อน

? ก้อนที่ 1 เก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน 5%

? ก้อนที่ 2 นำไปลงทุน 5%

ที่นี้เราก็จะมีทั้งเงินสำรองฉุกเฉินและเงินออมเพื่อการลงทุนไปพร้อมๆ กันแล้วครับ หรือถ้าใครเก็บเงินมากกว่า 10% ก็ให้แบ่งเป็น 2 ก้อน เท่า ๆ กันได้ครับ

?คำแนะนำจาก บ.ก.aomMONEY .

เพื่อนๆ หลายคนเห็นสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีในช่วงนี้ อาจจะรู้สึกว่าเงินสำรอง 6 -12 เดือนนี้อาจจะน้อยไป ถ้าอยากเก็บมากกว่านี้ได้ไหม คำตอบ คือ ได้ครับ 

แต่ความคิดเห็นส่วนตัว บ.ก.มองว่า ภายใน 6 เดือน เราน่าจะสามารถหางานใหม่หรือรายรับในรูปแบบอื่นเข้ามาได้แล้วครับ เงินก้อนนี้ ไม่ได้งอกเงยขึ้นเหมือนกับการลงทุน ดังนั้นเราไม่ควร “เสียโอกาส” ในการใช้เงินทำงานครับ

สุดท้าย.อยากฝากว่า “ปัญหาเรื่องเงิน” เป็นปัญหาที่ทุกคนเคยเจอครับ และ บ.ก.มีเชื่อว่า “ถ้าเรามีแผนการจัดการการเงินที่ดี เราจะผ่านพ้นไปได้ในทุกช่วงวิกฤตครับ” 

เงินสำรองฉุกเฉิน


ขอบคุณครับ 

บ.ก.aomMONEY 

 


ติดตามเรื่องการเงินการลงทุน จาก aomMONEY

? Website : www.aomMONEY.com

? Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH

? กลุ่มกองทุนไหนดี : https://www.facebook.com/groups/SelectedFund/