หลาย ๆ คนคงได้ยินข่าวมาว่า นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย มีประกาศที่จะให้ประเทศไทยเป็น "เจ้าภาพบอลโลก" ในปี 2034 ร่วมกับอีก 3 ประเทศอาเซียน ใช่แล้วครับทุกคน เราอ่านกันไม่ผิดหรอก ตอนนี้ท่านนายกลูกหนังของเราพร้อมแล้ว ประเทศไทยล่ะพร้อมหรือยัง? ไปดูกัน
FIFA เลือก "เจ้าภาพบอลโลก" จากอะไร?
การที่จะได้เป็น เจ้าภาพบอลโลก แต่ละประเทศจะต้องเสนอชื่อเพื่อให้ทางฟีฟ่าพิจารณา โดยทางฟีฟ่าจะพิจารณาตั้งแต่เรื่อง ความปลอดภัยของประเทศ การสนับสนุนจากรัฐบาล ไปจนถึงมาตราฐานของสนามแข่งขัน และทางฟีฟ่าได้กำหนดมาตราฐานของสนามแข่งขันไว้ 3 ข้อคือ
- สนามที่มีความจุ 80,000 คน 1 สนาม สำหรับพิธีเปิดและรอบชิงชนะเลิศ
-
สนามที่มีความจุ 60,000 คน 2 สนาม สำหรับรอบรองชนะเลิศ
-
สนามที่มีความจุ 40,000 คน 10 สนาม สำหรับการแข่งขันทั่วไป
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สนามแข่งขันจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยที่ดี การคมนาคมที่สะดวก ที่ทำให้ฟีฟ่ามั่นใจว่าประเทศนี้แหละเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าภาพ
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงจะสงสัยล่ะสิว่า... แล้วประเทศไทยล่ะ มีสนามการแข่งขันที่ว่ามานี้หรือเปล่า?
ตอนนี้ถ้าให้พูดถึงสนามการแข่งขันที่จุคนได้มากที่สุดของประเทศไทย คงจะไม่พ้นสนามราชมังคลากีฬาสถาน ที่สามารถจุคนได้ประมาณ 45,000 คน นี่ยังไม่พูดถึงมาตราฐานความปลอดภัยเลยนะ แค่นึกก็จะเป็นลมแล้ว ไหนจะเรื่องของการคมนาคม และสนามการแข่งขันอื่น ๆ อีก... ไม่รู้จะต้องหลับอีกกี่ตื่นถึงจะได้เห็นกัน
เพราะอย่างนั้น เราจะต้องใช้เงินในการพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้พร้อมสำหรับการเป็น เจ้าภาพบอลโลก ว่าแต่.. เป็นเจ้าภาพทั้งทีจะต้องใช้เงินเท่าไหร่? เรามาดูค่าใช้จ่ายย้อนหลังในแต่ละปีกันค่าใช้จ่ายย้อนหลังของเจ้าภาพบอลโลกที่ผ่านมา
-
ปี 2010 ประเทศแอฟริกาใต้ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,600 ล้านดอลลาร์ (1.2 แสนล้านบาท)
-
ปี 2014 ประเทศบราซิล มีค่าใช้จ่ายประมาณ 5,400 ล้านดอลลาร์ (1.7 แสนล้านบาท)
-
ปี 2018 ประเทศรัสเซีย มีค่าใช้จ่ายประมาณ 12,00 ล้านดอลลาร์ (4 แสนล้านบาท)
พอมองกลับมาที่บ้านเรา ถ้าจะให้คำนวณจริง ๆ คงจะเป็นเรื่องยาก... งั้นทางเราจะประมาณค่าให้คร่าว ๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับประเทศไทย
-
สนามความจุ 80,000 ค่าใช้จ่ายในการสร้าง 5 พันล้านบาท
-
สนามความจุ 60,000 ค่าใช้จ่ายในการสร้าง 4 พันล้านบาท
-
สนามความจุ 40,000 ค่าใช้จ่ายในการสร้าง 3 พันล้านบาท
ข้อดีและข้อเสียจากการเป็นเจ้าภาพบอลโลก
-
ข้อดี แน่นอนการที่เราเป็นเจ้าภาพเราก็จะได้เปรียบในเรื่องของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ การโปรโมท ค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด แต่นั่นก็ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนการตลาดที่ดีด้วยนะครับถึงจะได้กำไร
-
ข้อเสีย อย่างแรกคือใช้งบประมาณมหาศาลแน่นอนครับ ทุก ๆ เรื่องต้องใช้เงินเสมอ อย่างที่สองคือต้องมีความรับผิดชอบและมาตราฐานที่สูง ทุกคนอาจจะยังจำการเป็นเจ้าภาพฟุตซอลโลกครั้งล่าสุดของประเทศไทยได้อย่างดี มีปัญหาในเรื่องของการสร้างสนามล่าช้า เรื่องนี้เกี่ยวข้องถึงภาพลักษณ์ของประเทศเจ้าภาพอย่างแน่นอน
ตอนนี้เราก็ได้เห็นภาพรวมของการเป็นเจ้าภาพบอลโลกกันมาบ้างแล้วนะครับ ก็เป็นกำลังใจให้กับท่านนายกลูกหนังที่จะพาประเทศไทยก้าวไปสู่บอลโลกในอีก 16 ปีนะครับ :)
Reference : https://www.fifa.com/mm/document/affederation/administration/01/39/20/45/web_fifa_fr2010_eng[1].pdf https://www.fifa.com/mm/document/affederation/administration/02/56/80/39/fr2014weben_neutral.pdf https://www.usatoday.com/story/sports/soccer/2017/10/24/russias-2018-world-cup-costs-grow-by-600m/106953076/ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก aomMONEY
Website : www.aomMONEY.com
Youtube : https://www.youtube.com/AommoneyTH
กลุ่มกองทุนไหนดี : https://www.facebook.com/groups/SelectedFund/
ทีมกองบรรณาธิการ aomMONEY