ประเด็นแรกที่สำคัญ นั่นคือ ค่าน้ำมันที่ว่านีเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือเปล่า? เพราะถ้าหากเป็นรายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหากำไรเพื่อธุรกิจแล้ว ค่าน้ำมันในส่วนนี้ก็ไม่สามารถจะเป็นรายจ่ายของธุรกิจได้ครับ


ประเด็นต่อมา คือ ค่าน้ำมันที่ว่าต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายที่ชัดเจน เช่น ใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีค่าน้ำมัน พร้อมรายละเอียดทะเบียนรถคันที่เติมน้ำมันนั้นอย่างครบถ้วน

หากเป็นรถที่ใช้ในธุรกิจ รถคันดันกล่าวควรเป็นทรัพย์สินของบริษัทหรือห้างฯด้วย แต่ถ้าหากไม่เป็น ควรจะมีสัญญาการเช่ารถหรือการใช้งานรถที่เหมาะสม เพื่อยื่นยันในทางหลักฐานว่าการใช้งานดังกล่าวไม่ใช่เรืองส่วนตัวครับ

หลักฐานที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ รายละเอียดการเบิกจ่ายค่าน้ำมัน ต้องมีหลักฐานและรายละเอียดที่น่าเชื่อถือได้ ตามประเด็นในข้อถัดไปครับ


สำหรับ ประเด็นสุดท้าย เรื่องระเบียบการเบิกจ่ายค่าน้ำมันนั้น แนวทางของกรมสรรพากรได้ให้ไว้ตามนี้ครับ

ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องาน โดยระบุ ระยะเวลาการเดินทางเส้นทาง ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์พร้อมกับใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน (จะเห็นว่าเอกสารในประเด็นที่ 2 และ 3 นั้นต้องสอดคล้องกัน)

และเมื่อทำครบทั้ง 3 ประเด็นที่ว่ามา ก็มั่นใจได้เลยครับว่า ค่าใช้จ่ายน้ำมันดังกล่าวสามารถเป็นค่าใช้จ่ายธุรกิจได

อ้างอิง : ข้อหารือที่กค 0706/6969 และ กค 0702/88 จากเวปไซด์กรมสรรพากร


ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ

#ค่าน้ำมัน #ภาษีธุรกิจ
#ภาษีเงินได้นิติบุคคล #รายจ่ายต้องห้าม
#พรี่หนอมสอนภาษ๊ธุรกิจ