แรกเร่ิมคือจำนวนผู้ก่อการ หรือ ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจ ตรงนี้ห้างหุ้นส่วนจะได้เปรียบกว่า เพราะว่าสามารถเริ่มต้นได้โดยมีผู้เริ่มก่อการแค่ 2 สอง ในขณะที่บริษัทต้องเร่ิ่มต้นที่ 3 คนขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอาจจะสามารถจดในรูปแบบบริษัทคนเดียวได้ แต่ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อกฎหมายรองรับออกมา จึงทำให้ยังต้องเริ่มกันที่ 3 คนครับ


ว่ากันว่า ความรับผิดชอบของธุรกิจนั้น ห้างหุ้นส่วนจะมีความรับผิดชอบมากกว่าบริษัท โดยแยกความแตกต่างดังนี้

- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ไม่มีจำกัดความรับผิด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำกัดความรับผิดแค่หุ้นสว่นจำกัด
- บริษัท จำกัดความรับผิดแค่ค่าหุ้นที่ค้างชำระเท่านั้น

ฟังดูแล้วความรับผิดชอบบริษัทจะน้อยกว่าในรูปแบบอื่น แต่ถ้าหากกรรมการของบริษัท ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยการทำงานนั้นๆไม่อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้วล่ะก็ กรรมการเองก็สามารถูกฟ้องร้องใ้ห้รับผิดได้เช่นเดียวกัน (มาตรา 76 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)


ว่ากันว่าการทำธุรกิจในรูปแบบบริษัทนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีอำนาจในการเติบโต รวมถึงการขอสินเชื่อง่ายกว่า ซึ่งตรงนี้ไม่ได้มีหลักฐานยืนยันชัดเจนทางด้านกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของความเชื่อถือในการทำธุรกิจที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ

ถ้าหากคุณต้องการกู้ธนาคาร หรือต้องการได้รับความเชื่อถือในการทำธุรกิจ การจดบริษัทอาจจะมีผลดีกว่าก็เป็นได้


อำนาจในการบริหารงานห้างหุ้นส่วน จะเริียกว่า หุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับผิดไม่จำกัดของห้างหุ้นส่วน ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างฯ

ในขณะที่บริษัทใช้กรรมการในการบริหารงาน ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น

การจัดการของบริษัทจะมีความคล่องตัวกว่าห้างหุ้นสว่น ในเรื่องของการโอนหุ้น และจะมีโอกาสการขยายกิจการได้ง่ายกว่าจากการระดมทุนในวิธีต่างๆ 


ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนถูกกว่าบริษัท ตามทุนที่จดทะเบียน โดยห้างฯจะเริ่มต้นที่ 1,000 บาทส่วนบริษัทจะเริ่มที่ 5,000 บาท และห้างฯ จะค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท ส่วนบริษัทค่าธรรมเนียมสูงสุด 250,000 บาท)

นอกจากนั้นยังบริษัทฯมีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพิ่มเติมด้วย

สำหรับค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจและรายการเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดี หากมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน ห้างหุ้นส่วนมักจะถูกคิดในอัตราที่ต่ำกว่า

ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบบัญชี ห้างหุ้นขนาดเล็กที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงลายมือชือในการนำส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ยังคงต้องให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรหรือผู้สอบบัญชีออกรายงานเพื่อรับรองต่อกรมสรรพากร (ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าได้) 


ติดตามความรู้เรื่องภาษีสำหรับคนทำธุรกิจได้ที่แฟนเพจ พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่ Line @BizTaxThai หรือคลิกที่ลิงค์
https://line.me/ti/p/@biztaxthai ครับ

#ภาษีธุรกิจ #รูปแบบนิติบุคคล
#ห้างหุ้นส่วน #บริษัท 
#พรี่หนอมสอนภาษีธุรกิจ