มุมมองการเลือกโรงเรียนของพ่อแม่แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะมองว่าเข้าเรียนที่ไหนก็ได้รับความรู้เหมือนกัน ในขณะที่บางคนมองว่าอยากให้ลูกได้ทั้งความรู้ เพื่อนและสังคม เพื่อให้ความสัมพันธ์นี้ต่อยอดหน้าที่การงานได้ในอนาคต พ่อแม่หลายคนไม่ชอบระบบการสอนของโรงเรียนจึงเลือกที่จะสอนลูกเองอยู่ที่บ้าน มุมมองต่างๆเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายเรื่องของค่าเทอมแตกต่างกัน แต่มีแนวคิดการคำนวณเหมือนกัน อ่านจบแล้วนำไปปรับใช้กับแผนการศึกษาของลูกได้นะจ๊ะ


ถ้าทำเสร็จแล้วจะได้ภาพรวมออกมาเป็นประมาณนี้จ้า


เราควรตุนเงินค่าเทอมให้ลูกเท่าไหร่?


เริ่มต้นจาก...เราต้องการให้ลูกเรียนที่ไหน?


ไปส่องดูค่าเทอมโรงเรียนที่ต้องการให้ลูกเข้าเรียน ว่าแต่ละปีมีค่าเทอมเท่าไหร่ “เรียนที่บ้าน โรงเรียนรัฐ เอกชน นานาชาติ ต่างประเทศ มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน” แม้ว่าอนาคตไม่แน่ว่าลูกจะเรียนตามที่วางแผนไว้หรือไม่ แต่เราก็ยังอุ่นใจที่มีเงินเตรียมไว้แล้วบางส่วน (ข้อมูลค่าเทอมอยู่ท้ายบทความ)


จากภาพข้างบน เรานำข้อมูลค่าเทอมปัจจุบันมาใส่ช่องสีฟ้า “ตอนนี้” แล้วคำนวณค่าเทอมในอนาคตว่าจะกลายเป็นเท่าไหร่ (ช่องสีส้ม) เพราะเงินเฟ้อทำให้ค่าเทอมแพงขึ้นทุกปี 


เงินเฟ้อค่าการศึกษา

ค่าเทอมแพงขึ้นปีละ 6 - 7% มีบางโรงเรียนที่ค่าเทอมแพงขึ้นปีละ 10%

สมมติว่าตัวอย่างนี้ลูกเพิ่งเกิด วางแผนไว้ว่าช่วงอนุบาลค่าเทอมปีละ 40,000 บาท ส่วนประถมถึงปริญญาตรีปีละ 60,000 บาท อีก 4 ปีจะเข้าเรียน ควรเตรียมเงินชั้นอนุบาลไว้ประมาณเท่าไหร่?


เราควรตุนเงินค่าเทอมให้ลูกเท่าไหร่?


เราใช้เครื่องคิดเลขการเงินช่วยคำนวณได้ ( วิธีการใช้งานเครื่องคิดเลขการเงินพูดไว้ในคลิปนี้ https://bit.ly/3eNlfA5 ประมาณนาทีที่ 17 เป็นต้นไป ) 


ภาพนี้หมายความว่า ตอนนี้ค่าเทอม 40,000 บาท แพงขึ้นปีละ 6% อีก 4 ปีข้างหน้า เราต้องจ่ายเฉพาะค่าเทอมประมาณ 50,499 บาท คำนวณปีที่ 5 , 6 … ไปเรื่อยๆจนลูกเรียนจบตามที่เราตั้งใจไว้ สุดท้ายรวมกันว่าควรตุนเงินไว้เท่าไหร่ จากตัวอย่างนี้ใช้เงินรวมกันประมาณ 2,500,000 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาอื่นๆ เช่น มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ เรียนพิเศษ คอร์สซัมเมอร์ ฯลฯ



3 แนวทางวิธีเก็บเงิน


แนวทางที่ 1 เก็บแบบปีต่อปี

ปีหน้าจะต้องจ่ายค่าเทอมเท่าไหร่แล้ววางแผนเก็บเงินปีนี้ สมมติเราคำนวณมาแล้วว่าลูกจะเข้าเรียนปีหน้าจะต้องใช้เงิน 50,499 บาท เราเก็บไว้ที่เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เพื่อรักษาเงินต้นให้ปลอดภัย เรามีเวลาเก็บเงิน 12 เดือนที่ผลตอบแทน 1.5% เก็บเดือนละ 4,180 บาท โดยแยกบัญชีธนาคารไว้ต่างหาก ปีต่อไปก็เก็บสูงขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทุกปี


ข้อควรระวัง คือ ถ้าเดือนไหนสะดุดเก็บเงินไม่ได้ ทำให้เดือนต่อไปจะต้องเก็บมากขึ้น หรือระหว่างทางมีเหตุที่ต้องใช้เงินอาจจะถอนเงินค่าเทอมมาใช้จ่าย ทำให้ขาดสภาพคล่องช่วงที่จ่ายค่าเทอม


แนวทางที่ 2 ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมาจ่ายค่าเทอม

บางคนลงทุนกองทุนรวมเงินปันผลหรือหุ้นรายตัวระยะยาว ควรซื้อหุ้นขนาดใหญ่ เช่น SET 50 , SETHD เพราะเราจะได้รับเงินปันผลสม่ำเสมอ แม้ว่าบางปีจะได้รับไม่เท่ากันก็ตาม ส่วนวิธีการเลือกหุ้นมันมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ สามารถอ่านได้ในเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์ www.set.or.th


ตัวอย่าง การซื้อหุ้นลงทุนนระยะยาว เพื่อรับเงินปันผล

เรามีเงินก้อน 1,000,000 บาท เป็นของขวัญในวันแต่งงาน ตั้งใจว่าจะเก็บไว้ให้ลูกจึงนำไปซื้อหุ้น 1 บริษัท ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้รับเงินปันผลมาจ่ายค่าเทอมตามในภาพนี้ เมื่อลูกเรียนจบก็ให้หุ้นบริษัทนี้เป็นของขวัญเพื่อนำไปเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

เราควรตุนเงินค่าเทอมให้ลูกเท่าไหร่?

แม้ว่าภาพนี้เป็นจำนวนเงินปันผลในอดีต แต่ก็ทำให้เราพอคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะได้รับเงินปันผลประมาณเท่าไหร่ 


ข้อควรระวัง คือ เราควรมีความเข้าใจเรื่องการลงทุน ชัดเจนกับแผนการลงทุนของตัวเองและไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ของตลาด


แนวทางที่ 3 สร้างความแน่นอนให้แผนการศึกษาของลูก

แนวทางที่ 1 และ 2 ตอบโจทย์ตอนที่มีลมหายใจ เราอยู่ครบลูกเรียนจบแน่นอน ส่วนแนวทางที่ 3 เป็นเหมือนทางออกฉุกเฉิน กรณีเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิด เวลาชีวิตของเราหมดก่อนที่จะเห็นความสำเร็จของลูก แนวทางที่ 3 นี้ทำให้ลูกได้เรียนต่อจนครบตามที่เราวางแผนไว้เพราะมีเงินค่าเทอมเตรียมไว้ครบแล้ว


วิธีเก็บเงินที่สร้างความมั่นใจว่าแผนการศึกษาที่วางไว้ยังไปต่อได้แน่นอน คือ การทำประกันชีวิตแบบเน้นความคุ้มครองสูง มีอยู่ 2 แบบที่ได้รับเงินคืน คือ ประกันแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตควบการลงทุน เราควรเข้าใจว่ามันแตกต่างกันยังไงแล้วค่อยเลือกให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตัวเอง ลองตัวอย่างนี้น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น 


สมมติว่าเราเป็นผู้หญิงอายุ 30 ลูกเพิ่งเกิด คำนวณไว้ว่าควรตุนเงินค่าการศึกษาไว้ประมาณ 2,500,000 บาท (ตารางภาพแรกของบทความ) ต้องการสร้างความมั่นใจว่า แม้เราหมดเวลาชีวิตบนโลกนี้เร็วกว่าที่คิด เงินก้อนจากประกันชีวิตส่งต่อให้ลูกเรียนจบตามแผนที่วางไว้แน่นอน


=> ประกันชีวิตตลอดชีพ 

ความคุ้มครอง 2,500,000 บาท เบี้ยประกันปีละ 40,275 บาท จ่าย 20 ปี ได้รับเงิน 3 กรณี

1. ตั้งแต่อายุ 30-98 ปี เสียชีวิตตอนไหน ครอบครัวก็ได้รับเงิน 2,500,000 บาท เป็นแผนสำรองทำให้เรามั่นใจได้ว่าลูกเรียนจบตามที่ตั้งใจไว้แน่นอน

2. เราดูแลตัวเองดีอายุยืนถึง 99 ก็ได้รับเงินเกษียณมาดูแลตัวเอง 2,500,000 บาท ตอบโจทย์แผนเกษียณของตัวเองด้วย

3. ถ้าจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ เราสามารถกู้กรมธรรม์จากมูลค่าเงินสดมาใช้ได้ หรือปิดประกันนำเงินมาใช้ได้ ควรมากกว่าอายุ 56 เพราะมูลค่าเงินสดเกินเงินที่จ่ายเบี้ยไปแล้ว


=> ประกันชีวิตควบการลงทุน 

ความคุ้มครอง 2,500,000 บาท เบี้ยประกันชีวิตปีละ 12,000 บาท ควรจ่ายขั้นต่ำ 10 ปี  เรามีแผนสำรองดูแลครอบครัวและมั่นใจว่าลูกค่าเทอมแน่นอน แบ่งเป็น  4 กรณี

1. ทุพพลภาพมีเงินมาดูแลตัวเอง 2,500,000 บาท (ยังได้รับความคุ้มครองชีวิต)

2. ทุพพลภาพและเสียชีวิต 2,500,000 + 2,500,000 + เงินจากการลงทุน (ความคุ้มครองชีวิตหมดลง)

3. เสียชีวิตมีเงินดูแลครอบครัว 2,500,000 + เงินจากการลงทุน (ความคุ้มครองชีวิตหมดลง)

4. ถอนเงินจากการลงทุนมาใช้ได้ ควรเกิน 10 ปีไปแล้วจะไม่เสียค่าธรรมเนียมการถอน หากเงินค่าเทอมที่เตรียมไว้ไม่พอ เราถอนเงินก้อนนี้ออกมาได้



ข้อควรระวัง คือ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพและแบบควบการลงทุน แต่ละบริษัทมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน เราควรเข้าใจว่าแต่ละแบบเหมาะสมกับเป้าหมายอะไร ในขณะที่ประกันชีวิตแบบการลงทุนมีความซับซ้อน ต้องสอบถามตัวแทนที่มีใบอนุญาต IC และตัวเราเองก็ต้องมีความรู้เรื่องการลงทุนด้วยนะจ๊ะ


อ่านเพิ่มเติมเรื่องราวของประกันชีวิตควบการลงทุนได้ที่ลิงค์นี้จ้า

เราควรตุนเงินค่าเทอมให้ลูกเท่าไหร่?

ลิงค์นี้เลยจ้า => http://bit.ly/396KOJn


สรุปว่า…

เราวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะให้ลูกเรียนที่ไหน “เรียนที่บ้าน โรงเรียนรัฐ เอกชน นานาชาติ ต่างประเทศ” แม้ว่าอาจจะไม่ตรงกับที่ลูกเลือกในอนาคต แต่เราก็อุ่นใจที่เตรียมเงินไว้แล้ว หลังจากนั้นคำนวณเงินเฟ้อค่าการศึกษา 6-7% เข้าไปก็จะรู้ยอดที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น สุดท้ายเลือกวิธีการเก็บเงินที่เหมาะสมกับตัวเองจ้า



เพจอภินิหารเงินออม



-----------------------------------------


ประชาสัมพันธ์ 


-----------------------------------------



ข้อมูลค่าเทอม 

=> มาดูค่าเทอม 20 โรงเรียนประถมชื่อดังของไทย (ปี 2018)

https://teen.mthai.com/education/115580.html


=> อัพเดท!! ค่าเทอม 9 มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง ที่มีนักเรียนสมัครเรียนมากที่สุด (ปี 2017)

https://campus.campus-star.com/education/39447.html