ในช่วงปลายปีแบบนี้หลายคนมักจะถามว่า ประกันอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง? ผมเลยลองทำสรุปรวบรวมเงื่อนไขประกันที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีมาให้ทั้งหมดมี 4 ตัว ได้แก่ ประกันชีวิตตัวเอง ประกันสุขภาพตัวเอง ประกันสุขภาพพ่อแม่ และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ
แต่ถ้าหากเราลองพิจารณาเงื่อนไขทั้งหมดของประกันแบบต่างๆที่ใช้ลดหย่อนภาษี มาจับคู่กับความต้องการของชีวิตเรา เราจะพบว่าในแต่ละช่วงชีวิตของเรานั้น อาจจะมีความต้องการประกันแต่ละประเภทในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปครับ
โดยเทคนิคง่ายๆที่เราทุกคนควรใช้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันนั้น ผมมองว่า น่าจะเริ่มต้นจากความต้องการของตัวเองก่อน (เพราะความต้องการแต่ละคนไม่เหมือนกัน) และ บริหารจัดการเงินจ่ายค่าเบี้ยประกันให้จ่ายไหว เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายอย่างถูกต้อง (เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาภาษีตามมา)
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างกันครับ...
สำหรับคนที่อยู่ในวัยเริ่มต้นชีวิตการทำงานและไม่มีภาระอะไรมากนัก สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ อาจจะเป็นเรื่องของการป้องกันความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินด้วยประกันสุขภาพให้เพียงพอ แล้วมองไปข้างหน้า ถ้าอยากจะแบ่งเบาภาระเกษียณด้วยประกันบำนาญไว้แต่เนิ่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี หลังจากนั้นค่อยมองหาวิธีจัดสรรป้องกันความเสี่ยงให้กับคนเบื้องหลังอีกทีหนึ่ง
ส่วนคนที่อยู่ในวัยทำงานที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว แบกภาระไว้เต็มบ่า สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญจะเน้นไปที่ความกลัวคนรุ่นหลังจะลำบากหากเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ประกันชีวิตที่คุ้มครองความเสี่ยงส่วนนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ประกันชีวิตและคุ้มครองโรคร้ายแรงตลอดชีพ หรือมองเพิ่มเติมไปในการสะสมเพื่อสร้างเงินก้อนให้เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนเงินเกษียณก็ยังใช้ประกันบำนาญช่วยแบ่งเบาได้อีกทางนอกเหนือจากการลงทุนด้านอื่นๆ
จะเห็นว่าในวัยที่แตกต่างกัน มุมมองที่มีก็แตกต่างกันไปตามความต้องการในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ตามประกันแต่ละประเภทก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไป อย่างประกันตลอดชีพช่วยให้เราอุ่นใจไม่มีปัญหา ส่วนประกันสุขภาพช่วยให้เราสามารถป้องกันความเสี่ยงถ้าหากเจ็บป่วย และสุดท้ายประกันบำนาญช่วยวางแผนเกษียณให้กับชีวิตเราอีกด้วยครับ
ดังนั้น ถ้าหากเรารู้จักเลือกใช้ประกันประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ความเสี่ยงที่เราต้องเจอก็จะบรรเทาลดลงไปได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่เราอาจจะต้องรู้จักและทำความเข้าใจมันมากกว่าประเด็นแค่การลดหย่อนภาษี
เอาล่ะครับ ทีนี้ขออนุญาตขายของสักนิด โดยการยกผลิตภัณฑ์ของ Krungthai-AXA Life มาเปรียบเทียบให้ดูกันสักหน่อยครับ โดยมีทั้งหมด 3 ตัวที่ตอบ
รายละเอียด | LifeProtect18 | IShield | IRetire |
ให้ | ประกันชีวิต | ประกันชีวิต | ประกันชีวิต |
ประเภท | ตลอดชีพ | ตลอดชีพ | บำนาญ |
จุดเด่นของ | เบี้ยประกันต่ำ | ระยะเวลาชำระเบี้ยสั้น เบี้ยประกันคงที่ตลอดสัญญา | เลือกชำระเบี้ยประกันได้ |
ลดหย่อนภาษี | ได้ | ได้ | ได้ |
เหมาะสำหรับ | ผู้ทีต้องการสร้างหลักประกันให้ครอบครัว | ผู้ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงโรคร้ายแรง | ผู้ที่ต้องการสร้างเงินบำนาญให้ตัวเอง |
เห็นไหมครับว่า ประกันแต่ละประเภทนั้น มีความคุ้มครองและเป้าหมายที่เหมาะสมแตกต่างกันไป เราจึงควรถามตัวเองให้แน่ใจว่า ในแต่ละช่วงชีวิตเรานั้น เราให้ความสำคัญกับเรื่องไหนเป็นพิเศษ อาจจะไม่ได้คิดเหมือนกับตัวอย่างที่ผมยกมาก็ไม่ผิดนะครับ เพราะวัตถุประสงค์และเป้าหมายของชีวิตของคนเราแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือต้องเลือกให้เหมาะสมกับตัวเอง
อย่างไรก็ดี ขอฝากข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับเรื่องภาษีไว้อีกสักเล็กน้อยตามนี้ครับ
1. ประกันชีวิตที่ลดหย่อนภาษีได้ ไม่ได้มีแต่ประกันแบบสะสมทรัพย์ แต่ยังมีอีกหลายแบบที่ใช้สิทธิได้ ขอแค่เงื่อนไขเป็นไปตามกฎหมายกำหนดก็เพียงพอแล้ว
2. ที่เขาชอบพูดกันว่าประกันลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาทนั้น มันมาจาก ประกันชีวิต (+ประกันสุขภาพ) 100,000 บาท รวมกับประกันบำนาญสูงสุด 200,000 บาท แต่ข้อจำกัดคือ ประกันบำนาญมันมีเพดาน 15% ของรายได้อยู่ด้วย ตรงนี้ต้องระวังและทำความเข้าใจให้ดีเช่นเดียวกันครับ
3. ประกันสุขภาพ ถ้าหากจำเป็นต้องซื้อมากกว่า 15,000 บาทก็ซื้อไปเถอะ แม้ว่าจะลดหย่อนภาษีไม่ได้เต็มจำนวน แต่อย่างน้อยก็ช่วยป้องกันความเสี่ยงเราได้นะ อยากให้มองที่ความคุ้มค่าในระยะยาวมากกว่าเพียงแค่การลดหย่อนภาษี
ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าเราทุกคนจะมีเป้าหมายแตกต่างกัน แต่ผมเชื่อเหลือเกินครับว่า ทุกคนจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดการเรื่องเงินสำคัญควบคู่ไปกับภาษี เพื่อให้เป้าหมายชีวิตของเรานั้นเดินทางไปอย่างราบรื่นที่สุดนั่นเอง
ขอให้ทุกคนโชคดีกับเป้าหมายที่เลือกครับ :)
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ktaxa.live/Tax2019-aomMoney
บทความนี้เป็น Advertorial