1. อุตสาหกรรม Healthcare เป็นเทรนด์มาแรง
ทุกคนก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยนั้นกำลังเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ซึ่งมีการคาดการกันว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า สัดส่วนของผู้สูงอายุจะอยู่ที่ประมาณ 20% ของจำนวนประชากรประเทศไทย เทรนดังกล่าวนั้นก็ส่งผลให้อุตสาหกรรมด้านการดูแลสุขภาพมีความต้องการมากยิ่งขึ้น คนสูงอายุก็อยากมีสุขภาพดี ก็ต้องมีการดูแลตัวเอง ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพดี แน่นอนว่าผู้สูงอายุยิ่งต้องมีการดูแลตัวเองสูงกว่าวัยอื่นๆ อีกด้วยครับ เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ต้องแปลกใจครับที่ทางรัฐบาลกำลังผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub ของเอเชีย เนื่องจากตลาดภายในประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และประเทศไทยเองก็มีความได้เปรียบเชิงภูมิประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทำให้บ้านเราเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อีกทั้งค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ก็ไม่ได้แพงเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วแถมมีคุณภาพไม่แพ้กันจึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดี2. โรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นหนึ่งในผู้ชำนาญการด้านการให้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทยมากว่า 26 ปี
ถ้าเรามาอ่านประวัติโรงพยาบาลพระรามเก้าแล้ว แรกเริ่มตั้งแต่เปิดในบริการในปี 2535 โดยกลุ่มแพทย์ ทำให้มีลูกค้าตามมารักษาตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ โดยในปัจจุบันมีฐานลูกค้าที่เป็นชาวไทยในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ และยังได้รับความนิยมจากลูกค้าต่างชาติอีกด้วย โดยเฉพาะ ชาวเมียนมา กัมพูชา จีน และญี่ปุ่น โดยเน้นให้บริการด้วยความคุ้มค่าและราคาสมเหตุสมผลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ปัจจุบันให้บริการทั้งในแง่ของการรักษาโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทาง รวมถึงการให้บริการส่งเสริมสุขภาพไปจนถึงการฟื้นฟูให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี จนเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) ประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าถามว่าโรงพยาบาลพระรามเก้า มีความโดดเด่นในเรื่องแพทย์เฉพาะทางด้านไหน ทุกคนก็คงจะทราบกันมาบ้างนะครับว่าการรักษาโรคซับซ้อน เช่น เรื่องการผ่าตัดไตนั้นโรงพยาบาลแห่งนี้ถือว่าเป็นมือหนึ่งเลยและถือว่าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่าตัดไตที่มากที่สุดในประเทศไทย แถมยังเคยผ่าตัดไตให้กับผู้สูงอายุในวัย 80 ปีได้สำเร็จมาแล้ว โดยโรงพยาบาลฯ มีสัดส่วนรายได้จากการรักษาโรคซับซ้อนและการผ่าตัดประมาณ 40% – 44% ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลยังมีสถาบันและมีสถาบัน และ ศูนย์ทางการแพทย์รวมกว่า 22 แห่งเช่น สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า และสถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์สมองและระบบประสาท เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่ใครเป็นโรคอะไรก็สามารถดูแลรักษาได้หลายโรคครับ และแน่นอนว่าโรงพยาบาลเองก็มีสถานที่ตั้งอยู่ตรงย่านพระรามเก้า ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล มีคุณหมอและทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้มีประสบการณ์หลากหลายสาขา ก็ย่อมทำให้โรงพยาบาลนั้นมีฐานลูกค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย3. ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาล
ส่องกันหน่อยว่างบการเงินเป็นอย่างไร จะเห็นได้ว่าจากปี 2558 ถึง ปี 2560 รายได้และกำไรเป็นแบบนี้ครับ รายได้จากกิจการโรงพยาบาล- ปี 2558 มีรายได้ 1,960.3 ล้านบาท
- ปี 2559 มีรายได้ 2,238.3 ล้านบาท
- ปี 2560 มีรายได้ 2,421.5 ล้านบาท
- ปี 2561 (ครึ่งปีแรก) มีรายได้ 1,277.9 ล้านบาท
4. เป้าหมายของการระดมทุนของโรงพยาบาล
พอเปิด IPO ให้เราลงทุนกันได้แล้ว หลายคนก็สงสัยกันใช่ไหมว่าโรงพยาบาลจะเอาเงินไปลงทุนในเรื่องอะไรบ้าง จาก Filing ที่ทางโรงพยาบาลพระรามเก้ายื่นเสนอต่อทาง สำนักงาน ก.ล.ต. นั้น ทางบริษัทได้วางแผนเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้ป่วยด้วยการสร้างตึกบนที่ดินซึ่งติดกับที่ตั้งเดิม ไม่มีการขยายสาขานะครับ โดยเงินที่ได้ก็จะนำมาพัฒนาส่วนของอาคารพื้นที่ การขยายบริการให้ครอบคลุมด้านการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น การเปลี่ยนภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลและ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี Digital Health ให้สามารถเพิ่มศักยภาพการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้นะครับ- การก่อสร้างอาคารใหม่ โรงพยาบาลจะมีการยกระดับความสามารถในการรองรับผู้ใช้บริการให้มากขึ้น เพื่อรองรับทั้งลูกค้าไทยและลูกค้าต่างชาติ โดยการสร้างอาคารใหม่สูง 16 ชั้นและมีพื้นที่ใต้ดินอีก 2 ชั้น เพื่อใช้รองรับผู้ป่วยที่มากขึ้น ดังที่เราได้เห็นนะครับว่าย่านพระรามเก้านั้นยังเติบโตได้อีกมาก แถมมีระบบขนส่งที่ทำให้การเดินทางเข้ามารักษาจากพื้นที่อื่นๆ มีความสะดวกรวดเร็วอีกด้วย ต่อไปอาคารใหม่จะกลายเป็นศูนย์รวมบริการการดูแลสุขภาพที่พร้อมด้วยบริการต่างๆ ที่สามารถตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบันได้ดี เช่น ศูนย์รักษาอาการปวดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ ศูนย์สุขภาพเส้นผม เนื่องจากการสร้างอาคารใหม่นั้นจะใช้คอนเซปของ Co-Healthy Space ซึ่งมีทั้งการดูแลผู้ป่วยและการฟื้นฟูของคนที่ต้องการมีสุขภาพดี ซึ่งโรงพยาบาลได้มุ่งหวังว่าต่อไปโรงพยาบาลจะไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่รองรับผู้ป่วยอย่างเดียวแต่จะต้องเป็นสถานที่ที่ตอบสนองความต้องการทั้งในแง่การใช้ชีวิตและสุขภาพได้
- การปรับปรุงอาคารเก่า นอกจากจะยกระดับให้ทันสมัยมากขึ้น ก็ทำเพื่อจัดสรรพื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดหลังจากที่มีการปรับปรุงแล้วเช่นกันนะครับ โดยวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนเตียงจาก 163 เตียง ให้มากขึ้นถึง 313 เตียงโดยประมาณ ภายใน ปี 2565 และในปลายปีนี้จะมีการเพิ่ม Step down ICU ซึ่งเป็นการแยกห้องผู้ป่วยกึ่งวิกฤตที่คอยดูแลคนไข้ที่พ้นขีดอันตรายแล้วแต่ยังต้องการติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่ ออกมาจากห้อง ICU ที่ต้องใช้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตรงนี้จะช่วยตอบสนองความต้องการของคนไข้แต่ละประเภทและทำให้ไม่เกิดภาระค่าใช้จ่าย ตามนโยบายของโรงพยาบาลที่เน้นให้ลูกค้าจ่ายเงินกับสิ่งที่คุ้มค่าที่สุด และ ในขณะเดียวกัน เป็นการเพิ่มความสามารถในการรับผู้ป่วยอาการหนักได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้แล้วก็ยังมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ โลโก้ ให้ดู Premium มากยิ่งขึ้นในการสื่อสารไปสู่ลูกค้าสมัยใหม่ตามไลฟ์สไตล์ได้มากยิ่งขึ้น โรงพยบาลไม่ใช่เพียงแค่ที่สำหรับผู้ป่วยวิกฤตเท่านั้น แต่เป็นที่ศูนย์รวมการดูแลสุขภาพโดยมืออาชีพ Professional Healthcare Community
- การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเป็น Digital Hospital การใช้ Technology เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาการให้บริการต่างๆมากยิ่งขึ้นนะครับ ทางโรงพยาบาลก็จะมีการเปลี่ยนให้เกิด Digital Transformation นอกจากจะนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและเข้าถึงโรงพยาบาลได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารงานขององค์กรให้มีการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอน และ เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
- การพัฒนาสถานที่ทำงานให้กับบุคลากร เงินที่ระดมทุนในอีกส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการสร้างอาคารให้กับบุคลากรของบริษัท เช่น การพัฒนาอาคารสำนักงานและการสร้างหอพักพยาบาลเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรของโรงพยาบาล และดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้ร่วทงานกับโรงพยาบาล
5. IPO นี้อยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว
ทางบริษัทได้มีการยื่น Filing กับทาง กลต. แล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะสามารถเปิดเปิดให้จองซื้อหุ้นได้ในวันที่ 16 - 19 ตุลาคมนี้ และจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 30 ต.ค. นี้ โดยสรุปแล้วเราจะเห็นได้ว่าโรงพยาบาลพระรามเก้าก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจในการลงทุนมาก นอกจากมีผลประกอบการดีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานระดับสากลที่ดึงดูดลูกค้าได้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยโรงพยาบาลฯ ก็มีแผนที่จะขยายฐานกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติให้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการใช้บริการต่อครั้งมี มูลค่า และ margin เฉลี่ยต่อคนค่อนข้างสูง การขยายบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพก็ช่วยดึงดูดผู้ใช้บริการใหม่ และการเพิ่มความสามารถการรองรับผู้ป่วยโรคซับซ้อนซึ่งเป็นบริการสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่โรงพยาบาล ก็ทำให้เราเห็นแนวโน้มการเติบโตในอนาคตได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงอยู่ในทำเลศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร และกำลังจะก้าวไปสู่การเป็น Digital Hospital ที่ทำให้โรงพยาบาลสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้โดยไม่ต้องเปิดสาขาจำนวนมาก ทำให้ยังรักษาคุณภาพการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าสนใจใช่ไหมครับ อย่าลืมติดตามข่าวสาร IPO ของโรงพยาบาลกันนะครับจะได้สร้างพอร์ตการลงทุนของเราควบคู่ไปกับการเติบโตของเทรนด์การดูแลสุขภาพกันด้วย

บทความ Advertorial