สวัสดีครับ นักลงทุนทุกท่าน ในช่วงนี้ที่สถานการณ์การลงทุนต่างๆ ไม่เป็นใจ และมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นไทย หรือแม้แต่การลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศก็มีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวผันผวนมากขึ้น

ถ้าในสถานการณ์ปกตินั้น หากตลาดหุ้นปรับตัวลดลงมามากๆ ก็ถือว่าเป็นจุดที่น่าสนใจในการลงทุนเพิ่มเติมในตลาดหุ้น แต่เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ส่งผลให้บางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนทำกำไรได้ไม่ดีพอควร การจ่ายเงินปันผลอาจจะลดลงได้ ทำให้ไม่ค่อยมีความน่าสนใจสักเท่าไร ดังนั้นการลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนควรคิดและวิเคราะห์ให้มากขึ้นก่อนลงทุนครับ

นอกจากนี้ สงครามราคาน้ำมันของซาอุฯ และรัสเซีย เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันนั้น ก็มีโอกาสที่จะทำให้ประมาณการรายได้ของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ๆ ในบ้านเราลดลงไปอีก ดังนั้น แสดงว่าตลาดหุ้นไทยยังอาจจะมีโอกาสปรับตัวลดลงได้อีกพอสมควร

ยกเว้นว่าถ้านักลงทุนเป็นนักลงทุนที่ทยอยลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เช่นการทำ Dollar-cost average (DCA) ผมก็แนะนำให้ลงทุนอย่างมีวินัยต่อเนื่องไปก็จะมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีได้ครับ แต่ก็ต้องรอนานพอสมควรเลยครับ

คราวนี้ เรามาดูอีกสินทรัพย์ที่คนส่วนใหญ่มักจะเอาเงินไปหลบไว้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก็คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วหากเราพิจารณาถึงเรื่อง โรคระบาด และราคาน้ำมันที่ตกต่ำนาน ๆ เข้าก็อาจจะก่อให้ตราสารหนี้บางประเภทมี Credit Default เกิดขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อตัวตราสารหนี้ที่เราย้ายไปลงทุนด้วยครับ

แสดงว่าการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้อาจจะยังไม่พอครับ อาจจะต้องมองหาการลงทุนอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น กองทุนทองคำ หรือ สินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ อีก

ดังนั้น การเลือกสินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น ในวันนี้ผมเลยจะขอพานักลงทุนทุกท่านไปรู้จักกับสินทรัพย์อีกประเภทที่น่าสนใจ น่าค้นหา น่าลงทุน แถมได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 10 ปีเลยทีเดียว (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด) โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นทั้งในและต่างประเทศมีความเสี่ยงสูงแบบนี้ 

ซึ่งสินทรัพย์นี้ก็น่าจะได้โอกาสรับผลตอบแทนที่คุ้มค่า เอาชนะเงินเฟ้อได้ นักลงทุนน่าจะอยากรู้แล้วใช่ไหมครับว่าคืออะไร

นั่นก็คือ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” นั่นเองครับ

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ก็คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อระดมทุน จากผู้ลงทุนทั่วไปทั้งรายย่อยและสถาบัน เพื่อเอาไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งต่าง ๆ ถนนและทางพิเศษ ท่าอากาศยาน โทรคมนาคม ฯลฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาของประเทศ และผู้ลงทุนเองก็จะมีโอกาสรับผลตอบแทนกลับมาด้วย

ส่วนรายได้ที่ได้รับ ก็จะมาจากการผู้ที่มาใช้บริการของโครงสร้างพื้นฐานนั่นเองครับ ก็ถือได้ว่ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนั้นน่าจะมีรายได้ที่สม่ำเสมอพอสมควรเลยละครับ เนื่องจากว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น โครงสร้างพื้นฐานบางอย่างก็ยังคงจำเป็นต้องใช้บริการอยู่ดีครับ เช่น ต่อให้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็ยังคงต้องเปิดไฟ ชาร์ตแบตมือถือ อาบน้ำ แปรงฟัน หรือ โทรคุยงานกับหัวหน้า เดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้า หรือทางด่วน

และต้องยอมรับว่าสิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้เลย ก็คือ พลังไฟฟ้า ที่เป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยตรง หากไม่มีไฟฟ้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจจะดำเนินต่อไปได้ครับ

พอเขียนถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่านักลงทุนหลายๆ ท่านน่าจะทราบแล้วใช่ไหมครับว่าผมกำลังจะพูดถึงกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานประเภทไหน…..ใช่ครับ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานแบบโรงไฟฟ้า นั่นเองครับ

ผมขอแนะนำให้รู้จักกับ

"กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี" ("KBSPIF")

แต่ก่อนอื่น ผมขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘กลุ่มบริษัทน้ำตาลครบุรี’ กันก่อนที่จะไปรู้จักกับ บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด และความน่าสนใจของ “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี” หรือ  “KBSPIF” นี้ครับ

บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) หรือ KBS ผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลแบบครบวงจรที่มีประสบการณ์มานานกว่า 55 ปีแล้ว เป็นผู้นำด้านธุรกิจอ้อย น้ำตาล และ ชีวพลังงาน ที่มีนโยบายมุ่งเสริมศักยภาพกลุ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้มีความเข้มแข็ง และต่อยอดสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

โดยแผนดำเนินงานธุรกิจน้ำตาลของ KBS คือ เน้นไปที่ความเชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดน้ำตาล และ เน้นด้านเทคโนโลยีการผลิตมาช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทำให้ KBS สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความหลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายสีรำ น้ำตาลทรายธรรมชาติ น้ำตาลทรายขาวธรรมดา น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลทรายขาวผสมซูคราโลส (Sucralose) เพื่อ ตอบสนองลูกค้ากลุ่มผู้ผลิตรายย่อยและผู้บริโภคทั่วไป ทั้งตลาดภายในประเทศและส่งออกไปตลาดต่างประเทศในทวีปเอเชีย

เจาะลึก ‘กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน KBSPIF’

เนื่องจากเป็นบริษัทที่ทันสมัย และเน้นเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็ทำให้บริษัท KBS นั้นมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลที่ใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงอยู่ด้วยครับ ซึ่งจะดำเนินการโดย KPP หรือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด ที่ KBS ถือหุ้นอยู่ 99.99% ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าระบบผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน (Cogeneration System) กำลังการผลิตรวม 73 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าระยะยาวให้กับหน่วยงานภาครัฐ และ KBS

ผู้ลงทุนมีสิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนร้อยละ 62 ของรายได้จากการขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลาประมาณ 20 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2582 ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เฉพาะส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนและราคาเฉลี่ยถ่านหิน จำนวน 22 เมกะวัตต์ และ สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ร่วมกับ KBS จำนวน 3.5 เมกะวัตต์ซึ่งจะมีรูปแบบจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิของ KBSPIF ที่ปรับปรุงแล้ว รวมถึงมีนโยบายที่จะคืนสภาพคล่องส่วนเกินใดๆ (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนด้วยการลดทุน

ในส่วนของกองทุน KBSPIF นั้นมีมูลค่าระดมทุนรวมไม่เกิน 2,800 ล้านบาท โดยที่เสนอราคาขายหน่วยลงทุนหน่วยละ 10 บาท ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินไปลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานประเภทโรงไฟฟ้า โดยคาดว่าจะสร้างโอกาสรับผลตอบแทนระยะยาวที่ดี และสม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุน

นอกจากโอกาสการรับเงินปันผลและส่วนคืนทุนแล้ว ผู้ลงทุนยังอาจจะได้ Upside จาก กำไร Capital gain ในอนาคต โดยทำการขายหน่วยลงทุนออกไปในช่วงที่ราคาขึ้นได้อีกด้วยครับ ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นกับการเติบโตของกอง KBSPIF ในอนาคตที่อาจจะมีสินทรัพย์อื่น ๆ เพิ่มเติมมากขึ้นในกองทุนนี้ครับ

โดยกลุ่มน้ำตาลครบุรี จะเข้ามาถือหน่วยลงทุนของกองทุน KBSPIF นี้ด้วยครับ โดยถือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหน่วยทั้งหมด เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งผมคิดว่าการที่ บมจ. น้ำตาลครบุรีเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ก็ทำให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้มากขึ้นครับว่ากำลังลงทุนกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพดี

เมื่อทราบรายละเอียดของบริษัท และ ลักษณะของกองทุน KBSPIF แบบคร่าว ๆ กันไปแล้ว คราวนี้เรามาคุยเรื่อง ‘จุดเด่น’ ของกองทุน KBSPIF กันครับ

1มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

เนื่องจากโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ของผู้คน ทำให้ไม่โดนผลกระทบใด ๆ จากสถานการณ์ Covid-19

โดยกองทุนฯ ไม่ต้องหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าแต่อย่างใด (เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ เป็นต้น) ทำให้รายได้รวมของกองทุนมีความผันผวนต่ำ

ด้วยโครงสร้างรายได้เช่นนี้ ทำให้กองทุน KBSPIF ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้โอกาสผลตอบแทนที่ดี  ความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนนั้นน้อยกว่าหุ้น และระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่า มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและสม่ำเสมอได้ครับ

2. KBSPIF ยังมีแนวโน้มการเติบโตในอนาคตจากโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของ KBS

ซึ่งมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ที่มีกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อวัน จะทำให้มีจำนวนกากอ้อยเพิ่มขึ้น สามารถนำส่งกากอ้อยส่วนเพิ่มให้กับ บจก. ผลิตไฟฟ้าครบุรีซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิม  โดยโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ อยู่ที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 18 เมกะวัตต์

คราวนี้เรามาคุยกันต่อในเรื่องโอกาสการรับอัตราผลตอบแทนครับ

จากประมาณการอัตราการปันส่วนแบ่ง 12 เดือนแรกอยู่ที่ประมาณ 8.95% (ตามสมมติฐานที่คำนวณจากราคาเสนอขายหน่วยลงทุน ณ ราคาที่ 10 บาท ซึ่งเป็นการประมาณการสำหรับรอบปี ตั้งแต่ 1 เม.ย 63 - 31 มี.ค. 64 และไม่อาจรับรองผลได้ โดยเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 6.24% และเงินลดทุน 2.71%) โดยประมาณการอัตราผลตอบแทนภายใน (% Internal Rate of Return) มีอัตราประมาณ 7%* แน่นอนว่าด้วยโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีแบบนี้ จะสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอยู่พอสมควร

ยิ่งไปกว่านั้นโดยปกติผู้ลงทุนทั่วไปจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินปันผลร้อยละ 10 ของเงินปันผล แต่สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาไม่ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล เป็นเวลา 10 ปี นับจากวันตั้งกองทุน เหมือนเป็นโบนัสพิเศษสำหรับคนที่ชอบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากกรมสรรพากรเลยทีเดียวครับ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด)

ในเรื่องของความเสี่ยง เช่น บางท่านอาจจะกังวลว่าแล้วโรงไฟฟ้าของ KPP จะมีปัญหาเรื่องความเพียงพอของวัตถุดิบหรือไม่ แม้ KBSPIF จะไม่ต้องรับผิดชอบค่ากากอ้อยซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักเพราะรับแต่รายได้ แต่ถ้า KPP มีปริมาณกากอ้อยไม่เพียงพอต่อการผลิตก็อาจจะกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้าได้อันจะส่งผลต่อรายได้ของ KBSPIF ได้ครับ

แต่สำหรับประเด็นนี้ ทางกลุ่ม KPP ได้จัดการความเสี่ยงดังกล่าวโดยทำสัญญาจัดจำหน่ายวัตถุดิบในการผลิตระยะยาวกับ บมจ. น้ำตาลครบุรี เพื่อสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคงด้านวัตถุดิบ ตลอดอายุสัญญาของกองทุน KBSPIF ด้วยครับ

หมายเหตุ *อัตราผลตอบแทนภายในดังกล่าวคำนวณจากสมมติฐานการจัดตั้งกองทุนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 โดยระยะเวลาการลงทุนเท่ากับระยะเวลาภายใต้สัญญาการโอนผลประโยชน์ฯ ซึ่งใช้ประมาณการการรับรู้รายได้ของผู้ประเมินรายต่ำ (บริษัท ดิสคัฟเวอร์ แมเนจเม้นท์ จำกัด) และใช้สมมติฐานค่าใช้จ่ายของกองทุนอ้างอิงจากสมมุติฐานของบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัดโดยประมาณการค่าใช้จ่ายของกองทุนต่อปีไม่เกินร้อยละ 1.2 ของมูลค่าสินทรัพย์รวมของกองทุนและคำนวณจากมูลค่าระดมทุนสูงสุดที่ 2,800 ล้านบาท ทั้งนี้ประมาณการอัตราผลตอบแทนภายในดังกล่าวขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนอื่นๆ ซึ่งอาจไม่อยู่ในการควบคุมของทางกองทุนและบริษัทจัดการ อัตราผลตอบแทนภายในจริงจึงอาจมีความแตกต่างจากประมาณการนี้ ทางกองทุนและบริษัทจัดการ ไม่รับประกันอัตราผลตอบแทนภายใน และตัวเลขประมาณการทั้งสิ้นซึ่งนักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนในหนังสือชี้ชวน

สรุป ทำไมต้อง KBSPIF

อย่างที่ผมได้บอกไว้ในตอนต้นครับ การลงทุนในช่วงที่มีความเสี่ยงสูงแบบนี้ การลงทุนผ่านโครงสร้างพื้นฐานมีโอกาสสร้างรายได้จากเงินปันผลที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ก็น่าจะเป็นทางเลือกการลงทุนที่ทำให้ผู้ลงทุนได้อุ่นใจได้

ดังนั้นจากโอกาสผลตอบแทนค่อนข้างจะไม่ผันผวนเนื่องจากกองทุนฯ รับเฉพาะกระแสรายได้จากค่าไฟฟ้า และไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโรงไฟฟ้า ทำให้ผมนึกถึงการลงทุนที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ครับ

แต่การลงทุนกับตราสารหนี้นั้น เราอาจจะได้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดี เนื่องจากแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยยังคงต่ำไปอีกสักระยะนั้น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานน่าจะเป็นตัวที่มาตอบโจทย์ในการลงทุนช่วงนี้ได้ดีกว่าการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้เพียงอย่างเดียวครับ

ดังนั้น ถ้าเราต้องการลงทุนแล้ว มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี สม่ำเสมอ มีโอกาสที่จะเติบโตได้ในอนาคต รวมถึงได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้วละก็ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน KBSPIF ก็เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่น่าลงทุนไม่น้อยในช่วงภาวะตลาดผันผวนช่วงนี้เลยครับ

เพราะว่าการลงทุนในกองทุนเหล่านี้ก็ยังคงมีความผันผวนอยู่ อย่างกองทุน KBSPIF นี้ ที่เวลาเข้าไปซื้อขายในตลาดแล้วก็อาจจะเจอความผันผวนบ้างเล็กน้อยได้เหมือนกันครับ แต่นักลงทุนก็ควรจะคิดถึงโอกาสการรับเงินปันผลที่สม่ำเสมอ รวมถึงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตได้ในอนาคต รวมถึง เราก็ควรที่จะมีการลงทุนในกองทุนอื่น ๆ เพื่อเอาไว้กระจายความเสี่ยง หรือโอกาสรับเงินปันผลคนละช่วงเวลา เพื่อให้ความสม่ำเสมอของโอกาสรับผลตอบแทนดีขึ้นไปอีกครับ  หรือเข้าไปดูข้อมูลของกองทุนนี้เพิ่มเติมที่ www.kbspif.com ครับ

และผมก็คิดว่า กองทุน KBSPIF นี้ก็เป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจ และอยู่ในอันดับต้น ๆ ในการนำมาอยู่ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีเลยครับ ที่สำคัญกองทุน KBSPIF จะเปิดให้จองซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกในวันที่ 4-7 สิงหาคมนี้  ราคาเสนอขาย หน่วยละ 10 บาท (เริ่มต้นที่ 5,000 บาท ซื้อเพิ่มครั้งละ 1,000 บาท) ซึ่งสามารถ จองซื้อได้ที่ ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา หรือผ่านระบบออนไลน์ www.moneyconnect.ktbnetbank.com

ขอให้ทุกท่านมีความสุขจากการลงทุนนะครับ ส่วนวันนี้ผมลาไปก่อน สวัสดีครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน  ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลดังกล่าวจากหนังสือชี้ชวนซึ่งสามารถดาวน์โหลด (Download) ได้ที่ www.sec.or.th หรือ www.set.or.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารกรุงไทย หมายเลขโทรศัพท์ 02-111-1111

ความเสี่ยงที่สำคัญของกองทุน เช่น ความเสี่ยงจากการขาดแคลนเชื้อเพลิง ความเสี่ยงจากเครื่องจักรเสื่อมสภาพ ความเสี่ยงด้านราคาและสภาพคล่องในตลาดรอง เป็นต้น

บทความนี้เป็น Advertorial