ปี 2564 หลายคนคงรู้สึกว่าปีนี้ผ่านไปไว ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง หรือบางคนอาจจะรู้ว่าปีนี้ต้องเหนื่อยกว่าหลายปีที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราต้องทำในช่วงใกล้สิ้นปีแบบนี้ให้เรียบร้อย คือ การวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

โดยปกติแล้วจำนวนภาษีที่เราจะต้องเสียนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิที่เรามีคูณด้วยอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเจ้า เงินได้สุทธิ นี้มาจาก รายได้ - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ซึ่งสิ่งสำคัญในการวางแผนภาษี หลังจากที่เรารู้รายได้เราเป็นประเภทไหน หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร คือ การวางแผนลดหย่อนภาษีจากรายการค่าลดหย่อนประจำปีที่เรามีนั่นเอง

เมื่อพูดถึงค่าลดหย่อน สำหรับปีนี้กลุ่มที่ใช้ลดหย่อนภาษียอดฮิตก็ยังหนีไม่พ้นกลุ่มการเงินและการลงทุน เช่น ประกันหรือกองทุนลดหย่อนภาษีประเภทต่างๆ ซึ่งถ้าพูดถึงฝั่งของกองทุน ก็คงหนีไม่พ้นกองทุนลดหย่อนภาษี 2 กองยอดฮิต อย่าง กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้มีเงื่อนไขในการถือครองและสิทธิ์ในการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีแตกต่างกันดังนี้

นอกจากนี้ SSF และ RMF ยังเหมือนกันตรงที่ ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภทตามนโยบายที่บริษัทจัดการกองทุนรวมเป็นผู้กำหนด และเงื่อนไขร่วมกันตรงที่ เมื่อรวมจำนวนเงินที่ซื้อ RMF + SSF + PVD/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + กอช. + ประกันบำนาญ แล้วต้องใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

จากประเด็นตรงนี้ คำถามที่หลายคนถามต่อไปก็คือ แล้วซื้อกองทุนไหนดี ? เลือกกองทุนแบบไหนดีกว่ากัน ระหว่าง SSF หรือ RMF ไปจนถึงควรลงทุนแบบไหนยังไงดี แต่สิ่งที่ผมแนะนำได้มีอยู่ 3 ข้อสั้น ๆ ครับ นั่นคือ

1. กระแสเงินสดที่เรามีเพียงพอไหม?

ในปีนี้เรามีกระแสเงินสดเพียงพอลงทุนเท่าไร เพราะสิ่งที่เหมือนกันก็คือ หากเรามีเงินจำนวนที่จำกัด ไม่ว่าจะตัดสินใจลงทุนแบบไหนก็จะลดหย่อนภาษีได้เท่ากันอยู่ดี ดังนั้นเช็คเงินในมือที่เรามีก่อนครับ

2. เป้าหมายและระยะเวลาในการลงทุนเป็นแบบไหน?

เราต้องเข้าใจการลงทุนของเราก่อนว่า เราต้องการลงทุนแบบไหน เพื่ออะไร เช่น ระยะเวลาทีต้องการคือ อีก 10 ปีข้างหน้าแบบนี้ SSF อาจจะตอบโจทย์กว่า หรือ ถ้าหากต้องการเงินเมื่ออายุ 55 ปีแบบนี้ RMF ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะทั้งสองประเภทนี้มีสินทรัพย์ให้เลือกลงทุนหลากหลาย

3. เรายอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?

ขึ้นชื่อว่าการลงทุน ความเสี่ยงเป็นอีกเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณา ดังนั้นถ้าเราเข้าใจว่าเราเสี่ยงได้แค่ไหน และผลตอบแทนที่ต้องการเป็นเท่าไร เราก็จะตัดสินใจเลือกประเภทสินทรัพย์ในการลงทุนได้ง่ายขึ้นครับ

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะไม่สะดวกในการวางแผน หรือมองหาตัวช่วยในการลงทุนที่ทำให้จัดการได้ง่ายขึ้น ก็จะมีกองทุนบางกลุ่มที่ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดการให้ตามความเสี่ยงและความต้องการของลูกค้าที่ไม่มีเวลาตัดสินใจด้วยตัวเอง โดยการกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก และมีผู้จัดการกองทุนดูภาพรวมเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะคอยเพิ่มหรือลดนํ้าหนักสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับภาวะตลาดให้กับเราอีกทางหนึ่ง

ยกตัวอย่างเช่น กองทุนมั่ง มี ศรี สุข SSF/RMF จาก บลจ.กรุงไทย หรือ KTAM ที่มีนโยบายการลงทุนที่จะจัดสรรเงินลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก (Asset Allocation) ให้ตามความเสี่ยงและความต้องการผลตอบแทนในระดับต่างๆ ของนักลงทุน ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มดังนี้ครับ

หมายเหตุ อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นตัวชี้วัดข้างต้น เป็นเพียงการกำหนดตัวชี้วัดของกองทุนที่เกิดจากการจัดทำแบบจำลองการลงทุนย้อนหลัง 7 ปี ซึ่งกองทุนมิได้รับประกันผลตอบแทนดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าของทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนอาจมีความเคลื่อนไหวไปตามสภาวะตลาดในขณะนั้น ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า หรือมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดได้ โดยระยะเวลาลงทุนที่เหมาะสมควรเป็นการลงทุนในระยะยาว

กองทุนเองมีปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ อาทิ ความเสี่ยงทางการตลาด ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุน และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกองทุนนี้ก็มีนโยบายในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
จะเห็นได้ว่า กองทุนแต่ละกองทุนจะเหมาะสมกับความเสี่ยงของนักลงทุนที่รับได้แตกต่างกันไป ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

• นาย A อายุ 25 ปี มองว่าอีก 10 ปีต้องใช้เงินลงทุนก้อนนี้เพื่อการดาวน์บ้านสร้างครอบครัวใหม่ และสามารถรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากคาดหวังผลตอบแทนที่ได้รับมากขึ้น นาย A อาจจะเลือกซื้อ SSF กองทุนมั่งคั่ง หรือ กองทุนมีทรัพย์ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากตราสารทุนในสัดส่วนที่มากกว่ากองทุนตัวอื่น ๆ

• นาย B อายุ 30 ปี ต้องการเก็บเงินเพื่อเกษียณหลังจากหยุดทำงานตอนอายุ 55 ปีขึ้นไป แบบนีนาย B ก็สามารถตัดสินใจเลือกซื้อ RMF กองทุนมั่งคั่ง เพื่อให้เงินมีโอกาสทำงานสร้างผลตอบแทนในระยะเวลานาน ๆ ในสินทรัพย์ที่เสี่ยงได้เช่นเดียวกัน

• นาย C อายุ 49 ปี รับความเสี่ยงได้ไม่มาก แต่ต้องการเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อเกษียณ ดังนั้นกองทุนในกลุ่ม ศรีสิริ หรือ สุขใจ ที่เป็น RMF อาจจะตอบโจทย์มากกว่า เพราะสามารถขายคืนได้ตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป (และถือครองหลังจากซื้อครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 5 ปี)

อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเลือกใช้งานแบบง่าย ๆ ตามแต่ละช่วงอายุ ซึ่งแต่ละคนควรมองดูเป้าหมายของตัวเอง พอร์ตการลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ประกอบกันอีกทีหนึ่งครับ

ที่สำคัญการลงทุนในกองทุน มั่ง มี ศรี สุข SSF/RMF ยังมีข้อดีที่น่าสนใจอีกด้วย เพราะเป็นการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์หลากหลายประเภท มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลอยู่ตลอด แถมได้ผลตอบแทนที่มีโอกาสมั่นคงในระยะยาว เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่ไม่มีเวลาติดตาม ไม่ต้องการปรับพอร์ตบ่อยๆ

ข้อมูลกองทุน เพิ่มเติม คลิก https://www.ktam.co.th/rmf-ltf.aspx?lang=th

ทั้งนี้ถ้าใครที่สนใจลดหย่อนภาษี และวางแผนลงทุนในกองทุนที่น่าสนใจทั้ง 4 ประเภทนี้ สามารถลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงไทย www.ktam.co.th หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02 686 6100 กด 9

รายละเอียดเพิ่มเติม

SSF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาวและ RMF เป็นกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ
สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทุกท่านต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรกเลย ก็คือ

• ความเข้าใจในลักษณะสินค้า
• เงื่อนไขผลตอบแทน
• ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีรวมถึงการบริการ ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ : ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม/กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม

ส่วนนักลงทุนท่านไหนที่สนใจ เค้ามีให้ชำระผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุกๆ 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท ได้ด้วยนะ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ บลจ. กรุงไทยและบัตรเครดิต KTC กำหนด และยังสามารถลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย อีกด้วย

ดาวน์โหลดเลยวันนี้ :
iOS : https://bit.ly/KTAMST
Android : https://bit.ly/KTST_Android

บทความนี้เป็น Advertorial