การลดดอกเบี้ยเงินฝากเหลือ 0% ของธนาคาร TMB สร้างความฮือฮาให้กับวงการธนาคารเป็นอย่างมาก และชวนให้คนฝากเงินเริ่มครุ่นคิดว่าควรทำอย่างไรกับเงินที่ฝากธนาคารดี แม้ครั้งนี้ ธนาคาร TMB จะกลับลำปรับดอกเบี้ยเงินฝากกลับไปเป็น 0.125 เหมือนเดิม แต่นี่เป็นการส่งสัญญาณให้นักออมทั้งหลายรับทราบว่าอีกไม่นาน ประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะดอกเบี้ย 0% ดังนั้นการออมจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกต่อไป จึงเกิดกระแสการบริหารเงินให้งอกเงินรูปแบบใหม่อย่าง Peer-To-Peer Lending หรือระบบกู้เงินส่วนบุคคล

Peer-To-Peer Lending คืออะไร?

โชคดีที่ท่ามกลางกระแสเชิงลบ ยังมีการกล่าวถึงตัวเลือกตัวใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Peer to Peer lending คอนเซ็ปของมันง่ายมาก บนโลกนี้มีคนที่เงินขาดมือ กับคนที่มีเงินเหลือแต่ไม่รู้จะทำอะไร ธนาคารจึงเป็นตัวกลาง รับเงินจากกลุ่มคนที่มีเงินในรูปเงินฝากพร้อมให้ดอกเบี้ยเล็กน้อย และธนาคารเอาเงินเหล่านี้ไปปล่อยกู้ต่อให้กับคนที่เงินขาดมือทำกำไรจากการคิดดอกเบี้ยที่สูง คนบางกลุ่มที่ได้ดอกเบี้ยเงินฝากนิดหน่อยก็ไม่ค่อยๆพอใจ เลยไม่ฝากเงินกับธนาคารแต่ปล่อยกู้นอกระบบเสียเลย เพราะได้เงินเยอะกว่าแต่ความเสี่ยงก็สูงเช่นกัน ไม่มีอะไรเป็นหลักประกัน แถมถ้าคิดดอกเบี้ยเยอะก็ผิดกฎหมายอีก แถมการปล่อยกู้นอกระบบทำได้แค่วงแคบๆกับคนรอบตัวเราเท่านั้นเอง ส่วนคนบางกลุ่มที่ไม่มีหลักค้ำประกันก็กู้กับธนาคารไม่ได้หรือกว่าจะกู้เงินได้ก็หืดขึ้คอ เช่นกลุ่มคนทำฟรีแลนซ์ เป็นต้น ระบบ Peer-To-Peer Lending เลยเกิดขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมคนที่มีเงินเหลือกับคนที่ต้องการเงินเข้าหากัน ทำให้คน 2 กลุ่มยืมเงินกันเองได้เลย

วิธีการของ Peer-To-Peer Lending

  1. มีแพลตฟอร์มออนไลน์ตรงกลางที่เชื่อม ‘คนกู้’ กับ ‘คนให้กู้’ ทำให้ไม่มีต้องมีหน้าร้าน ใช้พนักงานไม่เยอะ ประหยัดต้นทุน ดอกเบี้ยเงินกู้เลยถูกกว่า
  2. โดยคนกู้ส่งหลักฐานทางการเงิน และกรอกแบบฟอร์ม พร้อมทั้งจำนวนเงินที่ต้องการกู้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลยมีระบบออนไลน์ วิเคราะห์ตรวจสอบประวัติของผู้กู้ได้ ว่า กำลังทำอะไรอยู่ ต้องการเงินไปใช้เพื่ออะไร และ มีนิสัยการใช้เงินยังไง พร้อมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้คนปล่อยกู้พิจารณาว่าจะให้คนไหนกู้เงิน
  3. ทีนี้หลายคนจะสงสัยว่าแล้ว ‘คนให้กู้’ จะส่งเงินให้ ‘คนกู้’ ยังไง ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำหน้าที่ระบบที่เก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ และเป็นตัวกลางในการส่งเงินระหว่างทั้งสองฝ่าย

ข้อดีของ Peer-To-Peer Lending

  1. ดอกเบี้ยถูกกว่าเพราะต้นทุนการดำเนินการต่ำกว่า มีเทคโนโลยีมาช่วย
  2. กลุ่มคนที่ไม่เคยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ก็เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
  3. กลุ่มคนที่มีเงินนอนอยู่ในธนาคารและเสี่ยงที่จะไม่ได้ดอกเบี้ยก็ได้รายได้จากการนำเงินออกมาให้กู้

ตัวอย่าง ของสตาร์ทอัพที่ใช้ระบบ Peer-to-peer Lending

สตาร์ทอัพอย่าง Tala หรือชื่อเดิมคือ Mkopo Rahishi ที่ก่อตั้งโดย Siroya ได้มองเห็นว่าคนกว่า   2,500 ล้านคนบนโลกนี้หรือคิดเป็นอัตราส่วนกว่า 1 ใน 3 เข้าถึงเงินกู้ของธนาคารไม่ได้ ถ้าจะกู้เงินก็ต้องอาศัยเงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยโหด และเธอมองเห็นว่าแต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่มีเงินและพร้อมจะให้กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพียงแค่มั่นใจว่าพวกเขาจะได้เงินเหล่านั้นกลับคืน ไม่ใช่ให้กู้แล้วเชิดหนี ปัญหาคือคนกว่า 2,5000 ล้านคนนี้ ไม่ได้มีหลักทรัพย์อะไรมาค้ำประกัน ไม่ได้มีสลิปเงินเดือน หรือไม่มีแม้แต่บัญชีธนาคาร

Tala มองว่าแต่คนกลุ่มนี้มีสมาร์ทโฟนใช้นะ งั้นขอแค่สมัคร M-Pesa คือกระเป๋าเงินออนไลน์ และใช้จ่ายผ่านกระเป๋าเงินนี้ รวมถึง applucation จะเข้าถึงข้อมูลการใช้ Social Media โทรศัพท์มือและการเข้าเว็บไซต์ต่างๆของผู้ขอกู้เพื่อเก็บ เครดิต เช่น ประวัติการจ่ายบิลว่าจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ตรงเวลาหรือเปล่า ใช้เงินผ่าน M-Pesa ไปใช้กับอะไรบ้าง  Tala ใช้ข้อมูลต่างๆที่ระบุตัวตนของผู้กู้ในการสร้างความน่าเชื่อถือ เช่น ระบบวิเคราะห์ของ Tala บอกว่าคนที่มีรายชื่อเบอร์โทรศัพท์เพื่อนในมือถือเกินกว่า 58 คนและติดต่อกับผู้คนเป็นประจำจะมีสามารถในการใช้หนี้สูง คนที่โทรกลับบ้านเป็นประจำหรือโทรหาครอบครัวจะมีเป็นคนที่ไม่ค่อยเบี้ยวหนี้ หรือ คนที่เดินทางไปทำงานที่เดิมๆตลอดเวลาเป็นประจำจะมีโอกาสจ่ายหนี้สูง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คนที่ไม่มีเครดิตทางการเงินกู้ยืมเงินได้ และตอนนี้ Tala ได้เปิดตัวใน kenya และปล่อยเงินกู้ให้ชาว kenya กว่า 120,000 ราย ที่น่าประหลาดใจคืออัตราการคืนเงินของคนกลุ่มนี้เทียบเคียงเท่ากับคนที่กู้ยืมกับธนาคารเลย 

Peer-To-Peer Lending เป็นโมเดลที่จะปฎิวัติการกู้ยืมเงิน อีกทั้งจะช่วยให้คนอีกจำนวนมากเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้และมีชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับประเทศไทยอาจยังติดปัญหาเรื่องกฎหมายอยู่ เราก็ได้แต่เฝ้าคอยว่าจะมีการเปลี่ยนกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับโลกที่กำลังก้าวไปข้างหน้าหรือเปล่า ต้องคอยลุ้นกันครับ

และใครสนใจเทคโนโลยี Blockchain ทางการเงิน เข้าไปติดตามได้ที่: www.facebook.com/EverexTH และ www.Everex.co.th

#Blockchain #Brandname #Fintech