อภินิหารเงินออมเคยถามหลายคนว่าต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณเท่าไหร่ ส่วนใหญ่มักจะตอบว่า 5 – 10 ล้านบาทก็เพียงพอบั้นปลายชีวิต แต่อย่าลืมว่าการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น คนอายุยืนมากขึ้น นอกจากค่ารักษาที่แพงขึ้นแล้ว ค่าครองชีพก็ยังแพงขึ้นอีกด้วย นั่นแปลว่า เงินที่คิดว่าน่าจะอยู่ได้อาจจะไม่พอใช้ก็ได้

เงินเฟ้อ : ศัตรูของเงินเกษียณ

ก่อนจะเล่าที่มาของตัวเลข 25 ล้านบาท อยากให้รู้จัก “เงินเฟ้อ” เพราะมีผลกับการเก็บเงินเกษียณมากๆ จากในภาพนี้เป็นตัวอย่างราคาเนื้อหมูของปี 2561 และ 2564 ที่ขายในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง

=> ปี 2561 หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 110 บาท หมูสามชั้นกิโลกรัมละ 133 บาท

=> ปี 2564 หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 130 บาท หมูสามชั้นกิโลกรัมละ 175 บาท

=> เวลา 3 ปีผ่านไป เราซื้อหมูเนื้อแดงแพงขึ้น 20 บาท ในขณะที่หมูสามชั้นแพงขึ้น 42 บาท ถ้าคิดเป็น % ทำให้เรารู้ว่าแพงขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 – 9% ถ้าเป็นแบบนี้อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจจะได้เห็นเนื้อหมูราคามากกว่า 200 บาทต่อกิโลกรัม

อีกสักหนึ่งตัวอย่างจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เมื่อ 25 ปีที่แล้ว มีอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น จำนวน 5 ห้อง ราคาห้องละ 1,200,000 บาท เพิ่งสร้างเสร็จ แม่ของแอดมินซื้อไว้ 1 ห้อง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและขายของ

ปัจจุบันแม่ซื้อห้องข้างๆ เพราะต้องการพื้นที่เก็บของเพิ่มขึ้น เจ้าของห้องข้างๆขายให้ในราคา 5,000,000 บาท แสดงว่า ราคาอาคารพาณิชย์นี้แพงขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.87% คิดเป็นตัวเลขง่ายๆว่า ถ้าสมัยก่อนเรามีเงิน 5,000,000 บาท จะซื้ออาคารพาณิชย์นี้ได้ 4 ห้อง แต่ปัจจุบันซื้อได้เพียง 1 ห้องเท่านั้น

นี่เองที่เรียกว่า “มูลค่าเงินของเราลดลง หรือ อำนาจซื้อของเราลดลง”

เงินเกษียณ

การใช้ชีวิตหลังเกษียณของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนเกษียณแล้วต้องการอยู่บ้านอย่างเดียว ในขณะที่บางคนต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อนทั้งในและต่างประเทศ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้ไม่เท่ากัน ในบทความนี้จะเขียนแนวคิดการเตรียมเงินเกษียณว่ามีวิธีการคำนวณอย่างไร แฟนเพจควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการเงินของตัวเองนะคะ

ตัวอย่าง ตอนนี้อายุ 30 ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท ควรเตรียมเงินไว้ประมาณเท่าไหร่

=> ถ้าไม่รวมเงินเฟ้อ จะต้องเตรียมเงินไว้ 360,000 บาท แต่อย่าลืมว่าสิ่งของรอบตัวแพงขึ้นตลอดเวลา ถ้ารวมเงินเฟ้อ 3% ตอนอายุ 60 เราควรเตรียมเงินเพิ่มขึ้นเป็น 873,814 บาท

=> หากคาดว่าเสียชีวิตอายุ 80 มีเวลาใช้เงิน 20 ปี ถ้ารวมเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ควรเตรียมเงินไว้ 25,057,929 บาท

เรียงลำดับการใช้เงินเกษียณ

หลังจากนั้นเรามาวางแผนต่อไปว่าจะมีรายได้หลังเกษียณมาจากที่ไหน ได้รับอย่างไร ถ้าเป็นเงินก้อนจะนำมาใช้ตอนอายุเท่าไหร่ เช่น

=> รับเงินสม่ำเสมอ รู้ว่าได้รับปีละเท่าไหร่จากประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ

=> ประกันสังคม กรณีชราภาพ ต้องคำนวณว่าแต่ละปีจะได้รับเงินประมาณเท่าไหร่

=> เงินปันผลจากหุ้น กองทุนรวม หุ้นสหกรณ์ น่าจะได้รับประมาณปีละเท่าไหร่

=> รายได้จากการปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ มีการปรับค่าเช่าเพิ่มขึ้นทุกกี่ปี จำนวนเท่าไหร่

=> ดอกเบี้ยจากพันธบัตรบาล หุ้นกู้

=> LTF , SSF , SSFX , RMF เริ่มขายตอนอายุ 70 เพื่อให้เงินเติบโต จะได้มีเงินเกษียณมากขึ้น

เริ่มต้นเก็บเงินเกษียณด้วยกองทุนรวม

อยากให้เห็นตัวอย่างจริงของการเก็บเงินเกษียณด้วยกองทุนรวม ผู้เขียนจึงซื้อกองทุนรวมกองหนึ่งแล้วนำมารีวิวว่าสามารถเริ่มต้นได้เดือนละ 500 บาท ผลลัพธ์น่าจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเริ่มต้นลงทุนได้เองนะคะ

ในวัยเกษียณอย่าคาดหวังให้คนอื่นมาดูแล 

เพราะแต่ละคนก็มีภาระค่าใช้จ่ายของตัวเอง 

ใช้เงินเก็บของตัวเองสบายใจกว่านะจ๊ะ

------------------

ขอบคุณแฟนเพจที่สนับสนุนนะคะ

=> สั่งซื้อหนังสือวิธีจัดการเงินขั้นเทพ ฉบับลงมือทำ , จอง Workshop อ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้นะจ๊ะ

https://www.facebook.com/miracleofsaving/photos/a.641428715894749/3701305046573752/

=> สำหรับคนที่ต้องการเริ่มจริงจังกับการลงทุน สามารถอ่านคู่มือแนะนำการเปิดบัญชีหุ้นหรือกองทุนรวม วิธีการใช้งานแอป Phillip fund supermart plus ได้ที่ลิงค์ https://bit.ly/3mizD8c

เพจอภินิหารเงินออม