ช่วงนี้มีการลงประชามติกันอยู่หลายประเทศ ตั้งแต่ Brexit ที่อังกฤษ ถึงการโหวตร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย ซึ่งผลเป็นอย่างไรทุกคนก็คงจะได้ทราบกันแล้ว แต่วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆในการลงคะแนนเสียงรวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนกันนะครับ

ถ้าพูดถึงการโหวตครั้งล่าสุดทุกคนต้องนึกถึงประชามติ รู้กันมั้ยครับการลงประชามติครั้งนี้ใช้งบประมาณ 37.3 ล้านบาท  เพื่อจัดทำอุปกรณ์ต่างๆอย่างบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรพลาสติก สายรัดหีบบัตร เป็นต้น ซึ่งสิ่งเงินจำนวนเอาไปใช้ในการพัฒนาประเทศได้เยอะแยะมากมาย ซึ่งตอนนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุค Paperless การเลือกตั้งที่ต้องใช้กระดาษจำนวนมหาศาลนั้นจะหายไป หากเราสามารถโหวตออนไลน์ได้ นอกจากประหยัดงบประมาณรัฐแล้ว ยังเพิ่มความสะดวกให้ประชาชน ไม่ต้องเสียเวลาขับรถข้ามจังหวัดเพื่อไปเลือกตั้ง หรือแม้แต่กระทั่งคนที่อยู่ต่างประเทศก็จะสามารถเลือกตั้งได้ซึ่งจริงๆตอนนี้ก็มีประเทศที่ใช้ระบบการเลือกตั้งออนไลน์แล้ว เอสโตเนียเองเป็นประเทศเล็กๆในฝั่งยุโรปที่ประชาชนของเขาสามารถนั่งโหวตผ่านหน้าจออยู่บ้านได้สบายๆ ไม่เปลืองงบประมาณแผ่นดินเลย โดยคนเอสโทเนีย 24% ใช้ระบบโหวตผ่านช่องทางออนไลน์ หรือประเทศ  ออสเตรเรียเองในปี 2011 ก็ทดลองโหวตผ่านระบบออนไลน์ในรัฐ New South Wales และวางแผนให้การโหวตผ่านช่องทางออนไลน์เป็นนโยบายระดับชาติ โดยประเทศไทยเองจริงๆแล้วเราสร้างเครื่องลงเสียงเลือกตั้งออนไลน์เองได้ และพยายามจะผลักดันให้เกิดการโหวตออนไลน์ในปี 2546 แต่โครงการนี้ก็ล้มพับไป

การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเลือกตั้ง

ถ้าพูดถึงวิธีการที่ดั่งเดิมของการโหวตนั้นก็เป็นวิธีการที่ใช้กันมายาวนานแล้ว นั่นก็คือการใช้วิธีการเดินเข้าคูหากาตัวเลือกในกระดาษแล้วก็เดินออกมาใส่กล่อง หลังจากนั้นเมื่อหมดเวลาการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง ทางเจ้าหน้าที่ก็จะทำการปิดหีบและนับคะแนนเสียง อาจจะนับที่คูหาเลยก็ได้หรือส่งไปนับคะแนนที่ส่วนกลางนี่ แน่นอนว่าวิธีการนี้มีความเสี่ยงหลายประการ ที่อาจจะส่งผลต่อคะแนนการโหวต ไม่ว่าจะเป็น

  • หีบใส่ใบเกิดชำรุดหรือหายระหว่างทาง: หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็มีโอกาสทำให้ต้องมานั่งเสียเวลาโหวตกันใหม่ในพื้นที่นั้นๆ ทางหน่วยงานที่กำกับการเลือกตั้งเลยมักจะต้องสาธิตโยนกล่องให้ชมว่ามันแข็งแรงเพียงพอ ไม่ใช้สะกิดนิดเดียวกล่อมพังเพล๊งงงงง หน้าแตกกันไปตามๆ กัน
  • การเกิดความผิดพลาดในการนับคะแนน: อะไรก็ตามที่ใช้คนทำงาน ก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ เช่นในช่วงการนับคะแนน ผู้นับอาจจะตาลาย เมื่อยล้า นับไปนับมาเกิดบอกคะแนนผิด คนจดก็จดผิด คนกรอกคะแนนก็กรอกผิด ทำให้เกิดผลที่เปลี่ยนแปลงไปเลยก็มี
  • การทุจริตในการนับคะแนน: มีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ถ้าคณะกรรมการไม่มีความเที่ยงตรงและฝักใฝ่ฝ่ายที่ตัวเองต้องการ ก็จะมีโอกาสที่เขาจะหาช่องว่างเพื่อให้ฝ่ายนั้นๆ ได้ประโยชน์

ความเสี่ยงพวกนี้หลายคนอาจจะมองออก แต่หลายคนเลือกตั้งไปแล้วก็ถือว่าจบหน้าที่ตัวเอง เพราะเราทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ รอฟังผลอย่างเดียว หากเกิดข้อผิดพลาดก็ไม่ได้มีการท้วงติงขึ้นมา แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาก็คิดพัฒนานวัตกรรมใหม่เรื่อยๆ แม้กระทั่งเรื่องทางการเมืองก็มีการเอาเทคโนโลยีมาใช้

การ Vote ทาง Internet ก็มีการนำมาใช้อยู่หลายปีแล้ว เช่น ในประเทศแคนาดา  เอสโตเนีย ซึ่งก็ถือว่าเป็นก้าวใหม่ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากที่มนุษย์เราได้นำวิธัการโหวตทางออนไลน์มาใช้ ซึ่งก็เป็นการโหวตในรูปแบบใหม่โดยที่เราไม่ต้องไปคูหาเลือกตั้งแต่ใช้การลงทะเบียนออนไลน์ได้ ซึ่งเรื่องระบบการนับคะแนนต่างๆเมื่อเป็นคอมพิวเตอร์ทำแล้วก็จะเกิดความแม่นยำมากขึ้น

การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนากระบวนการทางการเมือง

อย่างไรก็ตามวิวัฒนาการมันไม่ได้จบแค่นี้จากการเปลี่ยนวิธีการดั่งเดิมในการเลือกตั้งตามคูหาไปเลือกตั้งทางออนไลน์ แต่มันมีเรื่องของกระบวนการพัฒนาทางการเมืองด้วย ปัจจุบันนี้มีบางประเทศเขาได้เสนอความคิดในการใช้ Blockchain เข้ามาให้คนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าเดิมอีก เนื่องจากการเลือกตั้งในระบบเดิม ประชาชนจะเลือกผู้แทนของตัวเองเข้ามาแล้วเขาก็ไปทำหน้าที่ในสภา ซึ่งการทำหน้าที่ของเขานั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนักการเมืองเอง รวมถึงนโยบายของพรรคการเมือง ทำให้หลายๆครั้งอาจจะไม่ได้ทำตามฉันทามติของประชาชนที่ต้องการเท่าไหร่

แต่ด้วย Blockchain นั้นเป็นระบบแบบ P2P ที่เราสามารถนำมาขึ้นมือถือด้วยต้นทุนที่ต่ำมากและสามารถเอาประเด็นที่กำลังอยู่ในสภามาให้ประชาชนทำการแสดงความเห็นและโหวตในแต่ละเรื่องผ่านมือถือ รวมถึงมีการเอาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงขัดแย้งกันในแต่ละกลุ่มประชากรมาวิเคราะห์ได้ด้วยว่าอะไรคือความเกี่ยวโยงและปัญหาอะไรที่สำคัญจะต้องแก้ตามลำดับ

แน่นอนว่าหากระบบ P2P ถูกนำมาใช้ให้ประชาชนโหวตก่อนหน้านักการเมืองจะทำหน้าที่ในสภา นักการเมืองก็ต้องฟังประชาชนที่เป็นเจ้าของเสียงโดยตรง ไม่ใช่ลักไก่อยากยกมือให้คะแนนกับสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเองเหมือนเดิม เอ่ะ! แต่ก็ไม่แน่นะครับ หากระบบ P2P มาจริง มันอาจจะรื้อระบบประชาธิปไตยให้ไปอยู่ในรูปแบบใหม่โดยไม่ต้องมีนักการเมืองเลยก็ได้ (พูดแบบนี้คงจะถูกใจใครหลายๆคนแน่ๆ ฮาๆ) และเหลือแค่

1) ตัวรัฐบาลที่บริหารงาน

2) เทคโนโลยีที่อำนวยต่อประชาธิปไตยทางตรง และ

3) ประชาชนที่จะใช้เสียงผ่านเทคโนโลยีไปถึงรัฐบาล ตรงนี้จะเป็นระบบที่ปลอดภัย ตรงใจ และแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชนอย่างแท้จริง

บางทีการแก้ปัญหาทางการเมืองอาจจะไม่ใช่ความต้องการในรัฐบาลใหม่ แต่อาจจะเป็นเรื่องการสร้างระบบใหม่ให้การเมืองนั้นโปร่งใสและประชาชนออกเสียงที่แท้จริงไปสู่รัฐบาลได้ จริงไหมครับ? ก็ต้องมาติดตามดูกันว่าอนาคต เทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามาช่วยทำให้กิจกรรมทางการเมืองพัฒนาไปในแนวทางไหนได้บ้าง

http://www2.ect.go.th/about.php?Province=sukhothai&SiteMenuID=10256

http://www.nationtv.tv/main/content/politics/378512155/