ในงาน SET in the city 2017 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปนั่งพูดคุยกับนักลงทุนและคนที่สนใจเรื่องการลงทุน มีหลายคนเข้ามาคุยกันเรื่องเป้าหมายทางการเงิน อยากเริ่มต้นลงทุน วิธีการจัดพอร์ตฯลงทุน ถือเป็นประสบการณ์ดีๆ ครั้งหนึ่งในชีวิตของผมเลยก็ว่าได้

และผมได้แจกกระดาษใบหนึ่งที่ผมตั้งใจทำไปให้กับทุกคน เป็นโมเดลการจัดพอร์ตในรูปแบบต่างๆ โดยใช้วิธีการกระจายความเสี่ยงแบบ Asset Allocation ลงไปในสินค้าทางการเงิน 7 แบบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 โมเดล ผมก็เลยตั้งชื่อกระดาษแผ่นนั้นว่า “พอร์ต 7 สีมณี 7 แสง” (สงสัยตอนเด็กดูหนังจักรๆ วงศ์ๆ มากเกินไป)

ซึ่งใครที่พลาดงานนั้นไปไม่ต้องเสียดายไป เพราะผมทำเป็นไฟล์แบบ PDF ไว้ให้เพื่อนๆทุกคนได้ดาวน์โหลดกันที่ Facebook page (Click ที่นี่ เพื่อไปที่หน้าดาวน์โหลด)

ชำแหละ “พอร์ต 7 สี มณี 7 แสง”

ในส่วนแรก จะมีกราฟเปรียบเทียบผลตอบแทน และแสดงความผันผวนของสินทรัพย์ 6 ชนิดอยู่

กราฟนี้บอกอะไรกับนักลงทุน?

ผมนั่งเก็บสถิติของผลตอบแทนของสินทรัพย์ชนิดต่างๆ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2007 จนถึงเดือนมีนาคม 2017 (ระยะเวลา 10 ปี) จาก Benchmark ที่ผมสามารถหาข้อมูลมาได้ และพบว่า หากนักลงทุนนำเงิน “1 ล้านบาท” วางไว้ในสินทรัพย์ชนิดต่างๆ โดยไม่มีการถอนหรือฝากเพิ่ม (เหมือนลืมเงินก้อนนี้ไปเลย) ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเมื่อผ่านไป 10 ปี (2007-2017) พบว่า เงิน 1,000,000 บาทที่อยู่ใน...

บัญชีฝากประจำ 12 เดือน จะกลายเป็น....1,235,095 บาท
พันธบัตรรัฐบาล จะกลายเป็น...................1,294,313 บาท
หุ้นกู้ภาคเอกชน จะกลายเป็น..................1,624,309 บาท
ทองคำ จะกลายเป็น................................1,774,740 บาท
หุ้นขนาดใหญ่ 100 ตัว จะกลายเป็น........3,133,315 บาท
หุ้นขนาดกลางเล็ก จะกลายเป็น..............4,729,884 บาท

จำเป็นหรอ? ที่ต้องลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทเดียวเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ต้องการ

จะเห็นว่าผลตอบแทนจากหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ในตลาด mai ได้ผลตอบแทนมากที่สุด (ประมาณ 37.30% ต่อปี) แต่ความผันผวนในผลตอบแทนก็สูงที่สุดเช่นกัน หมายความว่าเราไม่อาจโชคดีได้ผลตอบแทนมากเท่านี้เสมอไป ลองนึกดูว่าถ้าเราเริ่มลงทุนเฉพาะหุ้นตัวเล็กตอนต้นปี 2015 จนถึงตอนนี้เรายังไม่ได้เงินต้นคืนเลยด้วยซ้ำ ความเสี่ยงของมันจึงสูงที่สุด (ช่วงปี 2014 หุ้นตัวเล็กหลายตัวได้รับความคาดหวังจากตลาดสูง ทำให้ราคาวิ่งไปเกินกำไรที่สามารถทำได้ PE ของหุ้นขนาดเล็กสูงมาก สุดท้ายเมื่อบริษัททำตามที่ตลาดคาดหวังไม่ไหว ราคาจึงตกลงมาอย่างรุนแรง)

หุ้นตัวใหญ่ๆ ใน SET แม้พวกมันจะมีความผันผวนหรือความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ผลตอบแทนของมันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาไม่ได้น้อยหน้า เมื่อรวมทั้งเงินปันผลและ Capital gain แล้วได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 21.33% (ที่เยอะก็เพราะว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเรายังไม่ได้เจอวิกฤตหนักๆ เหมือนตอนต้มยำกุ้งปี 1997 แม้จะเจอซับไพรม์ในปี 2008 แต่ผลเสียหายไม่รุนแรงเท่า บรรยากาศการเมืองไทยในช่วง 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้ตลาดลงรุนแรงซักเท่าไหร่)

ต่างกับ “ทองคำ” (ที่ดูร้อนระอุเหมือนบรรยากาศในช่วงนี้) จากกราฟจะเห็นได้ชัดว่าความผันผวนของทองคำมีสูง และในช่วง 5-6 ปีแรกของการลงทุน ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดเลยด้วยซ้ำ แต่...สินค้าโภคภัณฑ์มันมีช่วงเวลาร้อนแรงของมัน ซึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ผลตอบแทนจากทองคำจึงไม่ใช่ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในระยะยาว เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ทองคำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 7.75% ต่อปี

ขณะที่เรากำลังหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดอยู่นั้น ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีผู้ที่แสวงหาความมั่นคงอยู่ด้วย ผลตอบแทนจากหุ้นกู้ภาคเอกชน พันธบัตรรัฐบาล และเงินฝากประจำ ให้ผลตอบแทนเป็น Fixed Income ที่มั่นคง สม่ำเสมอ แม้จะไม่มากมาย แต่มันก็ช่วยตอบโจทย์เรื่อง “ความมั่นคงของเงินต้น” ได้อย่างดี เมื่อดูจากกราฟจะเห็นว่าสินทรัพย์ทั้ง 3 ชนิดนี้ แทบจะเป็นเส้นตรงก็ว่าได้ มีเพียงหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีความผันผวนตาม “อัตราดอกเบี้ย” ในแต่ละช่วง

ซึ่งคำตอบของผม สำหรับการลงทุนที่ดี คือ “การลงทุนนั้นไม่จำเป็นจะต้องได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่ควรจะเป็นการลงทุนที่ทำให้นักลงทุนมีความสุข และตอบโจทย์เป้าหมายในการลงทุน”

เพราะนักลงทุนทุกคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน และการลงทุนแบบ “High Risk - High Return” ไม่ใช่คำตอบของทุกเป้าหมายทางการเงิน

กำเนิด Asset Allocation Models – “พอร์ต 7 สี มณี 7 แสง”

เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละชนิดมีความเสี่ยงไม่เหมือนกัน การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ที่หลายๆคนมักจะเรียกว่า “การจัดพอร์ตฯ” จึงเกิดขึ้น แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่า Portfolio แบบไหนถึงจะเหมาะสมกับเป้าหมาย และความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคน

ผมค้นหาข้อมูลจากทุกที่เพื่อดูว่า โมเดลในการลงทุนการลงทุนที่มีชื่อเสียง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์ในระยะยาว (Strategic Asset Allocation) อย่างไรบ้าง? ลองนำมาเปรียบเทียบและปรับใช้เพื่อการจัดพอร์ตฯส่วนบุคคล

จนได้โมเดลของการจัดสรรสินทรัพย์มา 7 แบบ (พอร์ต 7 สี) คือ Defensive, Conservative, Income, Income & Growth, Equity income, Growth และ Aggressive Growth

โดยใช้สินทรัพย์ทางการเงิน 7 ชนิด (มณี 7 แสง) ประกอบไปด้วย เงินสด/Money Market Fund, พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้ภาคเอกชน, กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, หุ้นขนาดใหญ่/กองทุนรวมในหุ้นที่มีนโยบายตั้งรับ, หุ้นขนาดกลางเล็ก/หุ้นเติบโต และ ทองคำ

เมื่อนำสินทรัพย์ทั้ง 7 ชนิดมาจัดสัดส่วน เพื่อดูผลตอบแทนที่คาดหวังและความผันผวนของ Portfolio แล้ว

จะได้ Base Case คือผลตอบแทนที่คาดหวังโดยทั่วไปของ Portfolio

Best Case คือ มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่คาดหวังสูงที่สุดที่ร้อยละ...ต่อปี

และ Worst Case คือ โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่คาดหวังต่ำที่สุดที่ร้อยละ...ต่อปี

จะเห็นได้ว่าแต่ละ Model จะมีขนาดของกรอบความผันผวนไม่เท่ากัน ยิ่ง Model ไหนมีสัดส่วน