เราทำงานเก็บเงินวันนี้ เพื่อแบ่งเงินไว้ใช้จ่ายในวันที่ไม่ต้องทำงานหลังอายุ 60 เราเลือกได้ว่าตอนนั้นจะใช้ชีวิตแบบไหน...

? หยุดทำงานแล้วใช้เงิน แจกจ่ายเงินให้ลูกหลาน ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ

? ทำงานเบาๆ เน้นหาเพื่อนคุยแก้เหงา

? มีเงินใช้จ่ายดูแลตัวเอง เจ็บป่วยมีเงินรักษา


หลังเกษียณต้องการใช้เงินเท่าไหร่

ช่วงที่เรากักตัวอยู่บ้าน “หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เป็นการจำลองสถานการณ์ช่วงเกษียณได้เป็นอย่างดีว่าตอนนั้นจะเป็นอย่างไร หลายคนผ่านมาได้เพราะเงินฉุกเฉินที่ตุนไว้ก่อนหน้านี้ ในขณะที่อีกหลายคนมีเงินเก็บน้อยเกินไปไม่พอใช้จนต้องสร้างหนี้เพิ่มเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย พอได้กลับไปทำงานก็ยังมีเงินมาจ่ายหนี้ได้ 


แต่อย่าลืมว่าชีวิตหลังอายุ 60 จะเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เราไม่มีโอกาสแก้ตัวอะไรได้อีกแล้ว ทำให้เราต้องวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้ว่าหลังเกษียณต้องการใช้เงินเท่าไหร่ จำนวนเงินที่ต้องใช้นั้นขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เรามาดูแนวทางการวางแผนเพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะคะ


ตัวอย่าง ตอนนี้เราอายุ 30 เกษียณอายุ 60 คาดว่าจะเสียชีวิตอายุ 80 ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท มีแนวคิดวางแผนจัดการเงินอย่างไร หากเราดูแลตัวเองดีอาจจะอายุมากกว่า 80 ควรวางแผนสร้างทางเลือกให้ตัวเองเผื่ออายุยืนด้วยว่าจะนำเงินก้อนไหนมาใช้จ่าย

มีเงินใช้จ่ายแบบไม่ต้องทำงาน


เริ่มต้นจาก…

A. จำนวนเงินที่เราจะใช้หลังเกษียณเท่าไหร่ (ช่องสีม่วง)

=> ทำใน Excel ตั้งแต่อายุ 60 - 80 ปี (เผื่ออายุเกินด้วยจะดีมากๆ)

=> คิดแบบรวมไม่รวมเงินเฟ้อและรวมเงินเฟ้อ ว่าแต่ละปีใช้เงินเท่าไหร่

=> ตัวเลขนี้ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาล การนอนติดเตียงในช่วงโค้งสุดท้ายของชีวิต


เราต้องการเงินเดือนเพิ่มขึ้นทุกปี นั่นแปลว่าเราต้องขยันมีความสามารถมากขึ้นให้เหมาะสมกับเงินเดือนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทที่จ้างเรามีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้น จึงต้องเพิ่มราคาขายสินค้า เพื่อจะได้รักษากำไรให้เติบโต สุดท้ายราคาสินค้าในตลาดแพงขึ้น นี่เองที่เป็นส่วนหนึ่งของเงินเฟ้อ


ถ้าสินค้าของกินของใช้แพงขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% จึงเป็นที่มาของตารางนี้ในช่องสุดท้ายแบบรวมเงินเฟ้อ คือ จากอายุ 30 เงินที่คิดว่าจะใช้ปีละ 360,000 บาท พอถึงอายุ 60 รวมเงินเฟ้อแล้วเราจะต้องใช้เงิน 878,814 บาท


ถ้าเราเคยดูละครที่สมัยก่อนข้าวจานละ 1 บาท หรือเมื่อ 40 ปีที่แล้วราคาทองคำประมาณ 800 บาท ปัจจุบันราคาเกือบ 30,000 บาท สาเหตุเกิดจากเงินเฟ้อที่ทำให้ค่าของเงินเปลี่ยนไป เพราะ “แต่ละช่วงเวลามูลค่าของเงินไม่เท่ากัน”  ทำให้ในอนาคตเราซื้อของได้เท่าเดิม แต่ต้องใช้เงินมากขึ้นนั่นเอง


B. หลังเกษียณเราได้รับเงินจากที่ไหนบ้าง (ช่องสีส้มมีตัวเลข 1-4)

?หมายเลข 1 รับเงินก้อนรายปีด้วยจำนวนเงินที่แน่นอน เรารู้ตั้งแต่วันนี้ว่าอนาคตตอน 60 จะได้เท่าไหร่ ให้เอามาใส่ในตารางไว้ก่อน เช่น เงินบำนาญข้าราชการ เงินประกันสังคมกรณีชราภาพ ประกันบำนาญ เบี้ยผู้สูงอายุ ฯลฯ 

? หมายเลข 2 - 4 เงินรายปีจากดอกผลของเงินลงทุน ที่แต่ละปีได้รับไม่เท่ากัน ในภาพนี้เป็นตัวอย่างการจ่ายเงินปันผลย้อนหลังของหุ้นบริษัทหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผล แล้วถ้านำเงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้ตอนออกจากงานอายุ 60 ไปไว้ที่ตราสารหนี้ก็จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนคงที่


สุดท้ายเราจะคำนวณคร่าวๆได้ว่า A หลังเกษียณจะต้องใช้เงินประมาณเท่าไหร่ แล้วดูว่าช่อง B เราคาดว่าจะได้รับเงินจากที่ไหนบ้าง ทำให้รู้ว่าตอนนี้เราควรเก็บเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่เพื่อจะได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณในแบบที่เราต้องการ อ่านจบแล้วลองนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับแผนการเงินของตัวเอง ยืนได้ด้วยขาของตัวเองโดยไม่ต้องร้องขอรอความช่วยเหลือจากคนอื่นนะคะ 

  


---------

 

PR :  E-book และหนังสือ

=> ขาย E-book “วิธีจัดการเงินขั้นเทพ ฉบับลงมือทำ” สรุปเคล็ดลับวิธีจัดการเงินแบบไม่ต้องคลำทางเอง อ่านแล้วทำ workshop ครบทุกเรื่อง รับรองว่าจัดการเงินดีขึ้นแน่นอนวิธีการสั่ง E-book และหนังสือเล่มในลิงค์นี้นะคะ https://www.facebook.com/miracleofsaving/photos/a.641428715894749/3107277445976518/?type=3&theater



เพจอภินิหารเงินออม