เมื่อพูดถึงเรื่องประกันแล้ว เรามักจะได้ยินชื่อ ‘สำนักงาน คปภ.’ ตามมาด้วยเสมอ ครั้งนี้ ! ‘นายปกป้อง’ จึงขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหน่วยงาน คปภ. ตั้งแต่หน้าที่ความรับผิดชอบ ขอบเขตการทำงาน เพื่อให้เราเข้าใจว่าทำไม คปภ. ถึงได้ชื่อว่าเป็น “บอดี้การ์ดผู้พิทักษ์” ของผู้ทำประกันภัยทุกคน 

‘คปภ.’ คือใคร

สำนักงาน คปภ. นั้นย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยสำนักงาน คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นทั้งส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลทำหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดตามกฎหมาย โดยเเปลี่ยนสถานะกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์เป็นองค์กรอิสระ เป็นองค์กรอิสระภายใต้ชื่อ “สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย” หรือสำนักงาน คปภ. ในปี 2550 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย มีภารกิจ ดังนี้

  • 1. กำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัย ให้มีความเข้มแข็งมั่นคง 
  • 2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาท สร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยดำเนินการในหลายมิติ ทั้งการส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการส่งเสริมความรู้และสร้างความตระหนักรู้ด้านการประกันภัยแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้การประกันภัยในการเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 3. คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ด้านการประกันภัย สำนักงาน คปภ. ได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนที่ต้องการร้องเรียน หากไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านประกันภัย โดยสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ 
    • 1. ผ่านระบบการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัยและการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ
    • 2. ผู้เอาประกัน สามารถยื่นผ่านทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน คปภ. หรือร้องเรียนด้วยตนเองที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย (Insurance Complaint Center : ICC) ตั้งอยู่ที่สำนักงาน คปภ.ในส่วนกลาง และสำนักงาน คปภ. ภาค/เขต/จังหวัด ในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ

ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก ภารกิจ หน้าที่ของสำนักงาน คปภ. ข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน คปภ. นั้น เป็นการกำกับดูแล ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพื่อความมั่นคง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิของประชาชน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการประกันภัยในการเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทสรุป

เราจะเห็นได้ว่า คปภ. ไม่เพียงแต่ปกป้องใครคนใดคนหนึ่ง แต่ คปภ. นั้น ปกป้องทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องกับการทำประกัน เพื่อให้ทุกคนเชื่อมั่นในระบบประกันของประเทศไทย เพราะความเชื่อมั่น (Trust) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประกันนั้นเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ คปภ. จึงดูแลทุกคนทั้งก่อนการทำประกัน หลังทำประกัน

โดยทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คนในสังคมเชื่อมั่นในระบบประกันทั้งระบบ เพราะพี่ปกป้องเชื่อว่าธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้ระบบเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน การทำให้ธรุกิจประกันแข็งแรงขึ้นก็คือการทำให้ประเทศไทยของเราแข็งแกร่งขึ้นด้วยนั้นเอง

สำหรับใครที่มีคำถามสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกัน หรืออยากร้องเรียนอะไร สามารถไปติดต่อสอบถามที่สำนักงาน คปภ. ได้เลยที่

บทความนี้เป็น Advertorial